ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถั่วดำ"
แถว 1: | แถว 1: | ||
− | [[File:.jpg|right]] | + | [[File:h1.jpg|right]] |
'''ชื่อไทย :''' ถั่วดำ | '''ชื่อไทย :''' ถั่วดำ | ||
<br>'''ชื่อวิทยาศาสตร์ :''' ''bruguiera parviflora'' | <br>'''ชื่อวิทยาศาสตร์ :''' ''bruguiera parviflora'' | ||
แถว 55: | แถว 55: | ||
*เมล็ดถั่วดำเมื่อนำมาบดกับแป้งใช้ทำเป็นขนมได้ เช่น ขนมลูกชุบ ขนมเปี๊ยะ เป็นต้น | *เมล็ดถั่วดำเมื่อนำมาบดกับแป้งใช้ทำเป็นขนมได้ เช่น ขนมลูกชุบ ขนมเปี๊ยะ เป็นต้น | ||
*ถั่วดำเป็นพืชทนแล้ง สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด มักนิยมใช้ปลูกเป็นพืชรองในปลายฤดูฝนตามหลังพืชหลัก เช่น ถั่วเหลืองหรือข้าวโพด โดยเป็นพืชที่มีบทบาทในด้านเศรษฐกิจของประเทศเช่นเดียวกับถั่วเขียว | *ถั่วดำเป็นพืชทนแล้ง สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด มักนิยมใช้ปลูกเป็นพืชรองในปลายฤดูฝนตามหลังพืชหลัก เช่น ถั่วเหลืองหรือข้าวโพด โดยเป็นพืชที่มีบทบาทในด้านเศรษฐกิจของประเทศเช่นเดียวกับถั่วเขียว | ||
− | [[ไฟล์:.jpg]] [[ไฟล์:.jpg]] [[ไฟล์:.jpg]] [[ไฟล์:.jpg]] | + | [[ไฟล์:h2.jpg]] [[ไฟล์:h3.jpg]] [[ไฟล์:h4.jpg]] [[ไฟล์:h5.jpg]] |
---- | ---- | ||
'''แหล่งที่มาของภาพ'''<br> | '''แหล่งที่มาของภาพ'''<br> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 14:32, 30 ตุลาคม 2563
ชื่อไทย : ถั่วดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : bruguiera parviflora
อาณาจักร : Plantae
ชื่อวงศ์ : Rhizophoraceae
- ต้นถั่วดำ จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นตั้งตรงเป็นพุ่ม มีความสูงประมาณ 30-100 เซนติเมตร บางสายพันธุ์มีลำต้นแบบกึ่งเลื้อย ส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือใบเลี้ยงจะค่อนข้างเป็นเหลี่ยม และมีขนปกคลุมอยู่ทั่วไป
- ใบถั่วดำ ใบจริงคู่แรกจะเป็นใบเดี่ยวอยู่ตรงข้ามกัน และใบจริงในลำดับต่อไปจะเกิดแบบสลับอยู่บนลำต้น แต่ละใบประกอย จะมีใบย่อย 3 ใบ มีขนาดเล็ก สีเขียวเข้ม และหนา เป็นรูปไข่ (ใบย่อยมีขนาดเล็กกว่าใบย่อยถั่วเขียว) ส่วนก้านใบยาวประมาณ 6-20 เซนติเมตร ที่ฐานของก้านใบจะมีหูใบอยู่ 2 อัน ส่วนก้านใบย่อยจะสั้น ใบย่อยใบกลางมีหูใบย่อย 2 อัน ส่วนใบย่อย 2 ใบล่าง จะมีหูใบย่อยอยู่ข้างละอัน และใบมีขนปกคลุมยาวและหนาแน่นอยู่ทั่วไป
- ดอกถั่วดำ ออกดอกเป็นช่อ มีก้านดอกยาวและดอกเกิดเป็นกลุ่มที่ปลาย ในหนึ่งช่อจะมีดอกประมาณ 5-6 ดอก โดยดอกจะเกิดตามมุมใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 18 เซนติเมตร ส่วนดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีเหลืองหรือสีเขียวอ่อน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.75 เซนติเมตรดอก มีกลีบ 5 กลีบ โดยมีกลีบใหญ่ 1 กลีบ กลีบข้าง 2 กลีบ และกลีบหุ้มเกสร 2 กลีบ โดยกลีบหุ้มเกสรจะมีลักษณะม้วนเป็นเกลียว ปลายมีลักษณะคล้ายปากแตร ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน
- ฝักถั่วดำ ฝักมีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว ฝักสั้นตรง ฝักเมื่อแก่อาจมีสีขาวนวล น้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก ในฝักจะมีเมล็ดอยู่ไม่เกิน 8 เมล็ด
ตัวอย่างวีดีโอถั่วดำ
วีดีโอถั่วดำ
สรรพคุณของถั่วดำ
- ถั่วดำมีรสหวาน ช่วยบำรุงโลหิต
- ช่วยบำรุงสายตา
- ช่วยขจัดพิษในร่างกาย
- ช่วยขับเหงื่อ
- ช่วยแก้อาการร้อนใน
- ช่วยรักษาดีซ่าน
- ถั่วดำมีสารที่ช่วยบรรเทาอาการปวดลำไส้เล็ก
- ช่วยขับลมในกระเพาะ
- ช่วยขับของเหลวในร่างกาย
- ช่วยบำรุงไต ป้องกันไตเสื่อม
- ช่วยแก้อาการบวมน้ำ
- ช่วยแก้อาการเหน็บชา
- ช่วยแก้อาการปวดเอว
ประโยชน์ของถั่วดำ
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
- ช่วยบำรุงหัวใจ
- ถั่วดำอุดมไปด้วยแคลเซียมซึ่งช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง
- นอกจากถั่วดำจะให้โปรตีนแล้ว ยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์หรือเส้นใยซึ่งช่วยในการขับถ่ายและป้องกันอาการท้องผูก
- ถั่วดำมีคุณสมบัติในการช่วยลดความอ้วนได้ เนื่องจากในถั่วดำมีสัดส่วนของโปรตีนถึง 40% และมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว 20% โดยอุดมไปด้วยสารลดความอ้วนและสารที่ช่วยกำจัดสารพิษ
- ช่วยควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากเส้นใยที่มีมากในถั่วจะช่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นานขึ้นและทำให้ร่างกายมีพลังงานสม่ำเสมอ
- ในถั่วดำมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่สามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็ง รวมไปถึงโรคต่าง ๆ ในผู้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือบทบาทในการช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึงร้อยละ 40 และมะเร็งลำไส้ตรงได้ถึงร้อยละ 80 นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันมะเร็งในกระเพาะอาหารได้ด้วย ซึ่งจากงานวิจัยระบุว่าผู้ที่รับประทานบ่อย ๆ จะมีความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานถึงร้อยละ 30 รวมไปถึงฤทธิ์ในการป้องกันมะเร็งปอดได้ถึงร้อยละ 50
- ถั่วดำมีสารไอโซฟลาโวนส์ซึ่งเป็นสารที่ช่วยป้องกันเซลล์เจริญเติบโตผิดปกติ จากปัญหาการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติจนกลายเป็นโรคอ้วน และยังช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก อันมีสาเหตุมาจากการหลั่งฮอร์โมนแอนโดรเจนหรือฮอร์โมนเพศชาย มากเกินไปได้
- ถั่วดำมีสารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โปรติเอส ซึ่งช่วยป้องกันและลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งได้ ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม และยังส่งผลดีต่อฮอร์โมนเพศหญิงอีกด้วย
- ช่วยยับยั้งโรคเบาหวาน เนื่องจากเส้นใยในถั่วดำเป็นเส้นใยชนิดละลายน้ำ จึงช่วยลดความเร็วของการดูดซึมกลูโคสให้ดูดซึมในร่างกายช้าลง จึงสามารถยับยั้งโรคเบาหวานได้
- ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล
- ช่วยป้องกันและรักษาโรคโลหิตจาง เนื่องจากถั่วดำอุดมไปด้วยวิตามินบี 12 วิตามินบี 9 หรือกรดโฟลิก และเบตาแคโรทีน แถมยังมีธาตุเหล็กที่สูงกว่าเนื้อสัตว์ถึง 4 เท่า มันจึงมีประโยชน์โดยตรงต่อผู้เป็นโรคโลหิตจางอย่างมาก
- ถั่วดำอุดมไปด้วยธาตุเหล็กที่ช่วยบำรุงโลหิต และเป็นส่วนหนึ่งของสารในเม็ดเลือดแดงที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย จึงช่วยป้องกันภาวะขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง สมองไม่ดี หรือคิดอะไรไม่ค่อยออก ฯลฯ
- ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและช่วยลดคอเลสเตอรอล เนื่องจากถั่วดำอุดมไปด้วยวิตามินอีและโพแทสเซียมที่ช่วยลดความดันโลหิต ด้วยการขยายเส้นโลหิตให้กว้างมากขึ้น ทั้งยังมีแคลเซียมที่ช่วยทำให้กล้ามเนื้อของเส้นเลือดเกิดความยืดหยุ่นมากขึ้นอีกด้วย
- ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งจากผลการวิจัยระบุว่าผู้ที่รับประทานถั่วดำในปริมาณมากกว่าจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจน้อยกว่าผู้ที่รับประทานถั่วดำน้อยกว่าหรือไม่รับประทานเลย
