นกเงือกกรามช้าง,นกกู๋กี๋

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Wreathed.jpg

วงศ์:Bucerotidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Aceros undulatus (Shaw) 1811.
ชื่อสามัญ:Wreathed Hornbill
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:นกกู้ที่

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aceros undulatus บางตำราใช้ว่า Rhyticeros undulatus (Shaw) 1811. ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละติน คือ undulat หรือ unda แปลว่าคลื่น และ tus เป็น คำลงท้าย ความหมายคือ “ปากและโหนกแข็งมีลวด ลายคล้ายรอยคลื่น” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศ อินโดนีเซีย ทั่วโลกมีนกเงือกกรามช้าง 2 ชนิดย่อย คือ Aceros undulatus undulatus (Shaw) ชื่อชนิด ย่อยมีที่มาและความหมายเช่นเดียวกับชื่อชนิด และ Aceros undulatus ticehursti Deignan ชื่อชนิด ย่อยดัดแปลงจากชื่อของบุคคล พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรก ที่จังหวัดน่าน ประเทศไทยพบทั้ง 2 ชนิดย่อย

กระจายพันธุ์ : ในอินเดียด้าน ตะวันออก จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ หมู่เกาะอันดามัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะซุนดาใหญ่

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดใหญ่มาก (100 ซม.) หางสีขาว ถุงใต้คางมีแถบสีดำ ปากสีงาช้าง โคน ปากมีรอยหยักเป็นบัง ๆ ชนิดย่อย ticehursti ตัวผู้บริเวณกระหม่อมสีขาว หงอนขนสีน้ำตาลเข้ม วงรอบ เบ้าตาสีแดง หน้าผาก ใบหน้า และคอมีสีขาว ถุงใต้ คางสีเหลือง โหนกแข็งมีรอยยั้งชัดเจนกว่าของตัว เมีย ตัวเมียมีวงรอบเบ้าตาสีทีมไม่ฉูดฉาด หน้าผาก กระหม่อม หงอนขน ใบหน้า และคอมีสีดำ โหนก แข็งเล็ก ถุงใต้คางสีฟ้า ตัวไม่เต็มวัยเห็นรอยบั้งที่โคน ปากไม่ชัดเจน โหนกแข็งเล็กกว่าตัวเต็มวัย ชนิดย่อย undulatus ทางด้านล่างถุงใต้คางมีสีฟ้า ตัวเมียไม่ แตกต่างจากชนิดย่อย ticehursti

อุปนิสัยและอาหาร :อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบเขา และป่าชายเลน ตั้งแต่ระดับ พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,800 เมตรจากระดับน้ำ ทะเล มักพบอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ในบริเวณที่มีอาหาร อุดมสมบูรณ์อาจพบเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะพบ มันเกาะตามยอดไม้นกเงือกกรามช้างกินผลไม้ โดยเฉพาะไทร หว้า ตาเสือ และยางโอน โดยใช้ปลายปากงับและปลิดผลออกจากขั้ว จากนั้นมันจะโยนผลขึ้นไปในอากาศ แล้วอ้าปากรับและกลืนลงคอทั้งผล บางครั้งมันก็ลงมาพื้นดินเพื่อไล่จิกกินกิ้งก่าและสัตว์ขนาดเล็ก

การผสมพันธุ์ : นกเงือกกรามช้างผสมพันธุ์ใน ช่วงปลายฤดูหนาวต่อฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม มันทำรังตามโพรงต้นไม้ที่เกิดตาม ธรรมชาติหรือที่สัตว์อื่นทำไว้ โพรงอยู่สูงจากพื้นดิน ประมาณ 25-30 เมตร ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกัน เลือกโพรงไม้ มักใช้โพรงเดิมทำรังเป็นประจำทุกปี ยกเว้นโพรงเดิมถูกทำลาย หรือมีสัตว์อื่นแย่งเข้าไปทำรังก่อน รังมีไข่ 2 ฟอง หายากที่มี 3 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 31 วัน ขณะที่ตัวเมียและลูกนกอยู่ในโพรง ตัวผู้จะหา อาหารมาป้อน หลังจากที่ไข่ฟักเป็นตัวแล้ว ลูกนกจะอยู่ ในโพรงอีก 8-12 สัปดาห์ จากนั้นตัวผู้จะเจาะปาก โพรงให้ตัวเมียและลูกนกออกมาจากโพรง ในช่วงนี้ตัวผู้จะยังคงหาอาหารมาป้อนตัวเมียและลูกนก จนกระทั่งลูกนกแข็งแรง บินได้ดี และหาอาหารเองได้ จากนั้นพวกมันจะทิ้งรังไปรวมฝูงกับนกครอบครัวอื่น

ไข่ :ไข่ของนกเงือกกรามช้างมีรูปร่างรี สีขาว ผิว ค่อนข้างหยาบ มีขนาดเฉลี่ย 43.2x60.0 มม.

สถานภาพ :นกเงือกกรามช้างเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลางในบางท้องที่ ชนิดย่อย undulatus พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป ชนิด ย่อย ticehursti พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตก

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=SyQhCcndqPU//https:
>>> นกเงือกกรามช้าง,นกกู๋กี๋ <<<


Wreathed1.jpg Wreathed2.jpg Wreathed3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://sites.google.com/site/tanatorn27042545/_/rsrc/1513908135198/nk-ngeuxk-kramchang/นกเงือกกรามช้าง.jpg
http://hornbill.or.th/wp-content/uploads/2018/01/wreathed-hornbill.jpg
https://hilight.kapook.com/img_cms2/user/rungtip/2019/649218556.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201608/23/54117/images/485731.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต