ดูโค้ดสำหรับ นกตะขาบดง
←
นกตะขาบดง
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
[[ไฟล์:Dollarbird1.jpg|right]] '''วงศ์''':Family Coraciidae<br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Eurystomus orientalis '' (Linnaeus),1766.<br> '''ชื่อสามัญ''':Dollarbird<br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''':Broad-billed Roller, Red-billed Roller<br><br> มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Eurystomus orientalis '' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ orient, -al หรือ orientis หรือ oriens แปลว่าฉาย แสงหรือทิศตะวันออก ความหมายคือ “นกที่พบในซีกโลกตะวันออก” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมีนกตะขาบดง 12 ชนิดย่อย ประเทศ ไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Eurystomus orientalis deignani Ripley ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อของ บุคคล คือ H.G, Deignan นักปักษีวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งเข้ามาศึกษานกในประเทศไทยและเขียนตําราเกี่ยวกับนกในประเทศไทยไว้หลายเล่ม พบชนิดย่อยนี้ครั้ง แรกที่จังหวัดน่าน ทางภาคเหนือของประเทศไทย และ Eurystomus orientalis cyanicollis Vieillot ชื่อชนิดย่อยมาจาก cyan, -e, -i, -o หรือ kuanos เป็น รากศัพท์ภาษากรีก แปลว่าสีน้ำเงินเข้ม (รากศัพท์ ภาษาละตินคือ cyanous ก็มีความหมายเหมือนกัน) และ coll, -i หรือ collis เป็นรากศัพท์ภาษาละติน แปลว่าคอ ความหมายคือ “นกที่มีคอสีน้ำเงินเข้ม” พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรกที่รัฐเบงกอล ประเทศอินเดีย '''กระจายพันธุ์''' :ตั้งแต่เนปาล อินเดียตะวันออกจีน ญี่ปุ่น เกาะไหหลำ ไต้หวัน เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะซุนดา ฟิลิปปินส์ จนถึงออสเตรเลีย '''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดเล็ก (29-30 ซม.) ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีสันเหมือนกัน ปากกว้าง ปากและขาเป็นสีแดงแกมสีส้ม ลำตัวเป็นสีน้ำตาล แกมเขียวเข้มผสมกับสีม่วงแกมดำ บริเวณหัวมีสีเข้ม กว่าบริเวณอื่น ขณะบินจะเห็นบริเวณโคนขนปลาย ปีกมีวงสีน้ำเงินจาง ๆ บางตัวออกเป็นสีเงิน ลักษณะ คล้ายเงินเหรียญ จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญว่า Dolarbird ตัวไม่เต็มวัยปากเป็นสีดำ '''อุปนิสัยและอาหาร''' : อาศัยอยู่ในป่าและตามชายป่า ทั้งป่าผลัดใบ เช่น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าไม่ ผลัดใบ เช่น ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา ป่าดงดิบชื้น และป่าชายเลน ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ บางครั้งพบเป็นฝูงเล็ก ๆ นกตะขาบดงมักเกาะนิ่งเป็นเวลานานตามยอดไม้โดยเฉพาะต้นไม้ที่ยืนต้นตาย มันมีกิจกรรมส่วนใหญ่ในช่วงเช้าและบ่าย บินได้ดี และบินได้สูงพอสมควร บางครั้งใช้วิธีกระพือปีกสลับร่อนกลางอากาศช่วงสั้น ๆ อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ แมลง เช่น ด้วง ตั๊กแตน จักจั่น จิ้งหรีด ปลวกที่บินได้ เป็นต้น และสัตว์เลื้อยคลาน เช่น กิ้งก่า มันหาอาหารโดยเกาะตามกิ่งไม้แห้ง คอยจ้องหาเหยื่อ เมื่อพบแมลงบินผ่านมาก็บินออกไปโฉบจับด้วยปาก แล้วกลับมาเกาะที่เดิมหรือบริเวณใกล้เคียง บางครั้งมันก็โฉบจับเหยื่อตามพื้นดินหรือกิ่งไม้เช่นเดียวกับนกตะขาบทุ่ง แล้วอาจกลืนกินเหยื่อบนพื้นดิน หรือคาบไปกินบนกิ่งไม้ '''การผสมพันธุ์''' :นกตะขาบดงผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทำรังตามโพรงต้นไม้ที่เกิดตามธรรมชาติ โพรงที่สัตว์ทำทิ้งไว้ หรือโพรงเก่าของนกอื่น เช่น นกหัวขวาน นกโพระดก เป็นต้น มันมักใช้โพรงเดิมทำรังเป็นประจำทุกปี หากโพรงดังกล่าวไม่ถูกทำลาย หรือไม่สามารถไล่สัตว์อื่นที่มาแย่งใช้ก่อนได้ ปกติไม่มีวัสดุรองรัง ตังผู้เกี้ยวพาราสีตัวเมียด้วยวิธีที่คล้ายคลึงกับนกตะขาบทุ่ง รังมีไข่ 3-4 ฟอง ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ ใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 17-18 วัน ลูกนกแรกเกิดยังไม่ลืมตาและไม่มีขนปกคลุมลำตัวพ่อแม่ต้องช่วยกันกกและหาอาหารมาป้อน ประมาณ 3-4 สัปดาห์ลูกนกก็แข็งแรงและบินได้ จากนั้นพวกมันจะทิ้งรังไปหากินตามลำพัง '''ไข่''' :ไข่ของนกตะขาบดงมีรูปร่างค่อนข้างกลม สีขาว มีขนาดเฉลี่ย 28.1x36.0 มม. '''สถานภาพ''' : นกตะขาบดงเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย deignani พบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชนิด ย่อย cyanicollis พบทางภาคตะวันตก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ '''กฎหมาย''' : จัดนกตะขาบดงทุกชนิดย่อยเป็นสัตว์ ป่าคุ้มครอง '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' [[File:youtube01.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=ute40HAM_WQ//https:|link=//https://https://www.youtube.com/watch?v=ute40HAM_WQ]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=ute40HAM_WQ นกตะขาบดง] <<< <br><br> ---- <center>[[ไฟล์:Dollarbird2.jpg]] [[ไฟล์:Dollarbird3.jpg]] [[ไฟล์:Dollarbird4.jpg]]</center> ---- '''แหล่งที่มาของภาพ''' <br> http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201511/14/53900/images/483351.jpg<br> https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_1240.jpg<br> https://live.staticflickr.com/7681/17232167752_aba98e52ab_b.jpg<br> https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/dollarbird1cipoh_perak_malaysia27th_august_2018.jpg<br> '''แหล่งที่มาของเนื้อหา''' <br> จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต <br>
กลับไป
นกตะขาบดง
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
สถานที่ศึกษา
นกกก,นกกาฮัง
นกกระจิบคอดำ
นกกระจิบธรรมดา
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
นกกะเต็นลาย
นกกะเต็นหัวดำ
นกกะเต็นอกขาว
นกกางเขนดง
นกกางเขนน้ำหลังแดง
นกกางเขนบ้าน
นกกาฝากก้นเหลือง
นกกาฝากท้องส้ม
นกกินปลีแก้มสีทับทิม
นกกินปลีคอแดง
นกกินปลีคอสีน้ำตาล
นกกินปลีคอสีม่วง
นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงิน
นกกินแมลงคอดำ
นกกินแมลงคอลาย
นกกินแมลงป่าฝน
นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล
นกกินแมลงปีกแดง
นกกินแมลงหัวสีน้ำตาล
นกกินแมลงอกเหลือง
นกขมิ้นน้อยธรรมดา
นกขมิ้นน้อยปีกสีเรียบ
นกขมิ้นน้อยสีเขียว
นกเขนน้อยปีกแถบขาว
นกเขาเขียว
นกเขาเปล้าธรรมดา
นกเขาใหญ่, นกเขาหลวง
นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า
นกเขียวก้านตองเล็ก
นกเขียวก้านตองใหญ่
นกเขียวคราม
นกคัคคูสีม่วง
นกเงือกกรามช้าง,นกกู๋กี๋
นกเงือกปากดำ,กาเขา
นกจอกป่าหัวโต
นกจับแมลงคอแดง
นกจับแมลงจุกดำ
นกจับแมลงตะโพกเหลือง
นกจับแมลงสีคล้ำ
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจับแมลงอกส้มท้องขาว
นกจาบคาคอสีฟ้า
นกจาบดินอกลาย
นกแซงแซวเล็กเหลือบ
นกแซงแซวหางปลา
นกแซวสวรรค์
นกตะขาบดง
นกตะขาบทุ่ง
นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่
นกบั้งรอกเขียวอกแดง
นกบั้งรอกแดง
นกบั้งรอกใหญ่
นกปรอดคอลาย
นกปรอดทอง
นกปรอดท้องสีเทา
นกปรอดเล็กท้องเทา
นกปรอดสวน
นกปรอดสีน้ำตาลตาขาว
นกปรอดสีน้ำตาลตาแดง
นกปรอดหงอนตาขาว
นกปรอดหลังเขียวอกลาย
นกปรอดหลังฟู
นกปรอดเหลืองหัวจุก
นกปรอดโอ่งท้องสีน้ำตาล
นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ
นกปรอดโอ่งไร้หงอน
นกปลีกล้วยเล็ก
นกปลีกล้วยหูเหลืองเล็ก
นกปลีกล้วยหูเหลืองใหญ่
นกพญาปากกว้างเล็ก
นกโพระดกคางแดง
นกโพระดกเคราเหลือง
นกโพระดกหน้าผากดำ
นกมุ่นรกสีน้ำตาล
นกสีชมพูสวน
นกหกเล็กปากแดง,นกสี่สิบ
นกหว้า
นกหัวขวานแคระอกเทา
นกหัวขวานแดง
นกหัวขวานแดงลาย
นกหัวขวานป่าไผ่
นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง
นกกะรางหัวหงอก
นกอีเสือลายเสือ
นกอีเสือสีน้ำตาล
เหยี่ยวรุ้ง
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า