นกโพระดกเคราเหลือง

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Gold-whiskered.jpg

วงศ์:Megalaimidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Megalaima chrysopogon (Temminck) 1842.
ชื่อสามัญ:Gold-whiskered Barbet
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Gaudy Barbet

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Megalaima chrysopogon ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษา กรีกคือ chrys, -o, =us หรือ khrusos แปลว่าสีทอง และ pogo, -n, -ni, -no แปลว่าเครา ความหมายคือ “นกที่มีเคราสีทองหรือสีเหลือง” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย ทั่วโลกมีนกโพระดกเคราเหลือง 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Megalaima chrysopogon laeta (Robinson and Boden Kloss) ชื่อชนิดย่อยเป็นคำในภาษาละตินคือ laetus (laet) แปลว่าสีสด ความหมายคือ “นกที่มีสีสด” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย

กระจายพันธุ์ : ในไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (29-30 ซม.) บริเวณแก้มมีแถบขนาดใหญ่สีเหลือง หน้าผากสีแดง กระหม่อมสีน้ำตาล ท้ายทอยสีน้ำเงินมีลายจุดสีแดง คอหอยสีเนื้อแกมเทา ม่านตาสีเทาหรือสีน้ำตาล ขากรรไกรบนสีดำขากรรไกรล่างสีเทาหรือดำ นิ้วสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว ลำตัวส่วนอื่นสีเขียว

อุปนิสัยและอาหาร:อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,000 เมตรจาก ระดับน้ำทะเล พบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ มันร้องเป็น เสียง “กูตุก-อูตูก-อูตูก” ติดต่อกัน 3-4 ครั้งต่อวินาที ในช่วงฤดูผสมพันธุ์มักส่งเสียงร้องตลอดทั้งวัน และร้องบ่อยมากในช่วงเช้าและช่วงเย็น อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ ผลไม้ นอกจากนี้ยังกิน แมลง ตัวหนอน และสัตว์ขนาดเล็กบ้างตามโอกาส

การผสมพันธุ์ : นกโพระดกเคราเหลืองผสมพันธุ์ ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทำรังตามโพรงบนต้นไม้ ปกติเป็นไม้ยืน ต้นตายหรือไม้เนื้ออ่อนที่ยังมีชีวิต อาจเป็นโพรงที่เกิดตามธรรมชาติ โพรงที่นกหรือสัตว์อื่นทำไว้ หรือโพรงที่ มันขุดเจาะเอง ชีววิทยาการสืบพันธุ์อื่นไม่แตกต่างจาก นกในสกุลเดียวกัน

สถานภาพ :นกโพระดกเคราเหลืองเป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก พบทางภาค ตะวันตกและภาคใต้

กฎหมาย :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Gold-whiskered1.jpg Gold-whiskered2.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/dsc_0169b2.jpg
http://orientalbirdimages.org/images/data/goldwhiskered_barbet2culu_kinta_reserve_ipoh_perak_malaysia19th_august_2017.jpg
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSwEEF6IATcm0F1k2V1uq85LDToyx83C0Omxkh8qgx0liSFaDMP&s

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต