นกจอกป่าหัวโต

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Brown1.jpg

วงศ์':Bucerotidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Calorhamphus fuliginosus (Temminck) 1830.
ชื่อสามัญ:Brown Barbet
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:-

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Calorhamphus fuliginosus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละติน คือ fulis, -in หรือ fuligiris หรือ fuligo แปลว่าสี เขม่า และ OS, =um, =us แปลว่าเต็มไปด้วย ความ หมายคือ “นกที่มีสีออกเป็นสีเขม่า” พบครั้งแรกทาง ตอนใต้ของเกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลก มีนกจอกป่าหัวโต 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิด ย่อยคือ Calorhamphus fuliginosus havi (Gray) ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อของบุคคล พบครั้งแรกที่ รัฐมะละกา ประเทศมาเลเซีย Deignan (1963) ใช้ ชื่อชนิดย่อยที่พบในประเทศไทยว่า Calorhamphus fuliginosus detersus Deignan ชื่อชนิดย่อยมาจาก รากศัพท์ในภาษาละตินคือ de แปลว่า จาก ลง หรือ ออก และ ters แปลว่าสะอาดหรือหมดจด ความหมาย คือ “นกที่ไม่มีลวดลาย” พบครั้งแรกที่จังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างไรก็ตามในบรรดาชนิดย่อยที่พบทั่วโลก ทั้ง 3 ชนิดย่อย Howard and Moore (1980) ไม่ ได้ระบุชื่อ Calorhamphus fuliginosus detersus ไว้ จึงอาจเป็นไปได้ว่าทั้งสองชื่อเป็นชื่อพ้องซึ่งกันและกัน

กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (17-18 ซม.) ปากค่อนข้างใหญ่สีดำหรือน้ำตาลเข้ม ลำตัวบนสีน้ำตาลเข้ม อาจมีลายแต้มสีเหลือง คอหอยและคอด้านล่างสีส้ม ลำตัวด้านล่างสีขาวแกมเทา ขาและนิ้วสีแดงสดหรือสีส้มเห็นได้ชัดเจน

อุปนิสัยและอาหาร :อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้นและ ป่ารุ่น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบอยู่โดดเดี่ยว เป็นคู่ หรือ เป็นฝูงเล็ก ๆ ประมาณ 3-4 ตัว ปกติมันมักเกาะตาม ใบไม้ กิ่งไม้ และลำต้นของต้นไม้สูง โดยสามารถเกาะ ได้ทุกแนว แต่บางครั้งมันก็ลงมาเกาะในระดับต่ำ หรือ ลงมายืนตามพื้นป่า นกจอกป่าหัวโตร้องเสียงแหลม และสูง แต่ไม่ดังนัก อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ ผลไม้ แต่บางครั้งก็กิน แมลงและตัวหนอน

การผสมพันธุ์ : นกจอกป่าหัวโตมีชีววิทยาการ สืบพันธุ์ไม่แตกต่างไปจากนกโพระดกซึ่งอยู่ในวงศ์เดียว กัน มันขุดเจาะโพรงทำรังบนต้นไม้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็น ไม้ที่ยืนต้นตายและค่อนข้างยุ ทั้งสองเพศช่วยกันพัก ไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน ลูกนกแรกเกิดไม่ลืมตาและไม่มี ขนปกคลุมร่างกาย พ่อแม่ต้องช่วยกันป้อนอาหารจน กระทั่งลูกนกแข็งแรง บินได้ดี และหาอาหารเองได้ จาก นั้นลูกนกก็จะแยกจากพ่อแม่ไปหากินตามลำพัง

สถานภาพ :นกจอกป่าหัวโตเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบเฉพาะทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Brown2.jpg Brown3.jpg Brown4.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/img_4791.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201802/13/54348/images/487576.jpg
http://www.biogang.net/upload_img/biodiversity/biodiversity-126222-5.jpg
https://live.staticflickr.com/4193/33799407644_209c6ec75d_b.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต