โปรงเเดง

จาก ฐานข้อมูลชนิดพืชในศูนย์ศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลนตำบลลีเล็ดอำเภอพุนพินจังหวัดสุราษฎร์ธานี
I1.jpg

ชื่อไทย : โปรงแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : ceriops tagal
ชื่อวงศ์ : Rhizophoraceae

  • ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 7-15 เมตร โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย มีรากค้ำจุนขนาดเล็ก รากหายใจรูปคล้ายเข่า อ้วนกลมยาว 12-20 ซม. เหนือผิวดิน สีน้ำตาลอมชมพู เรือนยอดเป็นกลุ่มกลม สีเข้ม กิ่งสีเขียว มีช่องอากาศเล็กๆ เปลือกสีชมพูเรื่อๆหรือน้ำตาลอ่อน เรียบ ถึงแตกเป็นสะเก็ด ต้นแก่มีรอยแผลเป็นช่องอากาศเห็นเด่นชัด สีน้ำตาลอ่อน
  • ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง แผ่นใบชี้ไปทางปลายกิ่ง รูปไข่กลับแกมขอบขนานถึงรูปไข่กลับ ขนาด 3-8 x 5-12 ซม. ปลายใบป้านมนหรือเว้าตื้นๆ ฐานใบรูปลิ่มขอบใบมักเป็นคลื่นผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มท้องใบสีซีด ก้านใบยาว 1.5-4 ซม. หูใบยาว 1-3 ซม.
  • ดอกออกเป็นช่อกระจุกตามง่ามใบแต่ละช่อมี 4-8 ดอก ก้านดอกเรียวยาว 1-1.5 ซม. ก้านดอกย่อยสั้นวงกลีบเลี้ยงยาว 0.5-0.7 ซม. กลีบเลี้ยงหยักลึก 5 กลีบ รูปไข่ ยาว 0.4-0.5 ซม. แผ่บานออก ปลายโค้งเข้าหาผลใบประดับเชื่อมติดกันที่โคนหลอดกลีบเลี้ยงกลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนาน สีขาว
  • ผลรูปผลแพร์กลับ ยาว 1-3 ซม. สีเขียว ถึงน้ำตาลแกมเขียว เป็นผลแบบงอกตั้งแต่ติดอยู่บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยง หรือ “ฝัก” รูปทรงกระบอก ขนาด 0.5-0.8 x 15-35 ซม. ปลายเล็กขยายใหญ่ไปทางส่วนโคน แล้วสอบ แหลม มีสันแหลมตามยาว ผิวขรุขระ สีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ห้อยลงในแนวดิ่ง ออกดอกและผลเกือบตลอดปีขึ้นอยู่ด้านในของป่าชายเลนตามริมชายฝั่งแม่น้ำ ที่น้ำท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอและดินมีการระบายน้ำดี

ตัวอย่างวีดีโอโปรงแดง
วีดีโอโปรงเเดง


สรรพคุณของโปรงแดง

  • ห้ามเลือด รักษาแผลสด แก้ท้องร่วง คลื่นเหียน อาเจียน อาการโรคบิด รักษางูสวัด เริม แก้น้ำกัดเท้า แผลพุพอง

ประโยชน์ของโปรงแดง

  • เปลือก ต้มเป็นยาหม้อดื่ม
  • เปลือก ตำให้ละเอียดพอกแผลห้ามเลือด
  • เปลือก นำมาฝนกับหินลับมีดแล้วผสมกับน้ำข้าว ทาในบริเวณที่เป็น รักษางูสวัด หรือเริม
  • เปลือก ต้มกับน้ำใช้ชะล้างบาดแผล หรือเอาเท้าแช่น้ำ แก้น้ำกัดเท้า แผลพุพอง
  • เปลือก ใช้ต้มไว้ชะล้างบาดแผล และใช้ย้อมแห อวน

I1.jpg I2.jpg I3.jpg


แหล่งที่มาของภาพ
https://km.dmcr.go.th/ckeditor/upload/files/Mangrove%20forest/22_01.jpg https://km.dmcr.go.th/ckeditor/upload/files/Mangrove%20forest/22_02.jpg https://km.dmcr.go.th/ckeditor/upload/files/Mangrove%20forest/22_03.jpg


อ้างอิงเนื้อหา
ป่าชายเลนนิเวศวิทยาเเละพรรณไม้:สรายุทธ บุณยะเวชชีวิน เเละ รุ่งสุริยา บัวสาลี