ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกอีเสือลายเสือ"
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Laniidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Lanius tigrinus''<br> '''...") |
|||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 18: | แถว 18: | ||
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | '''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' | ||
+ | [[File:youtube01.png|left|https://https://www.youtube.com/watch?v=xy7Wlv3gFgI//https://www.youtube.com/watch?v=xy7Wlv3gFgI]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=xy7Wlv3gFgI นกอีเสือลายเสือ] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Tiger shrike2.jpg]] [[ไฟล์:Tiger shrike3.jpg]] [[ไฟล์:Tiger shrike4.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:Tiger shrike2.jpg]] [[ไฟล์:Tiger shrike3.jpg]] [[ไฟล์:Tiger shrike4.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 16:24, 10 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์:Laniidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Lanius tigrinus
ชื่อสามัญ:Tiger shrike
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Thick-billed shrike
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lanius tigrinus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ tigri,-n หรือ tigris แปลว่าเสือโคร่ง และ –inus เป็นคำลงท้าย แปลว่าเหมือน ความหมายคือ “นกที่มีลายคล้ายลายเสือโคร่ง” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ไม่มีการแบ่งเป็นชนิดย่อย
กระจายพันธุ์ : ในเอเชียตะวันออก จีนตอนใต้และตะวันออก พม่า ไทย ลาว ไต้หวัน มาเลเซีย หมู่เกาะ ซุนดาใหญ่ และฟิลิปปินส์
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (19 ซม.) หัวค่อนข้างโต ดวงตาใหญ่ ตัวเต็มวัยแตกต่างจากนกอีเสือหลังแดงตรงที่ลำตัวด้านบนและลำตัวด้านข้างมีลายพาดสีดำ ปีกและหางสีน้ำตาลแดง ไม่มีลายแถบสีขาวที่ปีก และไม่มีสีขาวใด ๆ ที่ด้านข้างของหาง ตัวเมียลำตัวด้านข้างมีลายคล้ายเกล็ดสีดำถี่มาก หัวตาและคิ้วสีขาว ตัวไม่เต็มวัยแตกต่างจากตัวไม่เต็มวัยของนกอีเสือสีน้ำตาลและนกอีเสือหลังแดงตรงที่ลำตัวด้านบนและลำตัวด้านล่างมีลายคล้ายเกล็ด อาจมีคิ้วสีเหลืองหรือขาวหรือไม่มีเลย บางครั้งวงรอบเบ้าตามีสีขาว หรือมีสีขาวเป็นพื้นที่เล็ก ๆ หลังตา
อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ป่าดงดิบ ชายป่า ป่ารุ่น ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูงอย่างน้อย 300 เมตรจากระดับน้ำทะเล และอาจพบได้ในป่าชายเลนและสวนผลไม้ มักพบเกาะตามกิ่งไม้หรือตอไม้เพื่อจ้องและโฉบจับแมลงซึ่งเป็นอาหารส่วนใหญ่ อุปนิสัยอื่น ๆ ไม่แตกต่างจากนกอีเสือหัวดำและนกอีเสือสีน้ำตาล
การผสมพันธุ์ : ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ในประเทศไทย
สถานภาพ : เป็นนกอพยพผ่านประเทศไทยไปยังประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย จะพบเฉพาะในช่วงต้นและปลายฤดูอพยพ พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคใต้
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> นกอีเสือลายเสือ <<<แหล่งที่มาของภาพ
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/tiger_shrikejuvenile.jpg
https://c1.staticflickr.com/9/8296/8018141900_7e44e9eaa8_b.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/3/3c/Lanius_cristatus_-_Phra_Non.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/9f/Lanius_tigrinus_Malaysia.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต