ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกินแมลงปีกแดง"
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Timaliidae<br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Stachyris erythroptera...") |
|||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 21: | แถว 21: | ||
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | '''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม'''<br> | ||
+ | [[File:youtube01.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=9RjfpApdg5w //https:|link=//https://www.youtube.com/watch?v=9RjfpApdg5w ]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=9RjfpApdg5w นกกินแมลงปีกแดง] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Chestnut-winged1.jpg]] [[ไฟล์:Chestnut-winged2.jpg]] [[ไฟล์:Chestnut-winged3.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:Chestnut-winged1.jpg]] [[ไฟล์:Chestnut-winged2.jpg]] [[ไฟล์:Chestnut-winged3.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 22:15, 7 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์:Timaliidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Stachyris erythroptera (Blyth) 1842.
ชื่อสามัญ:Chestnut-winged Babbler
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Red-winged Babbler, Red-winged Tree Babbler
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stachyris erythroptera ชื่อชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ erythr, -o หรือ erathros แปลว่าสีแดง และ pter, -o, =um หรือ pteron แปลว่าปีก ความหมายคือ “ขนปีกสีแดง” พบครั้งแรกที่ประเทศสิงคโปร์ ทั่วโลกมี 6 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Stachyris erythrontera erythroptera (Blyth) ที่มาและความหมาย ของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด
กระจายพันธุ์ : ในไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว
ลักษณะทั่วไป :เป็นนกขนาดเล็กมาก (14 ซม.) วงรอบเบ้าตากว้างสีน้ำเงิน หน้าผาก ด้านข้างของหัว คอหอย และอกเป็นสีเทา ปีกและหางสีน้ำตาลแกมแดง ถึงแดง คอด้านข้างเป็นแถบผิวหนังสีเขียวแกมน้ำเงิน แต่บางครั้งมองไม่เห็น เพราะมีขนคลุม
อุปนิสัยและอาหาร :พบตามป่าดงดิบชื้นและป่ารุ่นตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 800 เมตรจาก ระดับน้ำทะเล พบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ และอาจ พบอยู่รวมกับนกกินแมลงอื่น หากินตามกิ่งของไม้พุ่ม หรือไม้ต้นในระดับไม่สูงจากพื้นดินมากนัก อาหารได้แก่ แมลง
การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ช่วงฤดูหนาวถึงฤดูฝน ระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนสิงหาคม รังเป็นทรงกลม หรือรูปไข่ มีทางเข้าออกอยู่ทางด้านข้าง รังอยู่ตามพุ่ม ไม้หรือต้นไม้เล็ก ๆ และเถาวัลย์ สูงจากพื้นดิน 0.4-7.0 เมตร รังมีไข่ 2-3 ฟอง
ไข่ : ไข่สีขาวเป็นมัน บาง ครั้งมีจุดสีน้ำเงิน ขนาดของไข่ ๑๖.๕x๑๔.๐ มม. เป็น นกที่มักมีนกคัดคูแซงแซวมาวางไข่ให้ฟักและเลี้ยงดู ลูกอ่อนแทน ยังไม่ทราบชีววิทยาการสืบพันธุ์ด้านอื่น
สถานภาพ :เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบเฉพาะทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
แหล่งที่มาของภาพ
http://orientalbirdimages.org/images/data/chestnutwingedbabbler19oct15.jpg
http://nat-hist.sg/assets/img/species/064-25.jpg
https://download.ams.birds.cornell.edu/api/v1/asset/45192941/1800
https://singaporebirders.files.wordpress.com/2016/01/chestnut-winged-babbler-170709-112eos1d-f1x20430.jpg?w=1200
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต