ตะบูนดำ

จาก ฐานข้อมูลชนิดพืชในศูนย์ศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลนตำบลลีเล็ดอำเภอพุนพินจังหวัดสุราษฎร์ธานี
F6.jpg

ชื่อไทย : ตะบูนดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xylocarpus moluccensis
อาณาจักร : Plantae
ชื่อวงศ์ : Meliaceae

  • ต้นจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-35 เมตร ลักษณะของต้นเป็นรูปทรงยอดเป็นพุ่มกลม เป็นไม้ผลัดใบ ลำต้นเป็นเปลาตรง ส่วนโคนต้นเป็นพูพอนเล็กน้อย เปลือกต้นขรุขระ มีสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องตามยาว ต้นเมื่อแก่เปลือกจะลอกเป็นแถบแคบ ๆ โดยเปลือกจะมีความหนาประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร ส่วนเนื้อไม้มีสีน้ำตาล ส่วนระบบราก มีรากหลายลักษณะ เป็นรูปกรวยคว่ำหรือแบนแล้วแต่สภาพของดิน ปลายมนยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร สภาพของลำต้นอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง คือ มีเปลือกเรียบ สีออกแดง มีร่องเป็นสีขาวเป็นทางยาวตามลำต้น ต้นตะบูนดำเป็นหนึ่งในไม้ป่าชายเลน เมื่อแก่ลำต้นมักเป็นโพรง เจริญเติบโตและขึ้นกระจายได้ดีในบริเวณที่เป็นดินเลนค่อนข้างแข็ง
  • ใบใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ชั้นเดียว ไม่มียอด ใบย่อยมักมีประมาณ 1-3 คู่เรียงอยู่ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีถึงรูปขอบแกมรี ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร ปลายใบมน ส่วนโคนใบแหลม ก้านใบย่อยสั้นมาก ลักษณะของผิวใบเป็นมันสีเขียวเข้ม และจะเปลี่ยนเป็นสีส้มอมเหลืองทั้งต้นในภายหลัง ก่อนที่จะร่วงหล่น
  • ดอกออกดอกตามง่ามใบ เป็นช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ยาวประมาณ 7-17 เซนติเมตร ช่อดอกประกอบไปด้วยดอกจำนวนมาก มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ส่วนกลีบดอกมี 4 กลีบไม่ติดกัน ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวน 8 อัน ดอกจะออกพร้อมกับการแตกใบใหม่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม
  • ผลลักษณะของผลค่อนข้างกลม มีร่องผลเล็กน้อย ผลเมื่ออ่อนมีสีเขียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-12 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 7-11 เมล็ด ลักษณะโค้งนูน ในหนึ่งด้านจะกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร โดยผลจะแก่ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม

ตัวอย่างวีดีโอตะบูนดำ
วีดีโอ ตะบูนดำ


สรรพคุณของต้นตะบูนดำ

  • ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย (ผล, เมล็ด)
  • เปลือกไม้ใช้เป็นยาลดไข้ (เปลือกไม้)
  • ช่วยแก้อาการไอ (ผล, เมล็ด)
  • เปลือกและผลช่วยแก้อหิวาตกโรค (ผล, เปลือก)
  • เปลือกและผลใช้ต้มกับน้ำดื่ม ช่วยรักษาแผลภายในได้ (เปลือก, ผล)
  • ผลใช้ต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้อาการท้องเสีย (ผล, เปลือกไม้)
  • ตะบูนดำช่วยแก้บิดด้วยการใช้ผลนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล)
  • เมล็ดใช้รับประทานแก้อาการท้องร่วง (ผล, เมล็ด)
  • ช่วยแก้อาการอักเสบในลำไส้และอาการผิดปกติในช่องท้อง (เปลือกไม้)
  • ผลแห้งตากแห้งเผาไฟร่วมกับเห็ดพังกาและน้ำมันมะพร้าว ใช้สำหรับทาแก้มะเร็งผิวหนัง (ผลแห้ง)
  • เปลือกและผลนำมาต้มกับน้ำใช้ชะล้างบาดแผล ช่วยทำความสะอาดแผลได้เป็นอย่างดี (เปลือก, ผล)
  • เปลือกและผลใช้ต้มแล้วนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกรักษาแผลสด แผลบวม แผลฟกช้ำ เป็นหนอง (เปลือก, ผล)

ประโยชน์ของต้นตะบูนดำ

  • เนื้อไม้ตะบูนดำเป็นเนื้อไม้ที่แข็ง มีลวดลายและสีที่สวยงาม สามารถนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์สำหรับตกแต่ง หรือทำเป็นสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ได้ ลำต้นสามารถนำมาใช้ทำเป็นพื้นกระดานได้เป็นอย่างดี
  • เปลือกไม้สามารถนำมาใช้ในการฟอกหนังสำหรับใช้เป็นพื้นรองเท้าได้ (Heavy leather)
  • ประโยชน์ตะบูนดำ ใช้สำหรับทำดินสอ
  • น้ำฝาดจากเปลือก ใช้สำหรับการย้อมสีผ้า ย้อมแห ย้อมอวน โดยจะให้สีน้ำตาล

F7.jpg F8.jpg F9.jpg


แหล่งที่มาของภาพ
https://medthai.com/images/2013/11/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B3.jpg https://medthai.com/images/2013/11/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B3.jpg https://medthai.com/images/2013/11/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8D%E0%B8%B2.jpg https://medthai.com/images/2013/11/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8D%E0%B8%B2.jpg


อ้างอิงเนื้อหา
ป่าชายเลนนิเวศวิทยาเเละพรรณไม้:สรายุทธ บุณยะเวชชีวิน เเละ รุ่งสุริยา บัวสาลี