ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกเขนน้อยปีกแถบขาว"

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(ล็อก "นกเขนน้อยปีกแถบขาว" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉ...)
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
แถว 23: แถว 23:
 
 
 
'''กฎหมาย''' : ยังไม่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง
 
'''กฎหมาย''' : ยังไม่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง
 +
 +
'''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม'''<br>
 +
[[File:youtube01.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=-ab45UX78T8//https:|link=//https://www.youtube.com/watch?v=-ab45UX78T8]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=-ab45UX78T8 นกเขนน้อยปีกแถบขาว] <<< <br><br>
 
----
 
----
 
<center>[[ไฟล์:Barr-winged1.jpg]] [[ไฟล์:Barr-winged2.jpg]] [[ไฟล์:Barr-winged3.jpg]]</center>
 
<center>[[ไฟล์:Barr-winged1.jpg]] [[ไฟล์:Barr-winged2.jpg]] [[ไฟล์:Barr-winged3.jpg]]</center>

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 22:22, 7 กุมภาพันธ์ 2563

Barr-winged.jpg

วงศ์:Vangidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Hemipus picatus (Sykes) 1832.
ชื่อสามัญ:Barr-winged Flycatcherr-shrike
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:-

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemipus picatus ชื่อ ชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ pic, =a แปลว่า นกกาน้อย และ -tus เป็นคำลงท้าย ความหมายคือ “นกที่มีสีขาวและสีดำคล้ายกับนกกาน้อย” พบครั้งแรกที่เมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดีย ทั่วโลกมี 4 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อย คือ 1. Hemipus picatus picatus (Sykes) ที่มา และความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชื่อชนิด 2. Hemipus picatus capitalis (McClelland) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ capit, -i, -o หรือ caput แปลว่าหัว และ -alis เป็น คำลงท้าย แปลว่าเกี่ยวกับ ความหมายคือ “ลักษณะเด่นอยู่ที่หัว” พบครั้งแรกที่รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย 3. Hemipus picatus intermedius Salvadori ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ inter แปลว่าระหว่าง และ medi, -a, -o แปลว่ากลาง ความหมายคือ “นกที่มีขนาดกลางหรือมีลักษณะระหว่างนก 2 ชนิดย่อย” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย

กระจายพันธุ์ : ในอินเดีย จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะสุมาตรา และเกาะชวา

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็กมาก (15 ซม.) ตัวผู้สีเป็นสีดำและขาวแกมเทา ตะโพกสีขาว ปลาย หางและปีกมีลายแถบสีขาว หลังสีน้ำตาลหรือดำ ตัวเมียลักษณะคล้ายตัวผู้แต่บริเวณที่เป็นสีดำเป็นสีน้ำตาล ตัวไม่เต็มวัยลักษณะคล้ายตัวเมีย แต่ลำตัวด้านบนมี ลายเกล็ดสีเหลือง อกมีลายแต้มสีน้ำตาล

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง ป่า เบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบเขา ป่าไผ่ และป่ารุ่น ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ และอาจพบรวมอยู่กับนกกินแมลงขนาดเล็กหลาย ชนิด อาหาร ได้แก่ แมลง โดยการจิกกินตามกิ่งไม้ ใบไม้ และยอดไม้ อาจโฉบจับแมลงกลางอากาศบ้าง แต่ ในระยะที่ไม่ไกลจากที่เกาะนัก

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม รังเป็นรูป ถ้วยเล็ก ๆ ประกอบด้วยรากไม้ กิ่งไม้เล็ก ๆ มอส ใย แมงมุม และรองพื้นด้วยหญ้าแห้ง โดยวางรังบนปลาย กิ่งหรือเกือบปลายกิ่งไม้ที่ขนานกับพื้นดิน รังอยู่สูง จากพื้นดินประมาณ 3-21 เมตร รังมีไข่ 2-3 ฟอง

ไข่ : ไข่สีขาวแกมสีเทาอ่อน มีลายสีดำและเทาทั่วฟอง ขนาด ของไข่โดยเฉลี่ย 12.5x15.0 มม. ทั้งสองเพศช่วย กันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ซึ่งเมื่อออกจากไข่ มาใหม่ ๆ ยังไม่มีขนคลุมร่างกายและยังช่วยเหลือตนเอง ไม่ได้ ยังไม่ทราบรายละเอียดอื่น

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมาก ชนิดย่อย capitalis พบทางภาคเหนือ ชนิด ขอย picatus พบทั่วทุกภาคยกเว้นพื้นที่ที่พบอีก 2 ชนิดย่อย intermedius พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย : ยังไม่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=-ab45UX78T8//https:
>>> นกเขนน้อยปีกแถบขาว <<<


Barr-winged1.jpg Barr-winged2.jpg Barr-winged3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://live.staticflickr.com/3484/3969289492_9cd44bf8b4_z.jpg
https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/flycatcher%20shrike%20bar%20winged%2020180805%20sri%20pang%20nga.jpg
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2018_04_15_10_25_08.jpg
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/bar_winged_flycatcher_shrike.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต