ไทรย้อยใบทู่

จาก ฐานข้อมูลชนิดพืชในศูนย์ศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลนตำบลลีเล็ดอำเภอพุนพินจังหวัดสุราษฎร์ธานี
M1.jpg

ชื่อไทย :ไทรย้อยใบทู่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus microcarpa
อาณาจักร : Plantae
ชื่อวงศ์ : Moraceae

  • ต้นลักษณะเนื้อไม้เปลือกสีน้ำตาล
  • ใบใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับหรือรูปไข่แกมรูปรี โคนใบกลม ปลายใบแหลม เนื้อใบหนา สีเขียวเป็นมัน
  • ดอกดอกช่อ ช่อย่อยเป็นแบบดอกมะเดื่อ รูปค่อนข้างกลมหรือรูปไข่ ดอกขนาดเล็ก ออกเป็นคู่จากข้างกิ่ง ไม่มีกลีบดอกเมื่อติดผล
  • ผลทรงกลม ไม่มีก้านผล ผลออกเป็นคู่ติดกันอยู่ตรงซอกใบ ผลมีสีเขียวอ่อน แก่เป็นสีเหลือง

ตัวอย่างวีดีโอไทรย้อยใบทู่
วีดีโอไทรย้อยใบทู่


สรรพคุณของไทรย้อยใบทู่

  • ราก รากอากาศใช้ต้มดื่มขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้นิ่ว บำรุงน้ำนม รากสมานลำไส้ แก้ท้องเสีย

ประโยชน์ของไทรย้อยใบทู่

  • เพื่อเป็นอาหาร โดยเฉพาะไทรบางชนิดที่สามารถนำมาใช้เป็นอาหารได้ ได้แก่

ดอกของชิ้งขาว ผลสุกของโพะ ยอดอ่อนของผักเลือด ผลสุกของมะเดื่อ

  • การปลูกเป็นไม้ประดับ

ปลูกเป็นไม้ประดับในกระถาง ที่สามารถยกเคลื่อนย้ายปลูกทั้งในอาคาร และนอกอาคาร เนื่องจากเป็นไม้ที่ทนต่อสภาพต่างๆได้ดี ทั้งสภาพน้ำน้อย น้ำมาก และมีแสงน้อย ทำให้สถานที่ดูร่มรื่น เป็นธรรมชาติ รวมถึงช่วยในการกรองอากาศ ดักจับฝุ่น และมีรูปทรงสวยงาม เช่น ไทรย้อยใบแหลมที่ได้จากกิ่งตอนจะมีรูปทรงปิรามิด ฐานกว้าง และค่อยเรียวส่วนปลาย ปลูกเป็นไม้ประดับแคระ หรือเรียก บอนไซ เนื่องจากใบไทรบางชนิดมีรากน้อย ใบขนาดเล็ก ลำต้น และกิ่งสามารถดัดให้เกิดรูปทรงได้ง่าย เช่น ไทรย้อยใบทู่ ไทรจีนใบแหลม และโพธิ์ตัวผู้ เป็นต้น ปลูกเป็นไม้ประดับในกระถางแขวน เนื่องจากไทรบางชนิดมีขนาดเล็ก เช่น ไทรใบโพธิ์หัวกลับ และไทรหิน เป็นต้น ปลูกเป็นไม้ประดับสำหรับไต่ตามกำแพง หรือ ไต่ตามเสา เช่น ตีนตุ๊กแก (F. pumila) และไทรเลื้อย

  • การปลูกเป็นไม้มงคล และไม้ที่มีความสำคัญทางพุทธศาสนา
  • เนื่องจากไทรบางชนิดที่โตด้วยเมล็ดจะมีลำต้นที่แตกกิ่งมาก มีใบมาก ทรงพุ่มหนาแบนกว้าง เมื่อปลูกจะช่วยให้ร่มเงาได้เป็นอย่างดี
  • ใช้ปลูกเป็นแนวกำแพงบังลม เช่น ปลูกเพื่อบังลมให้แก้บ้าน หรือ แนวสวนผัก ผลไม้ เป็นต้น
  • ใช้ปลูกเป็นแนวแนวรั้ว แนวกำแพง และปลูกเพื่อแสดงเขตแดน
  • ไทรบางชนิดที่ติดผลสามารถเป็นอาหารป่าให้แก่สัตว์ป่า เช่น นก กระรอก เป็นต้น
  • เนื้อไม้ของไทรบางชนิดมีความเหนียวสูง สามารถใช้ทำเป็นเครื่องเรือน เรือ และไม้ก่อสร้างได้ เช่น ไทรย้อย
  • เปลือกของไทรบางชนิดนำมาจักสอยเป็นเส้นเล็กๆใช้ทำเชือกรัดของ เช่น เปลือกของไทรย้อย และมะเดื่อ

M2.jpg M3.jpg M4.jpg


แหล่งที่มาของภาพ
https://medthai.com/images/2014/12/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2.jpg https://medthai.com/images/2014/12/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2.jpg https://medthai.com/images/2014/12/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A1.jpg https://medthai.com/images/2014/12/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A1.jpg


อ้างอิงเนื้อหา
ป่าชายเลนนิเวศวิทยาเเละพรรณไม้:สรายุทธ บุณยะเวชชีวิน เเละ รุ่งสุริยา บัวสาลี