นกหัวขวานแดง

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Maroon1.jpg

วงศ์:Picidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Blythipicus rubiginosus (Swainson) 1837.
ชื่อสามัญ:Maroon Woodpecker
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Lesser Bay Woodpecker

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Blythipicus rubiginosus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ rubigin แปลว่าสีน้ำตาลแดง และ -osu, =m, -s แปล ว่าเต็มไปด้วย ความหมายคือ “นกที่มีสีน้ำตาลแดง” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย ทั่วโลกมีนกหัวขวานแดง 2 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Blythipicus rubiginosus rubiginosus (Swainson) ชื่อชนิดย่อยมีที่มาและความหมายเช่นเดียวกับชื่อชนิด

กระจายพันธุ์ :ในพม่า ไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (22-23 ซม.) หัวสีเขียวเข้มแกมเหลือง ปากสีออกเหลือง ลำตัวด้าน บนสีน้ำตาลแดง ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาล ตัวผู้ต่างจาก ตัวเมียตรงที่ตัวผู้มีแต้มสีแดงบริเวณคอด้านข้าง ส่วน ตัวเมียไม่มีแต้มสีแดง

อุปนิสัยและอาหาร:อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั้งความสูง 900 เมตรจาก ระดับน้ำทะเล มักพบอยู่เป็นคู่ มักกระโดดหากินตาม พื้นดินหรือเกาะตามลำต้นของไม้พุ่มเตี้ยหรือไม้ล้ม อาหาร ได้แก่ มด ปลวก ตัวอ่อนและตัวหนอนของ แมลง โดยเฉพาะตัวอ่อนและหนอนของด้วงเจาะเนื้อไม้ พฤติกรรมการกินอาหารและอุปนิสัยอื่นไม่แตกต่าง จากนกหัวขวานทั่วไป โดยเฉพาะนกหัวขวานแดงหลังลาย ซึ่งเป็นนกในสกุลเดียวกัน

การผสมพันธุ์ : นกหัวขวานแดงผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ทำรังตามโพรงต้นไม้ โดยเฉพาะไม้ยืนต้นตาย โพรงอยู่ ไม่สูงจากพื้นดินมากนัก ชีววิทยาการสืบพันธุ์อื่นไม่แตก ต่างจากนกหัวขวานแดงหลังลาย นอกจากไข่มีขนาดเล็กกว่า ทั้งนี้เพราะนกหัวขวานแดงมีขนาดเล็กกว่า

สถานภาพ :นกหัวขวานแดงเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบเฉพาะทางภาคใต้ ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Maroon2.jpg Maroon3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://www.hbw.com/sites/default/files/styles/ibc_2k/public/ibc/p/img_6803-edit.jpg?itok=RrQs52tp
https://2.bp.blogspot.com/-vkStobNWx2g/WdspyBGJsgI/AAAAAAAAJuo/J7YLOqWx6hA6G6a3zXm3WzosBQaJTzweQCLcBGAs/s1600/DSCF0178%2Bsharp.jpg
https://i.pinimg.com/originals/73/e3/61/73e361bef2f286e2c1cfa145c52edfab.jpg
https://live.staticflickr.com/8506/29224253470_c99a94ef7f_b.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต