ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลำเเพน"
จาก ฐานข้อมูลชนิดพืชในศูนย์ศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลนตำบลลีเล็ดอำเภอพุนพินจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าด้วย "right '''ชื่อไทย :''' ลำเเพน <br>'''ชื่อวิทยาศาสตร์ :''' ''Sonneratia ovata'' <br...") |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 11:00, 30 ตุลาคม 2563
ชื่อไทย : ลำเเพน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sonneratia ovata
อาณาจักร : Plantae
ชื่อวงศ์ : Lythraceae
โกงกางใบเล็กเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 25-35 ม. ระบบรากเป็นระบบรากแก้วมีรากเสริมออกมาเหนือโคนต้น 3-8 กม. รากที่โคนต้นหรือรากค้ำยันลำต้นแตกแขนงระเกะระกะไม่เป็นระเบียบ ทำมุมเกือบตั้งฉากกับลำต้นและหักเกือบเป็นมุมฉากลงดินเพื่อพยุงลำต้น เรือนยอดรูปกรวยคว่ำแคบ ๆ
- ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 4-12 เมตร กิ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมเปราะ รากหายใจรูปคล้ายหมุด ยาว 15-30 ซม. เหนือผิวดิน
- ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก แผ่นใบรูปไข่กว้างถึงรูปเกือบกลม ขนาด 3-8 x 4-9 ซม. ปลายใบกลม กว้างฐานใบกลม สีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 0.3-1.5 ซม. ต้นที่มีอายุมากใบมักจะบิดเบี้ยวไม่สมมาตร
- ดอก ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อกระจุก ช่อละ 3 ดอก ก้านดอกย่อยยาว 1-2 ซม. บางครั้งไม่มีก้านดอกย่อย เมื่อเป็นตาดอกวงกลีบเลี้ยงรูปไข่กว้าง ยาว 2-3 ซม.หลอดกลีบเลี้ยงรูปถ้วย มีสันเด่นชัด กลีบเลี้ยงมักมี 6 กลีบ รูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ยาวกว่าหลอดเล็กน้อยด้านบนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ สีเหลืองอมเขียว และสีชมพูเรื่อๆ ที่โคนกลีบด้านใน กลีบดอกไม่ปรากฏ
- ผล เป็นผลมีเนื้อ และมีหลายเมล็ด ผลกลมด้านแนวนอนยาวกว่าแนวตั้ง ขนาด 3-4.5 x 2.5-3.5 ซม. กลีบเลี้ยงงอหุ้มติดผล ผลมีรสออกเปรี้ยว สามารถนำมารับประทานได้ ออกดอกและผลตลอดปี ขึ้นในพื้นที่ที่ความเค็มไม่มากนัก และดินค่อนข้างเหนียว น้ำท่วมถึงเป็นครั้งคราว
ตัวอย่างวีดีโอโกงกางใบเล็ก
วีดีโอลำเเพน
สรรพคุณของลำเเพน
- แก้ปวด บวม เคล็ดขัดยอก ขับพยาธิ ขับเสมหะ แก้ท้องผูก ห้ามเลือด
ประโยชน์ของลำเเพน
- ผล ตำให้ละเอียดพอกบริเวณที่ปวด
- ผล ตำคั้นน้ำดื่มขับพยาธิ
- ผล มีรสเปรี้ยวกินแก้ท้องผูก
- ผล ตำน้ำคั้น หมัก ใช้ทาแผลห้ามเลือด
แหล่งที่มาของภาพ
https://km.dmcr.go.th/ckeditor/upload/files/Mangrove%20forest/27_01.jpg
https://km.dmcr.go.th/ckeditor/upload/files/Mangrove%20forest/27_02.jpg
https://km.dmcr.go.th/ckeditor/upload/files/Mangrove%20forest/27_03.jpg
อ้างอิงเนื้อหา
ป่าชายเลนนิเวศวิทยาเเละพรรณไม้:สรายุทธ บุณยะเวชชีวิน เเละ รุ่งสุริยา บัวสาลี