ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกเงือกปากดำ,กาเขา"
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Bucerotidae<br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Anorrhinus galeritus''...") |
|||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 19: | แถว 19: | ||
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง Humphrey and Bain (1990) จัดเป็นสัตว์ที่มีแนว | '''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง Humphrey and Bain (1990) จัดเป็นสัตว์ที่มีแนว | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' | ||
+ | [[File:youtube01.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=VIrhk6djw7w//https:|link=//https://www.youtube.com/watch?v=VIrhk6djw7w]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=VIrhk6djw7w นกเงือกปากดำ,กาเขา] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Bushy-crested1.jpg]] [[ไฟล์:Bushy-crested2.jpg]] [[ไฟล์:Bushy-crested3.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:Bushy-crested1.jpg]] [[ไฟล์:Bushy-crested2.jpg]] [[ไฟล์:Bushy-crested3.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 22:44, 7 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์:Bucerotidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Anorrhinus galeritus (Temminck) 1831.
ชื่อสามัญ:Bushy-crested Hornbill
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:นกกู้ที่
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anorrhinus galeritusชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ galer หรือ galerus แปลว่าหมวกหรือกระหม่อม และ tus เป็นคำลงท้าย ความหมายคือ “นกที่มีขนปกคลุมกระ หม่อมเด่นชัด” พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมีนกเงือกปากดำ 3 ชนิดย่อย ประเทศ ไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Anorrhinus galeritus carinatus (Blyth) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละติน คือ carin, sa แปลว่ากระดูกงูของเรือ หรือร่อง และ -tus เป็นคำลงท้าย ความหมายคือ “ปากมีลายเป็นร่อง หรือคล้ายกระดูกงูเรือ” พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรกที่ประ เทศมาเลเซีย
กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว
ลักษณะทั่วไป :เป็นนกขนาดใหญ่ (87-89 ซม.) ตัวเต็มวัยตัวผู้ลำตัวสีดำ หัวมีหงอนขนสีดำ ปากสีดำประมาณสองในสามของหางเป็นสีเทาแกมน้ำตาล ปลาย หางสีดำ ตัวเมียต่างจากตัวผู้ตรงที่โหนกแข็งเล็กกว่า ของตัวผู้ ผิวหนังบริเวณคอหอยสีน้ำเงิน วงรอบเบ้าตา สีน้ำเงินหรือขาว บางตัวปากเป็นสีงาช้าง ตัวไม่เต็มวัย ลำตัวมีลายแต้มสีน้ำตาล ท้องสีขาว
อุปนิสัยและอาหาร :อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้น ตั้ง แต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง ๑,๒๐๐ เมตรจาก ระดับน้ำทะเล ช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์มักพบเป็นฝูงเล็ก ๆ แต่ช่วงฤดูผสมพันธุ์พบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ นกเงือก ปากดำร้องเสียงแหลมและดังไปไกลอาหาร ได้แก่ ผลไม้ โดยเฉพาะลูกไทร ลูกหว้า และลูกตาเสือ นอกจากนี้มันยังกินสัตว์ขนาดเล็กที่อยู่ ตามพื้นดิน เช่น หนู กิ้งก่า ปู เป็นต้น
การผสมพันธุ์ : นกเงือกปากดำผสมพันธุ์ในช่วง ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม มัน ทำรังตามโพรงต้นไม้ ชีววิทยาการสืบพันธุ์อื่นไม่แตก ต่างจากนกเงือกสีน้ำตาล ยกเว้นไข่ของนกเงือกปากดำมีขนาดใหญ่กว่า นกเงือกปากดำมีพฤติกรรมอย่างหนึ่งที่คล้ายคลึง กับนกเงือกสีน้ำตาล คือในช่วงที่ตัวเมียและลูกนกยัง อยู่ในโพรง จะมีนกเงือกปากดำอย่างน้อย 3 ตัว และ อาจมากถึง 5 ตัว ช่วยพ่อนกหาอาหารมาป้อนตัวเมีย และลูกนก พวกมันจะสลับกันป้อนอาหารเกือบตลอด ทั้งวัน แต่ที่แตกต่างจากนกเงือกสีน้ำตาลคือตัวที่มา ช่วยมีทั้งตัวผู้และตัวเมีย ยังไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยว กับชีววิทยาการสืบพันธุ์แบบนี้ชัดเจนนัก ตัวที่มาช่วย อาจเป็นนกในครอบครัวเดียวกันที่เกิดเมื่อ 1-2 ปีก่อน หรืออาจเป็นตัวผู้หรือตัวเมียอื่นที่ยังไม่ได้ผสมพันธุ์ใน ฤดูผสมพันธุ์นั้น
สถานภาพ :นกเงือกปากดำเป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก พบเฉพาะทางภาค ใต้ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชจนถึงใต้สุดของประเทศ
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง Humphrey and Bain (1990) จัดเป็นสัตว์ที่มีแนว
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> นกเงือกปากดำ,กาเขา <<<แหล่งที่มาของภาพ
https://image.dek-d.com/21/1245944/101253954
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/b/ba/Two_Bushy-crested_Hornbills_%28Anorrhinus_galeritus%29_in_a_tree.jpg
http://hornbill.or.th/wp-content/uploads/2018/01/Bushy-crested-Hornbill01-1.jpg
http://hornbill.or.th/wp-content/uploads/2018/01/Bushy-crested-Hornbill.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต