ดูโค้ดสำหรับ นกบั้งรอกใหญ่
←
นกบั้งรอกใหญ่
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
[[ไฟล์:Green-billed1.jpg|right]] '''วงศ์''':Cuculidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Phaenicophaeus tristis'' (Lesson) 1830.<br> '''ชื่อสามัญ''':Green-billed malkoha<br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''':Greater green-billed malkoha , Large green-billed malkoha<br><br> นกบั้งรอกใหญ่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Phaenicophaeus tristis'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ trist, -I แปลว่าเศร้า ความหมายคือ “นกที่มีสีไม่ฉูดฉาด (สีแห่งความเศร้า)” พบครั้งแรกที่รัฐเบงกอลประเทศอินเดีย Howard and Moore (1980) จัดนกบั้งรอกใหญ่ไว้ในสกุล Rhopodytes ขณะที่ Smythies (1986) ถือว่า Rhopodytes เป็นชื่อพ้องของสกุล ทั่วโลกมีนกบั้งรอกใหญ่ 6 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Phaenicophaeus tristis saliens (Mayr) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ salien, -t แปลว่ากระโดด ความหมายคือ “นกที่มักกระโดดไปมา” พบครั้งแรกที่ประเทศลาวและ Phaenicophaeus tristis longicaudatus Blyth ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ long, -i หรือ longus แปลว่ายาว และ caudatus (caud, =a) แปลว่าหาง ความหมายคือ “นกที่มีหางยาว” พบครั้งแรกที่ Maulmain (Moulmein) ประเทศพม่า '''กระจายพันธุ์''' : ในเทือกเขาหิมาลัยจีนตอนใต้ เกาะไหหลำ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเกาะสุมาตรา '''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดกลาง (51-56 ซม.) เฉพาะหางยาวประมาณ 37-38 ซม. ซึ่งจัดว่ายาวมากปีกแต่ละข้างขาวมากกว่า 14 ซม. ปากสีเขียวอ่อนหนังรอบตาสีแดง ลำตัวด้านบนสีเทาแกมเขียวเข้มลำตัวด้านล่างสีเทาอ่อน คอยหอยและอกสีจะจางกว่า ท้องเล็กน้อย ปลายขนหางสีขาว ขนหางด้านล่างมีลายแถบสีขาว 5 แถบ '''อุปนิสัยและอาหาร''' : อาศัยอยู่ตามป่าทั่วไป เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา ป่าดงดิบชื้นและป่าชายเลน ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,685 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนใหญ่พบอยู่เป็นคู่ตลอดทั้งปี นกบั้งรอกใหญ่เป็นนกที่ชอบอยู่นิ่ง ๆ ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ปกติมันเกาะตามกิ่งไม้ที่มีใบแน่นทึบจึงสังเกตเห็นตัวได้ยาก นอกจากเห็นมันบินในระยะใกล้ ๆ แต่ส่วนใหญ่มันจะกระโดดไปตามกิ่งไม้ด้วยลักษณะคล้ายกระรอก บางครั้งลงมายังพุ่มไม้หรือไม้พื้นล่างที่มีใบแน่นทึบ อาหาร ได้แก่ ตัวหนอนและแมลง เช่น ตั๊กแตนกิ่งไม้ ตั๊กแตนใบไม้ จักจั่น เป็นต้น นอกจากนี้ยังกินสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก มันหาอาหารโดยกระโดดตามกิ่งไม้และยอดไม้ เมื่อพบเหยื่อก็ใช้ปากจิกกิน หากเหยื่อมีขนาดใหญ่มันอาจใช้ปากงับเหยื่อจนกระทั่งเหยื่อตาย จากนั้นจึงจิกฉีกเหยื่อกินทีละชิ้น '''การผสมพันธุ์''' : นกบั้งรอกใหญ่ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคมซึ่งมักแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องที่ ทำรังตามยอดไม้หรือยอดไผ่ ซึ่งสูงจากพื้นดินประมาณ 3-7 เมตร รังมีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับขนาดตัว รังเป็นรูปถ้วยคล้ายกับรังพวกนกเขา ประกอบด้วยกิ่งไม้ กิ่งไผ่และเถาวัลย์ มีการสานกันเล็กน้อย แล้วนำใบไม้สดมาวางในแอ่งกลางรังเพื่อรองรับไข่ '''ไข่''' : มีรูปร่างค่อนข้างยาวสีขาว มีผงคล้ายผลชอล์กคลุมบางส่วน มีขนาดเฉลี่ย 25.8x33.8 มม. รังมีไข่ 2-4 ฟอง ส่วนใหญ่มี 3 ฟอง ทั้งสองเพศช่วยกันสร้างรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ลูกนกแรกเกิดยังไม่ลืมตาและไม่มีขนปกคลุมลำตัว พ่อแม่ต้องกกและเลี้ยงดูจนลูกนกแข็งแรงและบินได้ดีแล้ว พวกมันจึงจะทิ้งรัง '''สถานภาพ''' : นกบั้งรอกใหญ่เป็นนกประจำถิ่นพบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย saliens พบทางภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนชนิดย่อย longicaudatus พบทั่วประเทศ แต่ไม่พบสองชนิดย่อยในบริเวณเดียวกัน '''กฎหมาย''' : จัดนกบั้งรอกใหญ่ทุกชนิดย่อยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ---- <center>[[ไฟล์:Green-billed2.jpg]] [[ไฟล์:Green-billed3.jpg]] [[ไฟล์:Green-billed4.jpg]]</center> ---- '''แหล่งที่มาของภาพ''' <br> http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2016_05_09_19_17_37.jpg<br> http://4.bp.blogspot.com/-F603MpjFokg/Uk_byEUOTaI/AAAAAAAAAfQ/T3SzQGLzu18/s1600/IMG_3074.JPG<br> https://www.bloggang.com/data/m/mcayenne94/picture/1398349186.jpg<br> https://simg.kapook.com/o/photo/503/kapook_world-500698.jpg<br> '''แหล่งที่มาของเนื้อหา''' <br> จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต <br>
กลับไป
นกบั้งรอกใหญ่
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
สถานที่ศึกษา
นกกก,นกกาฮัง
นกกระจิบคอดำ
นกกระจิบธรรมดา
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
นกกะเต็นลาย
นกกะเต็นหัวดำ
นกกะเต็นอกขาว
นกกางเขนดง
นกกางเขนน้ำหลังแดง
นกกางเขนบ้าน
นกกาฝากก้นเหลือง
นกกาฝากท้องส้ม
นกกินปลีแก้มสีทับทิม
นกกินปลีคอแดง
นกกินปลีคอสีน้ำตาล
นกกินปลีคอสีม่วง
นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงิน
นกกินแมลงคอดำ
นกกินแมลงคอลาย
นกกินแมลงป่าฝน
นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล
นกกินแมลงปีกแดง
นกกินแมลงหัวสีน้ำตาล
นกกินแมลงอกเหลือง
นกขมิ้นน้อยธรรมดา
นกขมิ้นน้อยปีกสีเรียบ
นกขมิ้นน้อยสีเขียว
นกเขนน้อยปีกแถบขาว
นกเขาเขียว
นกเขาเปล้าธรรมดา
นกเขาใหญ่, นกเขาหลวง
นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า
นกเขียวก้านตองเล็ก
นกเขียวก้านตองใหญ่
นกเขียวคราม
นกคัคคูสีม่วง
นกเงือกกรามช้าง,นกกู๋กี๋
นกเงือกปากดำ,กาเขา
นกจอกป่าหัวโต
นกจับแมลงคอแดง
นกจับแมลงจุกดำ
นกจับแมลงตะโพกเหลือง
นกจับแมลงสีคล้ำ
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจับแมลงอกส้มท้องขาว
นกจาบคาคอสีฟ้า
นกจาบดินอกลาย
นกแซงแซวเล็กเหลือบ
นกแซงแซวหางปลา
นกแซวสวรรค์
นกตะขาบดง
นกตะขาบทุ่ง
นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่
นกบั้งรอกเขียวอกแดง
นกบั้งรอกแดง
นกบั้งรอกใหญ่
นกปรอดคอลาย
นกปรอดทอง
นกปรอดท้องสีเทา
นกปรอดเล็กท้องเทา
นกปรอดสวน
นกปรอดสีน้ำตาลตาขาว
นกปรอดสีน้ำตาลตาแดง
นกปรอดหงอนตาขาว
นกปรอดหลังเขียวอกลาย
นกปรอดหลังฟู
นกปรอดเหลืองหัวจุก
นกปรอดโอ่งท้องสีน้ำตาล
นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ
นกปรอดโอ่งไร้หงอน
นกปลีกล้วยเล็ก
นกปลีกล้วยหูเหลืองเล็ก
นกปลีกล้วยหูเหลืองใหญ่
นกพญาปากกว้างเล็ก
นกโพระดกคางแดง
นกโพระดกเคราเหลือง
นกโพระดกหน้าผากดำ
นกมุ่นรกสีน้ำตาล
นกสีชมพูสวน
นกหกเล็กปากแดง,นกสี่สิบ
นกหว้า
นกหัวขวานแคระอกเทา
นกหัวขวานแดง
นกหัวขวานแดงลาย
นกหัวขวานป่าไผ่
นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง
นกกะรางหัวหงอก
นกอีเสือลายเสือ
นกอีเสือสีน้ำตาล
เหยี่ยวรุ้ง
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า