ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกะเต็นลาย"
ล (ล็อก "นกกะเต็นลาย" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ด...) |
|||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 21: | แถว 21: | ||
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | '''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม'''<br> | ||
+ | [[File:youtube01.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=YzosW3mhLBQ//https:|link=//https://www.youtube.com/watch?v=YzosW3mhLBQ]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=YzosW3mhLBQ นกกะเต็นลาย] <<< <br><br> | ||
+ | |||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Banded1.jpg]] [[ไฟล์:Banded2.jpg]] [[ไฟล์:Banded3.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:Banded1.jpg]] [[ไฟล์:Banded2.jpg]] [[ไฟล์:Banded3.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 21:40, 7 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์:Halcyonidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Lacedo pulchella (Horsfield) 1821.
ชื่อสามัญ:Banded Kingfisher
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:-
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lacedo pulchella ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ pulch -ell, =er, r แปลว่าสวยงาม ชื่อชนิดจึงมีความหมายว่า “นกที่มีสีสันสวยงาม” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมีนกกระเต็นลาย 4 ชนิด ย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อยคือ 1. Lacedo pulchella pulchella (Horsfield) ชื่อชนิดย่อยมีที่มาและความหมายเช่นเดียว กับชื่อชนิด 2. Lacedo pulchella amabilis (Hume) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ amabil, 1 แปลว่าน่ารัก ความหมายคือ “นกที่มีสีสันสวยงามน่ารัก” พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรกที่ประเทศพม่า 3. Lacedo pulchella deignani Meyer de Schauensee ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อของบุคคล พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรกที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย ตอนใต้ของประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และ หมู่เกาะซุนดาใหญ่
ลักษณะทั่วไป :เป็นนกขนาดเล็ก (22-23 ซม.) มีปากสีแดง ตัวผู้และตัวเมียสีสันแตกต่างกันเล็กน้อย ตัวผู้บริเวณหน้าผากสีน้ำตาลแดง กระหม่อมและท้าย ทอยเป็นสีน้ำเงินสด มีลายเล็ก ๆ สีขาว ลำตัวด้านบนสี ดำมีลายแถบสีน้ำเงิน ในแถบมีสีขาวแซม ลำตัวด้าน ล่างสีออกขาว บริเวณอกและสีข้างสีน้ำตาลเหลืองถึงสี เนื้อ ตัวเมียลำตัวด้านบนเป็นลายสีน้ำตาลเหลืองสลับดำ ลำตัวด้านล่างสีขาว บริเวณอกและสีข้างมีลายเล็ก ๆ สีออกดำ
อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าเบญจพรรณ และป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ มักส่งเสียงร้อง ซึ่งอาจเป็นการร้องเพื่อประกาศ อาณาเขตหรือดึงดูดเพศตรงข้ามในฤดูผสมพันธุ์ ทำให้ สังเกตเห็นนกได้ง่ายขึ้นนกกระเต็นลายกินแมลงเป็นส่วนใหญ่ เช่น จักจั่น ตกแตน ตกแตนกิ่งไม้ จิ้งหรีด เป็นต้น บางครั้งมันก็ กินพวกกิ้งก่า ซึ่งค่อนข้างแตกต่างจากนกกระเต็นชนิด อื่นที่ส่วนใหญ่กินปลาหรือสัตว์น้ำ นกกระเต็นลายหา อาหารด้วยการโฉบจับกลางอากาศ แต่ส่วนใหญ่มันจะ จับแมลงตามกิ่งไม้และต้นไม้ บางครั้งมันใช้ปากเคาะ กิ่งไม้ให้แมลงออกมา ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกับ พวกนกหัวขวานมาก
การผสมพันธุ์ : นกกระเต็นลายผสมพันธุ์ในช่วง ฤดูหนาวต่อฤดูร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือน เมษายน Delacour (1947) รายงานว่า นกกระเด็น ลายทำรังในโพรงดินตามฝั่งแม่น้ำ หรือทำรังตามโพรง ไม้ที่เป็นรังเก่าของปลวก Smythies (1947) รายงานว่านกกระเต็นลายทำรังตามโพรงของต้นไม้ผุที่อยู่สูงจากพื้นดิน 3-4 เมตร ปัจจุบันยังไม่ทราบ ชีววิทยาการสืบพันธุ์อื่นแน่ชัด เข้าใจว่าคงไม่แตกต่างจาก นกกระเต็นชนิดอื่นแม้จะจัดอยู่ต่างสกุลกัน
สถานภาพ : นกกระเด็นลายเป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก ชนิดย่อย pulchella พบเฉพาะทางภาคใต้ตอนใต้ ที่จังหวัดสงขลาและจังหวัด นราธิวาส ชนิดย่อย amabilis พบทางภาคเหนือ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตก และบางแห่งของภาคกลาง ชนิดย่อย deignani พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไปจนถึงจังหวัดตรัง
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
แหล่งที่มาของภาพ
https://i.ytimg.com/vi/CQXr5yA9k0M/hqdefault.jpg
http://www.thungyaiwest.com/images/Gallery/Bird20170306/IMG_6245-2017.jpg
https://www.bloggang.com/data/batgirlforever/picture/1124727434.jpg
https://www.bloggang.com/data/fasaiwonmai/picture/1317082259.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต