ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกอีเสือสีน้ำตาล"
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Laniidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Lanius cristatus'' (Linna...") |
|||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 22: | แถว 22: | ||
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | '''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' | ||
+ | [[File:youtube01.png|left|https://https://www.youtube.com/watch?v=TMCeNw51G8o//https://www.youtube.com/watch?v=TMCeNw51G8o]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=TMCeNw51G8o นกอีเสือสีน้ำตาล] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Brown shrike2.jpg]] [[ไฟล์:Brown shrike3.jpg]] [[ไฟล์:Brown shrike4.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:Brown shrike2.jpg]] [[ไฟล์:Brown shrike3.jpg]] [[ไฟล์:Brown shrike4.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 16:25, 10 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์:Laniidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Lanius cristatus (Linnaeus),1758.
ชื่อสามัญ:Brown shrike
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:-
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lanius cristatus ชื่อชนิดเป็นคำในภาษาละตินคือ Cristatus แปลว่าหงอน (รากศัพท์ภาษาละตินคือ crist,=a แปลว่าหงอน และ –tus เป็นคำลงท้าย) ความหมายคือ “นกที่หัวมีลักษณะเด่น” พบครั้งแรกที่รัฐเบงกอล ประเทศอินเดีย ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมี 4 ชนิดย่อยคือ
- Lanius cristatus cristatus Linnaeus ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชื่อชนิด
- Lanius cristatus confuses Stegmann ชื่อชนิดย่อยอาจมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า confuse แปลว่า ยุ่งยาก สับสน ซึ่งอาจหมายถึงการจัดจำแนกพบครั้งแรกที่ประเทศรัสเซีย
- Lanius cristatus superciliosus Latham ชื่อชนิดย่อยเป็นคำในภาษาละตินคือ superciliosus แปลว่าคิ้ว (super แปลว่าเหนือ cili,-a,-o,=um แปลว่าขน และ –osus แปลว่าเต็มไปด้วย) ความหมายคือ “คิ้วมีลักษณะเด่น” พบครั้งแรกที่กรุงจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซีย
- Lanius cristatus lucionensis Linnaeus ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือ เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์
กระจายพันธุ์ : ในเอเชียตะวันออก อินเดีย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ ไต้หวัน หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะซุนดา ฟิลิปปินส์ และนิวกินี
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกที่มีขนาดเล็ก (20 ซม.) ตัวเต็มวัยด้านบนลำตัวสีน้ำตาลแกมเทาจนถึงน้ำตาลถึงน้ำตาลแดง โดยชนิดย่อย cristatus กระหม่อม ลำตัวด้านบน ตะโพก และขนคลุมโคนหางด้านบนเป็นสีน้ำตาลแกมแดง (Ali and Ripley,1972) ชนิดย่อย superciliosus ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลถึงน้ำตาลแดงมากกว่า โดบลนิเวณกระหม่อมมีสีเข้มที่สุด ตะโพกสีน้ำตาลเหลืองถึงน้ำตาลแดง ชนิดย่อย lucionensis กระหม่อม ช่วงไหล่ และโคนปีกเป็นสีเทาจาง คิ้วไม่เด่นชัด และชนิดย่อย confusus กระหม่อมสีน้ำตาล
อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามทุ่งโล่ง ทั้งบริเวณที่ใกล้แหล่งน้ำและบริเวณที่ค่อนข้างแห้งแล้งป่าละเมาะ และสวนผลไม้ ส่วนใหญ่ในระดับต่ำ แต่อาจพบได้ถึงในระดับความสูง 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยเฉพาะช่วงอพยพ อุปนิสัยโดยทั่วไปไม่แตกต่างจากนกอีเสือหัวดำ แต่มักมีกิจกรรมในช่วงเช้าตรู่และเย็นค่ำมากกว่า
การผสมพันธุ์ :ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ในประเทศไทย
สถานภาพ : เป็นนกอพยพมาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อยและปริมาณมาก ชนิดย่อย cristatus พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ชนิดย่อย confusus พบภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียวเหนือ ตอนใต้ของภาคกลาง และภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป ชนิดย่อย superciliosus พบทางภาคใต้ตอนใต้สุด ชนิดย่อย lucionelucionensis พบทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือบางส่วน
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> นกอีเสือสีน้ำตาล <<<แหล่งที่มาของภาพ
https://1.bp.blogspot.com/-1TPEJlQ4OlQ/Tm7Z9s6iPwI/AAAAAAAAGo8/LmLb-KVpnBk/s1600/%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B3%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A5.jpg
https://i.ytimg.com/vi/AitRqgQAKyQ/maxresdefault.jpg
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/brwn_shrk1ob.jpg
https://live.staticflickr.com/3279/2910407566_3b166e8e6f.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต