นกกระจิบธรรมดา

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

นกกระจิบธรรมดา

Tailorbird1.jpg

วงศ์:Cisticolidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Orthotomus sutorius (Pennant) 1769.
ชื่อสามัญ:Common Tailorbird
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : นกกระจิบสวน, นกกระจิบหางยาว, Long-tailed Tailorbird

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Orthotomus sutorius ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ sutor แปลว่าช่าง ทํารองเท้า มีความหมายเกี่ยวกับลักษณะรังของนก ชนิดนี้ที่ใช้ใบไม้ 2 ใบมาเย็บติดกันคล้ายรองเท้า พบครั้งแรกที่ประเทศศรีลังกา ทั่วโลกมี 9 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Orthotomus sutorius inexpectatus La Touche ชื่อชนิดย่อยเป็นคําในภาษาละตินคือ inexpectata แปลว่าไม่คาดหมาย อาจหมายถึงการพบชนิดย่อยนี้โดยบังเอิญ พบครั้งแรกที่ประเทศจีน และ Orthotomus sutorius maculicollis Moore ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษา ละตินคือ macula, -t แปลว่าลายจุด และ coll, -i หรือ collis แปลว่าคอ ความหมายคือ “บริเวณคอเป็นลายจุด” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย

กระจายพันธุ์ : ตั้งแต่อินเดียจนถึงจีนตอนใต้ เกาะไหหลํา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเกาะชวา

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็กมาก (12 ซม.) หน้าผากสีน้ำตาลแดง หัวตาและคิ้วสีเนื้อ ลําตัวด้านบนสีเขียวถึงเขียวแกมเหลือง ลําตัวด้านล่างสีเนื้ออ่อน บางครั้งอกและคอหอยมีโคนขนเป็นสีเข้ม ทําให้ดูคล้ายกับมีแถบสีเทา ช่วงฤดูผสมพันธุ์หางของตัวผู้อาจยาว

อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่ารุ่น ป่าชายเลน ทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ และสวนผลไม้ ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล อาจพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ ช่วงฤดูผสมพันธุ์พบอยู่เป็นคู่ มักพบเกาะและกระโดดไป ตามกิ่งภายในเรือนยอดของต้นไม้ ไม้พุ่ม รวมถึงกอหญ้าและพืชต่าง ๆ ขณะเกาะหางมักตั้งขึ้นในแนวเกือบตั้งฉากกับลําตัว บินได้ดี แต่มักเป็นระยะทางสั้น ๆ ระหว่างกิ่งไม้ ต้นไม้ หรือต้นพืชต่าง ๆ มีเสียงร้องที่ คุ้นเคยกันดี “จิบ-จิบ-จิบ” ติดต่อกัน 2-3 พยางค์ อาหารได้แก่ แมลงและตัวหนอน นอกจากนี้ยังมี รายงานว่ากินน้ำหวานตอกไม้บางชนิดด้วย

การผสมพันธุ์ :ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ทำรังตามต้นไม้หรือ พุ่มไม้ที่มีใบค่อนข้างใหญ่ เช่น มะเดื่อ แสงจันทร์ จำปี จำปา เป็นต้น ทั้งสองเพศช่วยกันเลือกสถานที่ทำรัง หาวัสดุ และช่วยกันสร้างรังด้วยการโน้มใบพืชดังกล่าว ที่อยู่ใกล้กัน 2-3 ใบมาเย็บหรือเชื่อมขอบใบพืชให้ติดกันด้วยใยแมงมุมให้เป็นรูปกระเปาะ มีทางเข้าออกอยู่ ทางด้านบน สีของรังก็คือสีของใบพืช จึงมองเห็นรังได้ ยาก นอกจากจะเฝ้าสังเกตการเข้าออกรังของนกเท่านั้น ภายในรังมักมีวัสดุต่าง ๆ โดยเฉพาะดอกหญ้าและใบไม้ แห้งรองอีกชั้นหนึ่ง โดยทั่วไปรังมีปากทางเข้าออกกว้าง 4-5 ซม. ลึก 7-10 ซม. และอยู่สูงจากพื้นดิน 1-3 เมตร รังมีไข่ 3-4 ฟอง

ไข่ : ไข่สีขาว ครีม ชมพูอ่อน น้ำเงินอ่อน หรือเขียวแกมน้ำเงิน มีลายจุดสีน้ำตาลแดง สีน้ำตาล สีดำ หรือสีดำแกมแดงกระจายทั่วฟองโดย เฉพาะด้านป้าน ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 11.6x16.4 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ จะเริ่มฟักเมื่อออกไข่ ฟองสุดท้ายของรังแล้ว ใช้ระยะเวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 13 วัน ลูกนกที่ออกจากไข่ใหม่ ๆ รูปร่างเทอะทะ หัว โต ตาโต ท้องป่อง ยังไม่ลืมตา และไม่มีขนคลุมลำตัว พ่อแม่ต้องช่วยกันกกโดยให้ซุกใต้ปีกหรือใต้ท้อง และช่วยกันหาอาหารมาป้อน ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ตัวหนอน อายุ 3-4 สัปดาห์ลูกนกจะมีขนาดโตเท่ากับพ่อแม่ มี ขนคลุมเต็มตัว แต่สียังไม่เหมือน โดยเฉพาะบริเวณ หน้าผากที่ยังไม่ออกเป็นสีแดง สามารถบินได้อย่าง แข็งแรง และอีกไม่นานนักก็จะทิ้งรังไป นกกระจิบธรรมดามักถูกนกอีวาบตั๊กแตนแอบ มาวางไข่ในรังให้ฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อนแทน โดยไข่ และลูกนกกระจิบธรรมดาจะถูกทำลายโดยแม่นกอีวาบ ตั๊กแตนหรือลูกนกอีวาบตั๊กแตนที่ฟักออกมาจากไข่ ก่อนลูกนกเจ้าของรั

สถานภาพ :เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมาก ชนิดย่อย inexpectatus พบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ชนิดย่อย maculicollis พบทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=0Xu8_vmFBQM//https:
>>> นกกระจิบธรรมดา <<<


Tailorbird2.jpg Tailorbird3.jpg Tailorbird4.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://live.staticflickr.com/3104/2698189116_bc842b3106_b.jpg
https://f.ptcdn.info/089/017/000/1395726404-DSC0573-o.jpg
https://live.staticflickr.com/8713/16605924994_4a78634a73_b.jpg
https://adeq.or.th/wp-content/uploads/2019/01/นกกระจิบธรรมดา-1.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต