นกกางเขนดง

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
White-rumped.jpg

วงศ์:Muscicapinae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Copsychus malabaricus (Scopoli) 1788.
ชื่อสามัญ:White-rumped Shama
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:นกบินหลาดง, นกบินหลาควน, นกจึงปีย

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Copsychus malabaricus ชื่อชนิดมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือเมืองและชายฝั่ง Malabar (Kerala) ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็น สถานที่ที่ชาวยุโรปรู้จักประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก ทั่วโลกมี 18 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อย คือ 1. Copsychus malabaricus indicus (Stuart Baker) ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือประเทศอินเดีย ที่รัฐอัสสัม 2. Copsychus malabaricus interpositus (Robinson and Boden Kloss) ชื่อชนิดย่อยมาจาก รากศัพท์ภาษาละตินคือ inter แปลว่าระหว่าง และ posit แปลว่าสถานที่หรือตำแหน่ง ความหมายคือ “ลักษณะอยู่ระหว่างนกสองชนิดย่อย” พบครั้งแรกที่ประเทศเวียดนาม และ 3. Copsychus malabaricus pellogynus (Oberholser) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ pell, -o หรือ pellos แปลว่าสีเข้มหรือสีออกดำ และ gynus แปลว่าแก้ม ความหมายคือ “บริเวณแก้มเป็นสีเข้มหรือสีออกดำ” พบครั้งแรกที่เมืองตะนาวศรี ทาง ตอนใต้ของประเทศพม่า

กระจายพันธุ์ : ในอินเดีย จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ หมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะซุนดาใหญ่

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (ตัวผู้ 28-29 ซม. ตัวเมีย 21-22 ซม.) ตัวผู้บริเวณหัว คอหอย อก และลำตัวด้านบนเป็นสีดำ ตะโพก ขนคลุมโคนขนหาง ด้านบน และขนหางคู่นอก ๆ เป็นสีขาว ลำตัวด้านล่าง ส่วนที่เหลือสีน้ำตาลแดงถึงสีส้ม ตัวเมียลักษณะคล้าย กับตัวผู้แต่สีทึบกว่า บริเวณที่เป็นสีดำในตัวผู้เป็นสีเทาเข้ม ท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีน้ำตาลแดงถึงสีเหลือง ตัวไม่เต็มวัยลักษณะคล้ายตัวเมีย แต่บริเวณ ใบสีเทาเข้มในตัวเมียเป็นสีน้ำตาล ขนคลุมขนปีกและ ช่วงไหล่มีลายเกล็ดสีเหลืองแกมสีน้ำตาลแดง

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ในป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบเขา ป่ารุ่น และป่าไผ่ ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล พบอยู่โดดเดี่ยว เป็นคู่ หรือเป็น ครอบครัว มักเกาะตามกิ่งของต้นไม้ระดับต่ำ ไม้พุ่ม หรือโคนของกอไผ่ บางครั้งลงมายืนบนพื้นดิน เป็น นกที่ร้องได้หลายเสียงเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ที่แตกต่าง กัน เช่น เกี้ยวพาราสี ป้องกันอาณาเขต เรียกลูกนก เป็นต้น เป็นนกที่คนนิยมเลี้ยงเพื่อฟังเสียงร้องกันมาก ชนิดหนึ่ง กินแมลงและตัวหนอนเป็นอาหาร โดยมี อุปนิสัยการหาอาหารไม่แตกต่างจากนกกางเขนบ้าน ตัวเมียเวลาเกาะตามปกติจะยกหางขึ้นคล้ายกับนกกางเขนบ้านตัวผู้ ส่วนตัวผู้มักไม่ยกหางเนื่องจากมีขนหางยาว

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดู ฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ทำรังตาม โพรงไม้ที่เกิดตามธรรมชาติหรือโพรงเก่าของนกและ สัตว์อื่น หรือตามซุ้มกอไผ่ โดยใช้ใบไม้ ใบหญ้า ใบไผ่ และรากฝอยมาวางซ้อนกัน ปกติรังอยู่ไม่สูงจากพื้น ดินนัก ประมาณ 2-3 เมตร รังมีไข่ 3-5 ฟอง โดย พบ 4 ฟองบ่อยที่สุด

ไข่ : ไข่สีเขียวแกมน้ำเงิน มีลายสีน้ำตาลทั่วฟอง ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 17.2x22.0 มม.ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ โดยเริ่มฟักหลังจาก ออกไข่ฟองสุดท้ายของรังแล้ว ใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 15 วัน และช่วยกันเลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาเลี้ยงลูก 20-21 วัน

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมาก ชนิดย่อย indicus พบทางภาคเหนือด้านตะวันตก ชนิดย่อย interpositus พบทางภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันตก

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=Wi2KB6I32lM//https:
>>> นกกางเขนดง <<<


White-rumped1.jpg White-rumped2.jpg White-rumped3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
http://www.thungyaiwest.com/images/Gallery/Bird20170306/IMG_8782-2017.jpg
https://archive-media.komchadluek.net/img/size1/2011/10/29/9jbddk8agfdeigfaaafci.jpg
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2018_01_02_20_35_38.jpg
http://mobile.www.cute-pets-online.myreadyweb.com//storage/23/110984/images/product/content/a10/a10588d175ebab0a5c7fdd65a2d3403e/content_262905_1693642189.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต