ดูโค้ดสำหรับ นกหว้า
←
นกหว้า
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
[[ไฟล์:Great Argus.jpg|right]] '''วงศ์''':Phasianidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Argusianus argus '' (Linnaeus) 1766.<br> '''ชื่อสามัญ''':Great Argus <br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''':Great Argus Pheasant<br><br> มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Argusianus argus '' ชื่อชนิดมีที่มาและความหมายเช่นเดียวกับชื่อสกุล พบ ครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี นกหว้า 2 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Argusianus argus argus (Linnaeus) ชื่อชนิดย่อย มีที่มาและความหมายเช่นเดียวกับชื่อสกุลและชื่อชนิด '''กระจายพันธุ์''' :ในพม่า ไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว '''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดใหญ่จนถึงขนาด ใหญ่มาก ความยาววัดจากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 76-200 ซม. (รวมหางของตัวผู้ซึ่งยาวกว่า 130 ชม.) ตัวผู้ขนกลางปีกมีขนาดใหญ่และยาวกว่า 100 ชม, หางยาวมากโดยเฉพาะขนหางคู่กลาง ลำตัวสีน้ำตาล บริเวณปีกมีลายดอกตวงสีเนื้อ ลำตัวด้านล่างสีออกน้ำตาลแดง ตัวเมียลำตัวด้านบนไม่มีลายตอกดวง ขนกลางปีกสั้นกว่า หางสั้น ทั้งสองเพศหัวและคอ เป็นผิวหนังสีฟ้า ไม่มีขน ท้ายทอยมีพุ่มหงอนขนสั้น ๆ สีดำ '''อุปนิสัยและอาหาร''':อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้นใน ระดับเชิงเขาจนกระทั่งความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยว ตัวผู้และตัวเมียร้องเสียง แตกต่างกัน ร้องทั้งกลางวันและกลางคืน ตัวผู้มีอุปนิสัยป้องกันอาณาเขต โดยเฉพาะบริเวณ “ลานนกหว้า" ซึ่งเป็นลานรูปวงกลม รัศมี 6-8 เมตร มันจะจิกเศษ ไม้ ใบหญ้า ฯลฯ ออกไปเพื่อให้ลานสะอาดตลอดเวลา จากอุปนิสัยดังกล่าวนี้ พรานพื้นเมืองจึงมีวิธีล่านกหว้า โดยใช้ผิวไม้ไผ่บาง ๆ กว้างประมาณ 1/2 นิ้ว และยาว 18-20 นิ้ว ฝานให้อมทั้งสองด้าน นำไปปักให้แน่น ตรงกลางลาน เมื่อนกหว้าเห็นสิ่งแปลกปลอมในลาน มันจะพยายามใช้ปากจิกและดึงออก เมื่อไม่สำเร็จมันจะใช้คอพันแล้วดึง ทำให้ไม้ไผ่บาดคอมันตาย นกหว้าตัวเมียไม่มีลานเหมือนกับตัวผู้ มันจะไป ที่ลานของตัวผู้เพื่อผสมพันธุ์ ก่อนผสมพันธุ์กัน ตัวผู้ จะเกี้ยวพาราสีด้วยการแพนปีกคล้ายกับนกยูงแพนหาง เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะแยกไปทำรังและเลี้ยงดูลูก อ่อนตามลำพัง ส่วนตัวผู้จะอยู่ที่ลานเพื่อผสมพันธุ์กับ ตัวเมียตัวอื่นต่อไป นกหว้าหากินตามพื้นดินในเวลากลางวัน และจะ จับคอนนอนตามกิ่งไม้ในเวลากลางคืน อาหารมีทั้งสัตว์ และพืช เช่น แมลง ตัวหนอน ไส้เดือน ปลวก สัตว์ ขนาดเล็ก เมล็ดพืช ผลไม้สุกที่หล่นจากต้น เป็นต้น ในช่วงกลางวันหลังจากที่อิ่มแล้ว นกหว้าจะลงไปกินน้ำในลำธารหรือแอ่งน้ำเสมอ บางครั้งอาจลงกินโป่งด้วย '''การผสมพันธุ์''' : กล่าวกันว่านกหว้าผสมพันธ์ตลอดทั้งปี ยกเว้นในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกหนักเท่านั้นอย่างไรก็ตามนกหว้าในกรงเลี้ยงมีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูฝน ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม ในธรรมชาติก็ไม่น่าจะแตกต่างจากในกรง เลี้ยงมากนัก นกหว้าทำรังตามพื้นป่าในที่โล่ง หรือตามซุ้มกอ พืชซึ่งมักปิดด้านบนไว้มิดชิด ทำให้มองเห็นได้ยาก ใน รังอาจมีหญ้าหรือใบไม้แห้งรองรัง รังมีไข่เพียง 1 ฟอง แต่บางรังก็มี 2 ฟอง ตัวเมียฟักไข่เพียงตัวเดียว หากออกไข่มากกว่า 1 ฟอง มันจะเริ่มฟักเมื่อออกไข่ฟองสุดท้ายแล้ว ใช้เวลาฟักไข่ 26-28 วัน ลูกนกแรกเกิดลืมตาได้ มีขนอุยปกคลุมทั่วตัว และสามารถเดินตามแม่ไปหาอาหารได้ทันทีที่ขนแห้ง ลูกนกต้องใช้เวลา 2-3 ปีจึงเป็นตัวเต็มวัย ตัวเมียจะโตเต็มวัยเร็วกว่าตัวผู้ นกหว้าในกรงเลี้ยงมีการออกไข่ทดแทนหากนำไข่ออกไปเช่นเดียวกับไก่ป่า ไก่ฟ้า และนกยูง '''ไข่''' :ไข่สีขาวหรือสีครีม อาจมีลาย แต้มสีน้ำตาลเล็กน้อย มีขนาดเฉลี่ย 47x66.0 มม. '''สถานภาพ''' :นกหว้าเป็นนกประจำถิ่น ปัจจุบัน น ในธรรมชาติหายากและปริมาณน้อยมาก พบเฉพาะทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป '''กฎหมาย''' :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง(1990) จัดเป็นสัตว์ที่มีแนวโน้มจะสูญพันธุ์ ---- <center>[[ไฟล์:Great Argus1.jpg]] [[ไฟล์:Great Argus2.jpg]] [[ไฟล์:Great Argus3.jpg]]</center> ---- '''แหล่งที่มาของภาพ''' <br> https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/90/Great_Argus_female_RWD.jpg/220px-Great_Argus_female_RWD.jpg<br> http://www.xn--12c4dtc9cvah.com/images/column_1402564163/%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%B2.jpg<br> https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_882.jpg<br> http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201301/29/49819843c.jpg<br> '''แหล่งที่มาของเนื้อหา''' <br> จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต <br>
กลับไป
นกหว้า
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
สถานที่ศึกษา
นกกก,นกกาฮัง
นกกระจิบคอดำ
นกกระจิบธรรมดา
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
นกกะเต็นลาย
นกกะเต็นหัวดำ
นกกะเต็นอกขาว
นกกางเขนดง
นกกางเขนน้ำหลังแดง
นกกางเขนบ้าน
นกกาฝากก้นเหลือง
นกกาฝากท้องส้ม
นกกินปลีแก้มสีทับทิม
นกกินปลีคอแดง
นกกินปลีคอสีน้ำตาล
นกกินปลีคอสีม่วง
นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงิน
นกกินแมลงคอดำ
นกกินแมลงคอลาย
นกกินแมลงป่าฝน
นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล
นกกินแมลงปีกแดง
นกกินแมลงหัวสีน้ำตาล
นกกินแมลงอกเหลือง
นกขมิ้นน้อยธรรมดา
นกขมิ้นน้อยปีกสีเรียบ
นกขมิ้นน้อยสีเขียว
นกเขนน้อยปีกแถบขาว
นกเขาเขียว
นกเขาเปล้าธรรมดา
นกเขาใหญ่, นกเขาหลวง
นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า
นกเขียวก้านตองเล็ก
นกเขียวก้านตองใหญ่
นกเขียวคราม
นกคัคคูสีม่วง
นกเงือกกรามช้าง,นกกู๋กี๋
นกเงือกปากดำ,กาเขา
นกจอกป่าหัวโต
นกจับแมลงคอแดง
นกจับแมลงจุกดำ
นกจับแมลงตะโพกเหลือง
นกจับแมลงสีคล้ำ
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจับแมลงอกส้มท้องขาว
นกจาบคาคอสีฟ้า
นกจาบดินอกลาย
นกแซงแซวเล็กเหลือบ
นกแซงแซวหางปลา
นกแซวสวรรค์
นกตะขาบดง
นกตะขาบทุ่ง
นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่
นกบั้งรอกเขียวอกแดง
นกบั้งรอกแดง
นกบั้งรอกใหญ่
นกปรอดคอลาย
นกปรอดทอง
นกปรอดท้องสีเทา
นกปรอดเล็กท้องเทา
นกปรอดสวน
นกปรอดสีน้ำตาลตาขาว
นกปรอดสีน้ำตาลตาแดง
นกปรอดหงอนตาขาว
นกปรอดหลังเขียวอกลาย
นกปรอดหลังฟู
นกปรอดเหลืองหัวจุก
นกปรอดโอ่งท้องสีน้ำตาล
นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ
นกปรอดโอ่งไร้หงอน
นกปลีกล้วยเล็ก
นกปลีกล้วยหูเหลืองเล็ก
นกปลีกล้วยหูเหลืองใหญ่
นกพญาปากกว้างเล็ก
นกโพระดกคางแดง
นกโพระดกเคราเหลือง
นกโพระดกหน้าผากดำ
นกมุ่นรกสีน้ำตาล
นกสีชมพูสวน
นกหกเล็กปากแดง,นกสี่สิบ
นกหว้า
นกหัวขวานแคระอกเทา
นกหัวขวานแดง
นกหัวขวานแดงลาย
นกหัวขวานป่าไผ่
นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง
นกกะรางหัวหงอก
นกอีเสือลายเสือ
นกอีเสือสีน้ำตาล
เหยี่ยวรุ้ง
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า