โกงกางใบเล็ก

จาก ฐานข้อมูลชนิดพืชในศูนย์ศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลนตำบลลีเล็ดอำเภอพุนพินจังหวัดสุราษฎร์ธานี
A6.jpg

ชื่อไทย : โกงกางใบเล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhizophora apiculata
อาณาจักร : Plantae
ชื่อวงศ์ : Rhizophoracea
โกงกางใบเล็กเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 25-35 ม. ระบบรากเป็นระบบรากแก้วมีรากเสริมออกมาเหนือโคนต้น 3-8 กม. รากที่โคนต้นหรือรากค้ำยันลำต้นแตกแขนงระเกะระกะไม่เป็นระเบียบ ทำมุมเกือบตั้งฉากกับลำต้นและหักเกือบเป็นมุมฉากลงดินเพื่อพยุงลำต้น เรือนยอดรูปกรวยคว่ำแคบ ๆ

  • ลำต้น มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 30-50 ซม. เปลือกสีเทาคล้ำหรือเทาอมชมพู แตกเป็นร่องตื้น ๆ ตามยาวทั่วไปและอาจมีร่องสั้น ๆ แตกตามขวางคั่นระหว่างร่องยาวอย่างไม่เป็นระเบียบ เมื่อทุบเปลือกทิ้งไว้สักครู่จะพบว่าเปลือกในจะมีสีแสดถึงแดงเลือดหมู
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับทิศทางตั้งฉาก ใบคู่ล่างๆ จะร่วงไปเหลือแต่คู่ใบ 2-4 คู่ เป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-18 ซม. ปลายแหลมหรือเป็นติ่งแหลมเล็กยาว แข็ง สีดำ โคนรูปลิ่ม เส้นกลางใบด้านล่างสีแดงเรื่อ ๆ หรือชมพูอมแดง เส้นแขนงใบปรากฏราง ๆ แผ่นใบหนา ก้านใบยาว 1.5-3.5 ซม. มักมีสีแดงเรื่อ ๆ หูใบแคบ ปลายแหลมยาวประกบกันเป็นคู่ระหว่างคู่ใบ เห็นได้ชัดที่ปลายกิ่ง ยาว 4-9 ซม. สีชมพู ร่วงง่าย ใบเล็กกว่าโกงกางใบใหญ่
  • ดอก สมบูรณ์เพศ ช่อดอกสั้นมาก ออกตามง่ามใบที่ใบร่วงไปแล้ว ก้านช่อดอกยาว 0.6-2 ซม. ตรงปลายก้านช่อมีดอกที่ไม่มีก้านหรือมีก้านสั้น 1 คู่ ดอกตูมรูปไข่ ยาว 1.2-1.6 ซม. ใบประดับที่ฐานดอกติดกันคล้ายรูปถ้วย กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปไข่ กว้าง 6-8 มม. ยาว 0.7-1.2 ซม. กลีบหนา ปลายแหลม ต่อมาจะโค้งลงเกือบแนบก้านดอก กลีบดอก 4 กลีบ ร่วงง่าย รูปใบหอก กว้าง 1-2 มม. ยาว 0.7-1.2 ซม. สีเหลืองอมเขียวหรือเหลืองอ่อน ขอบกลีบไม่มีขน เกสรเพศผู้ 12 อัน ก้านชูอับเรณูสั้นมากหรือไม่ปรากฏชัด
  • ผล มีรูปไข่กลับยาว 2-3 ซม. สีน้ำตาลคล้ำ ผิวค่อนข้างขรุขระ เมล็ดงอกได้ในขณะที่ผลยังติดอยู่กับต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงรูปทรงกระบอก เรียงโค้งเล็กน้อย ยาว 30-40 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.2 ซม. มีขนาดโตขึ้นที่ส่วนปลาย ผิวเป็นมัน สีเขียวหรือเขียวอมม่วง ค่อนข้างเรียบหรือมีตุ่มขรุขระกระจัดกระจาย[1] เมื่อร่วงหล่นลงสู่พื้นจะปักลงในดิน


