หงอนไก่ทะเล

จาก ฐานข้อมูลชนิดพืชในศูนย์ศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลนตำบลลีเล็ดอำเภอพุนพินจังหวัดสุราษฎร์ธานี
K2.jpg

ชื่อไทย : หงอนไก่ทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heritiera littoralis
อาณาจักร : Plantae
ชื่อวงศ์ : Malvaceae

  • ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูง 5-20 เมตร มีพูพอนน้อยลำต้นมักบิด และคดงอ เปลือกสีน้ำตาล ถึงเทาเข้ม หยาบเป็นเกล็ด มีรอยแตกเป็นร่องลึกตามยาว เนื้อไม้สีขาว
  • ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ อยู่เป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง แผ่นใบรูปรี หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่ ขนาด 5-9 x 10-22 ซม. ปลายใบกลม หรือเป็นติ่งหนาม ถึงค่อนข้างเรียวแหลม ฐานใบกลมถึงเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนเกลี้ยงสีเขียวเข้ม ด้านท้องใบมีเกล็ดสีเทา-เงิน หนาแน่น เส้นใบ 7-15 คู่ ปลายเส้นประสานกันก่อนถึงขอบใบ เส้นกลางใบ และเส้นใบเห็นเด่นชัดมากทางด้านท้องใบ ก้านใบค่อนข้างอวบ ยาว 0.5-1.1 ซม.
  • ดอกออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่งเป็นช่อแยกแขนง ยาว 10-20 ซม. เป็นดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกันดอกเล็ก รูประฆัง ยาว 0.3-0.7 ซม. มีขนสั้นนุ่ม ผิวด้านนอก สีน้ำตาลแกมเขียวด้านในสีแดง-ส้ม วงกลีบรวม 4-6 กลีบ รูปสามเหลี่ยมแคบๆ ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้ยาว 0.3-0.5 ซม. ดอกเพศเมียยาว 0.3-0.7 ซม. ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม และเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
  • ผล รูปทรงรี ขนาด 4-6 x 5-11 ซม. เปลือกเป็นเส้นใยอัดแน่น ผิวเกลี้ยงเป็นมันผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาล ด้านบนทางปลายผลมีสันคล้ายครีบ เห็นเด่นชัด เมล็ดค่อนข้างกลม มี 1 เมล็ด มักขึ้นตามด้านในของป่าชายเลนทั่วๆ ไปในเขตน้ำกร่อยที่ดินค่อนข้างเป็นดินทราย

สรรพคุณของหงอนไก่ทะเล

  • แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้รำมานาด ปากอักเสบ รักษาเหงือก

ประโยชน์ของหงอนไก่ทะเล

  • เมล็ด ต้มเป็นยาหม้อดื่ม
  • กิ่งอ่อน มีสารแทนนิน ใช้ถูฟันรักษาเหงือก
  • เปลือก ต้มน้ำบ้วนปาก แก้รำมะนาด ปากอักเสบ
  • เมล็ด รับประทาน แก้ท้องเสีย แก้บิด

K2.jpg K1.jpg K3.jpg


แหล่งที่มาของภาพ
https://km.dmcr.go.th/ckeditor/upload/files/Mangrove%20forest/33_01.jpg https://km.dmcr.go.th/ckeditor/upload/files/Mangrove%20forest/33_02.jpg https://km.dmcr.go.th/ckeditor/upload/files/Mangrove%20forest/33_023.jpg


อ้างอิงเนื้อหา
ป่าชายเลนนิเวศวิทยาเเละพรรณไม้:สรายุทธ บุณยะเวชชีวิน เเละ รุ่งสุริยา บัวสาลี