- ล้างพิษด้วยถั่วดำ ถั่วดําช่วยล้างพิษในร่างกาย เนื่องจากถั่วดำมีสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นถั่วที่มีสารล้างพิษที่มีปริมาณสูงสุด และยังมีสารสำคัญอย่างแอนโทไซยานินที่เป็นสารล้างพิษที่ดี โดยเมื่อเทียบกับผลไม้อย่างส้มแล้ว พบว่าถั่วดำจะมีปริมาณของสารล้างพิษมากกว่าส้มถึง 10 เท่า ! แต่การทำให้ถั่วดำสุกจะสูญเสียสารล้างพิษไปบ้าง แต่ก็ยังสามารถช่วยล้างพิษในร่างกายได้อย่างประสิทธิภาพ
- การรับประทานถั่วดำเป็นประจำช่วยส่งผลดีต่อสุขภาพผิว ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ช่วยทำให้ผิวหน้ากระจ่างใส ช่วยเพิ่มความกระชับ ทำให้ผิวหน้าดูมีชีวิตชีวา อีกทั้งยังช่วยลดเลือนรอยแดงจากสิว ป้องกันการเกิดกระบนผิว เพราะอุดมไปด้วยวิตามินอี และสารแอนโทไซนานินที่ช่วยเพิ่มการทำงานของคอลลาเจน
- มีคำกล่าวว่าการรับประทานถั่วจะช่วยทำให้ฉลาดขึ้น ซึ่งก็ใกล้เคียงกับความจริง เนื่องจากมีสารเลซิตินที่ช่วยบำรุงสมอง ช่วยในการทำงานของสมอง จึงมีผลดีต่อผู้ที่ต้องใช้ความจำ และสำหรับคนชราก็สามารถช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ด้วย
- ถั่วดำยังเป็นแหล่งสำคัญของธาตุโบรอน (Boron) ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งกระแสประสาทของสมอง ทำให้ช่วยสมองทำงานได้ฉับไวขึ้น
- ช่วยแก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับ ด้วยการนึ่งถั่วแล้วใส่ไว้ในหมอน ขณะที่ยังอุ่น ๆ ก็จะช่วยแก้อาการนอนไม่หลับได้
- ถั่วดำเป็นแหล่งอาหารจากธรรมชาติที่มีโฟเลตสูง มีความสำคัญอย่างมากสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพราะช่วยป้องกันการพิการแต่กำเนิดของทารกได้ นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็กที่ช่วยลดอาการอ่อนเพลียของสตรีขณะตั้งครรภ์ได้อีกด้วย
- เมล็ดถั่วดำมีคุณค่าทางอาหารที่สูงใกล้เคียงพอ ๆ กับเมล็ดถั่วเขียว
- ถั่วดำสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย แต่น้อยกว่าถั่วเขียว เช่น ในญี่ปุ่นจะนำไปใช้เพื่อเพาะถั่วงอกเป็นหลัก ส่วนอินเดียนิยมนำไปทำถั่วซีก ตลอดจนใช้บริโภคทั้งเมล็ด ด้วยการใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารจำพวกซุปหรือแกงต่าง ๆ หรือใช้ในอาหารประเภทหมัก ส่วนในบ้านเราจะใช้ทำถั่วงอกเป็นหลักและทำแป้ง เป็นต้น
- ถั่วดำอุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต แคโรทีน วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
- เปลือกหุ้มเมล็ดมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งสามารถนำมาใช้แต่งสีขนมต่าง ๆ ได้ เช่น ขนมถั่วแปป แป้งจี่ เป็นต้น ด้วยการนำเมล็ดถั่วดำมาล้างให้สะอาด แล้วนำไปต้มเคี่ยวกับน้ำแล้วจะได้น้ำที่มีสีม่วง
- เมล็ดถั่วดำเมื่อนำมาบดกับแป้งใช้ทำเป็นขนมได้ เช่น ขนมลูกชุบ ขนมเปี๊ยะ เป็นต้น
- ถั่วดำเป็นพืชทนแล้ง สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด มักนิยมใช้ปลูกเป็นพืชรองในปลายฤดูฝนตามหลังพืชหลัก เช่น ถั่วเหลืองหรือข้าวโพด โดยเป็นพืชที่มีบทบาทในด้านเศรษฐกิจของประเทศเช่นเดียวกับถั่วเขียว
แหล่งที่มาของภาพ
https://medthai.com/images/2013/10/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B3.jpg
https://medthai.com/images/2013/10/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B3.jpg
https://medthai.com/images/2013/10/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B3.jpg
https://medthai.com/images/2013/10/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B3.jpg
https://medthai.com/images/2013/10/%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B3.jpg
https://medthai.com/images/2013/10/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B3.jpg
อ้างอิงเนื้อหา
ป่าชายเลนนิเวศวิทยาเเละพรรณไม้:สรายุทธ บุณยะเวชชีวิน เเละ รุ่งสุริยา บัวสาลี