เสริม 2561 พบว่าใบของโกงกางเป็นสมุนไพร ไว้คลาดร้อน เครียด ปวดท้องรุนแรง แต่ควรต้มก่อน สามารถรวมกับอย่างอื่นเพื่อเปลี่ยนรสชาติได้


ตัวอย่างวีดีโอโกงกางใบเล็ก
วีดีโอโกงกางใบเล็ก


สรรพคุณของโกงกางใบเล็ก

  • ช่วยแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน ด้วยการใช้เปลือกนำมาต้มกับน้ำดื่ม (เปลือก)
  • น้ำจากเปลือกใช้กินแก้อาการท้องร่วง ช่วยแก้บิด (น้ำจากเปลือก) บ้างก็ว่าใช้ใบอ่อนรับประทานแก้ท้องร่วง (ใบอ่อน)
  • น้ำจากเปลือกใช้ชะล้างแผลและใช้ห้ามเลือดได้ (น้ำจากเปลือก) หรือจะนำเปลือกมาตำให้ละเอียด ใช้พอกห้ามเลือดจากบาดแผลสด หรือจะใช้ใบอ่อนนำมาเคี้ยวหรือบดให้ละเอียดก็ใช้พอกแผลสดเพื่อห้ามเลือดได้เช่นกัน อีกทั้งยังช่วยป้องกันเชื้อโรคได้ด้วย (ใบ, เปลือก)

ประโยชน์ของต้นโกงกางใบเล็ก

  • เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำฟืนและถ่านที่มีคุณภาพดีได้ เนื่องจากเป็นไม้ที่ให้ความร้อนสูงและนาน (ให้ค่าความร้อนประมาณ 6,600-7,200 แคลอรี/กรัม) อีกทั้งยังมีขี้เถ้าน้อยและไม่เกิดสะเก็ดไฟเวลานำมาใช้ จึงเป็นที่นิยมของผู้ใช้โดยทั่วไป
  • เนื้อไม้โกงกางมีคุณสมบัติที่ดี มีลักษณะเปลาตรง มีความแข็งแรงและความเหนียว จึงสามารถนำมาแปรรูปเพื่อใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ ทำกลอน หลังคาจาก รอด ตง อกไก่ของบ้าน หรือใช้สำหรับทำเสา ทำไม้เสาเข็ม หรือไม้สำหรับค้ำยัน ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ หรือใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ก็ได้
  • ฝักนำมาใช้ทำไวน์
  • เปลือกของต้นโกงกางใบเล็กและใบใหญ่เป็นแหล่งที่มีสารแทนนินและฟีนอลธรรมชาติที่มีราคาถูกที่สุด ซึ่งสารชนิดนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำสี ทำหมึก ยา ใช้ในการฟอกหนัง ใช้ทำกาวสำหรับติดไม้ ฯลฯ
  • เปลือกต้นให้น้ำฝาดประเภท Catechol ซึ่งให้สีน้ำตาลที่สามารถนำไปใช้ย้อมสีผ้า แห อวน เชือก หนัง ฯลฯ
  • ป่าไม้โกงกางมีความสำคัญอย่างมากสำหรับสัตว์ทะเลจำพวก กุ้ง หอย ปู ปลา เพราะเป็นที่วางไข่และฟักตัวอ่อน เนื่องจากเป็นแหล่งที่มีสภาพสมดุลทางธรรมชาติสูงมาก
  • ป่าไม้โกงกางมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยป้องกันรักษาชายฝั่งทะเลจากการกัดเซาะของกระแสน้ำ และยังใช้เป็นแนวกำบังคลื่นลมที่เคลื่อนเข้ามาปะทะชายฝั่งได้อีกด้วย

A7.jpg A8.jpg A9.jpg


แหล่งที่มาของภาพ
https://medthai.com/images/2013/12/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81.jpg https://medthai.com/images/2013/12/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81.jpg https://medthai.com/images/2013/12/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81.jpg https://medthai.com/images/2013/12/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81.jpg


อ้างอิงเนื้อหา
ป่าชายเลนนิเวศวิทยาเเละพรรณไม้:สรายุทธ บุณยะเวชชีวิน เเละ รุ่งสุริยา บัวสาลี