ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกะเต็นหัวดำ"
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Halcyonidae<br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Halcyon pileata'' (Bodda...") |
|||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 18: | แถว 18: | ||
'''กฎหมาย''' : จัดนกกระเต็นหัวดำเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | '''กฎหมาย''' : จัดนกกระเต็นหัวดำเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม'''<br> | ||
+ | [[File:youtube01.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=QtoYu7RPoWI//https:|link=//https://www.youtube.com/watch?v=QtoYu7RPoWI]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=QtoYu7RPoWI นกกะเต็นหัวดำ] <<< <br><br> | ||
+ | |||
---- | ---- |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 21:44, 7 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์:Halcyonidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Halcyon pileata (Boddaert) 1783.
ชื่อสามัญ:Black-capped kingfisher
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:-
นกกระเต็นหัวดำมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Halcyon pileata ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ pile, -I, -o, =us แปลว่ากระหม่อมหรือหมวก และ –ta เป็นคำลงท้าย ความหมายคือ “นกที่กระหม่อมมีสีเด่นชัด” พบครั้งแรกที่ประเทศจีน
กระจายพันธุ์ : ในอินเดีย จีน เกาะไหหลำ ไต้หวัน เกาหลี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา เกาะสุลาเวชี และฟิลิปปินส์
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (30 ซม.) ปากสีแดง หัวสีดำ ลำตัวด้านบนสีน้ำเงินเข้ม รอบคอสีขาว คอหอยและอกสีขาว ท้องสีน้ำตาลอมเหลืองขณะบินมองเผิน ๆ คล้ายกับนกกระเต็นอกขาว แต่ขนคลุมขนปีกด้านบนทั้งหมดเป็นสีดำ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะและสีสันเหมือนกัน
อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่บริเวณใกล้กับลำธารในป่า ป่าชายเลน ชายฝั่งทะเล ชายแม่น้ำ และบริเวณทุ่งนา ส่วนใหญ่พบอยู่โดดเดี่ยว มีกิจกรรมในเวลากลางวัน มีอุปนิสัยคล้ายคลึงกับนกกระเต็นอกขาว แต่มักหากินตามแหล่งน้ำมากกว่าบนบก และไม่ค่อยส่งเสียงร้องบ่อยอย่างนกกระเต็นอกขาว อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ ปลา ปู และกบ บางครั้งกินแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กิ้งก่า แย้ เป็นต้น มันมีพฤติกรรมการหาอาหารเช่นเดียวกับนกกระเต็นอกขาว
การผสมพันธุ์ : ในประเทศไทยยังไม่เคยมีรายงานการทำรังวางไข่ของนกกระเต็นหัวดำ ซึ่งส่วนใหญ่ทำรังวางไข่ทางตอนเหนือของเอเชีย เช่น จีน พม่าตอนเหนือ รัฐอัสสัมในประเทศอินเดีย เป็นต้น อย่างไรก็ตามอาจมีนกกระเต็นหัวดำบางส่วนทำรังวางไข่ในประเทศไทย เพาะบางท้องที่สามารถพบนกกระเต็นหัวดำได้เกือบตลอดทั้งปี เช่น บริเวณลำห้วยขาแข้งจังหวัดอุทัยธานี เป็นต้น ลักษณะของรัง ไข่ และชีววิทยาการสืบพันธุ์ไม่น่าจะแตกต่างจากนกกระเต็นอกขาว แต่ไข่ของนกกระเต็นหัวดำอาจมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย ทั้งนี้เพาะนกกระเต็นหัวดำมีขนาดใหญ่กว่านกกระเต็นอกขาว
สถานภาพ : นกกระเต็นหัวดำเป็นนกอพยพผ่านและนกอพยพมายังประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์บางส่วนอาจเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลางทั่วทุกภาค
กฎหมาย : จัดนกกระเต็นหัวดำเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
แหล่งที่มาของภาพ
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/album_data/948/38948/album/43818/images/403567.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/album_data/948/38948/album/43818/images/403568.jpg
https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_286.jpg
https://i.ytimg.com/vi/QtoYu7RPoWI/maxresdefault.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต