ปอทะเล

จาก ฐานข้อมูลชนิดพืชในศูนย์ศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลนตำบลลีเล็ดอำเภอพุนพินจังหวัดสุราษฎร์ธานี
N1.jpg

ชื่อไทย : ปอทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus tiliaceus
อาณาจักร : Plantae
ชื่อวงศ์ : Malvaceae

  • ต้นต้นปอทะเล จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 3-5 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง แตกกิ่งต่ำ ลำต้นมักคดงอและแตกกิ่งก้านมาก เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมสีน้ำตาล เปลือกต้นด้านนอกเรียบเกลี้ยงหรือแตกเป็นร่องตื้น ๆ มีช่องระบายอากาศเป็นแนวตามยาวของลำต้น ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีชมพูประขาว มีความเหนียว สามารถลอกออกจากลำต้นได้ง่าย โดยพันธุ์ไม้ชนิดนี้จะมีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศอินเดีย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย ส่วนในประเทศสามารถพบได้ทุกภาค โดยมักพบขึ้นตามชายฝั่งทะเล ป่าชายเลน ตามแม่น้ำลำคลองภายใต้อิทธิพลของน้ำกร่อย หรือตามป่าดิบชื้นใกล้ชายฝั่ง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา ไปจนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร
  • ใบปอทะเล ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ แผ่นใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ โคนใบกว้าง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 7-15 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมเป็นหางยาว โคนใบเว้า ส่วนขอบใบเรียบ บ้างว่าหยักแบบถี่ ๆ เนื้อใบมีลักษณะค่อนข้างหนา ผิวใบด้านบนมีขนบาง ๆ ถึงเกลี้ยง ส่วนท้องใบเกลี้ยงหรือมีขนละเอียดรูปดาวสีขาว มีเส้นแขนงใบออกจากโคนใบประมาณ 7-9 เส้น และที่เส้นกลางใบอีก 4-6 เส้น ก้านใบเป็นสีแดงยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร และมีหูใบขนาดใหญ่ที่โคนก้านใบ ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร และร่วงได้ง่าย
  • ดอกตะบูนขาว ดอกมีสีขาวอมเหลือง ส่งกลิ่นหอมในช่วงบ่ายถึงค่ำ ดอกออกรวมเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามซอกใบ กลีบเลี้ยงเป็นรูปสามเหลี่ยมสั้นมี 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
  • ผลปอทะเล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือเป็นรูปไข่เกือบกลม มีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร เปลือกผลแข็งและมีขนสั้นละเอียดคล้ายขนกำมะหยี่ ผลเมื่อแก่จะแตกเป็น 5 พู อ้าออกและติดอยู่กับต้น ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กสีดำอยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไต เกลี้ยง สามารถออกผลได้เกือบตลอดทั้งปี

ตัวอย่างวีดีโอปอทะเล
วีดีโอปอทะเล


สรรพคุณของปอทะเล

  • ใบสดนำมาคั้นเอาแต่น้ำใช้เป็นยาหยอดหู แก้หูอักเสบและหูเป็นฝี (ใบ)
  • ใช้ดอกนำมาต้มกับน้ำนม ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำมาหยอดหูเพื่อรักษาอาการเจ็บในหู (ดอก)
  • รากใช้เป็นยาแก้ไข้ รักษาอาการไข้ (ราก)
  • ใบอ่อนนำมาตากแห้งใช้ชงกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ แก้หลอดลมอักเสบ (ใบอ่อน)[6]
  • เปลือกมีสรรพคุณทำให้อาเจียน (เปลือก)
  • เมือกที่ได้จากการนำเปลือกสดมาแช่กับน้ำ ใช้ดื่มเป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร (เปลือก)
  • รากมีสรรพคุณเป็นยาระบายท้อง (ราก) ส่วนใบใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ
  • รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)
  • ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประก์ ที่ประเทศมาเลเซียจะใช้เปลือกปอทะเลทำเป็นยาผงเพื่อใช้เป็นยารักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ใบนำมาบดให้เป็นผงใช้เป็นยาใส่แผลสด แผลเรื้อรัง (ใบ)

ประโยชน์ของปอทะเล

  • ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักได้
  • ใบใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น วัว ควาย
  • ใยจากเปลือกต้นจะมีความเหนียวและคงทนกว่าปอ สามารถนำมาใช้ทำเชือก ทำกระดาษห่อของ เส้นใยสั้น เมื่อทำแล้วจะได้กระดาษที่มีคุณภาพต่ำ และยังใช้ทำหมันยาเรือได้ด้วย
  • เนื้อไม้ของต้นปอทะเลมีความถ่วงเพาะ 0.6 สามารถนำไปใช้ในงานไม้ได้ เช่น การทำเรือ (ชาวพื้นเมืองในฮาวายจะใช้เนื้อไม้มาทำเรือแคนู)
  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ในแถบเอเชียจะนิยมนำต้นปอทะเลมาทำบอนไซ

N2.jpg N3.jpg N4.jpg N5.jpg


แหล่งที่มาของภาพ
https://medthai.com/images/2014/04/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5.jpg https://medthai.com/images/2014/04/%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5.jpg https://medthai.com/images/2014/04/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5.jpg https://medthai.com/images/2014/04/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5.jpg https://medthai.com/images/2014/04/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5.jpg


อ้างอิงเนื้อหา
ป่าชายเลนนิเวศวิทยาเเละพรรณไม้:สรายุทธ บุณยะเวชชีวิน เเละ รุ่งสุริยา บัวสาลี