นกมุ่นรกสีน้ำตาล

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Brown Fulvetta1.jpg

วงศ์:Leiothrichidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Alcippe brunneicauda (Salvadori) 1879.
ชื่อสามัญ:Brown Fulvetta
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Brown Nun Babbler, Brown Quaker Babbler

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alcippe brunneicaudaมี ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ brunne, -i หรือ brunneus แปลว่าสีน้ำตาล และ caud, =a แปลว่าหาง ความหมายคือ “หางสีน้ำตาล” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี 2 ชนิดย่อย ประเทศ ไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Alcippe brunneicauda brunneicauda (Salvadori) ที่มาและความหมาย ของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด

กระจายพันธุ์ : พันธุ์ในไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และ เกาะบอร์เนียว

ลักษณะทั่วไป :เป็นนกขนาดเล็กมาก (15 ซม.) หัวสีเทา คอสีออกขาว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล แตกต่างจากนกมุ่นรกตาขาวตรงที่ลำตัวด้านล่างมีแต้มสีเทา ไม่มีสีเหลือง แตกต่างจากนกมุ่นรกภูเขาตรงที่ไม่มีลายเส้นสีดำทางกระหม่อมด้านข้าง ตาสีเทาหรือสีน้ำตาล

อุปนิสัยและอาหาร :พบตามป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง และป่าดงดิบเขา ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความ สูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล อุปนิสัยไม่แตกต่าง จากนกมุ่นรกอื่น ๆ

การผสมพันธุ์ :ยังไม่มีรายงานชีววิทยาการสืบพันธุ์ของนกมุ่นรกสีน้ำตาล คาดว่าไม่แตกต่างจากนกมุ่นรกชนิดอื่น โดยเฉพาะนกมุ่นรกตาขาว

สถานภาพ:เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและ ปริมาณปานกลาง พบเฉพาะทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัด นครศรีธรรมราชลงไป

กฎหมาย : ยังไม่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง


Brown Fulvetta2.jpg Brown Fulvetta3.jpg Brown Fulvetta4.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201411/30/53593/images/480134.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201411/30/53593/images/480127.jpg
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/fulvettabrown201211sedim_3-640x445.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201411/30/53593/images/480132.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต