ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกจับแมลงตะโพกเหลือง"
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Muscicapidae<br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Ficedula zanthopygia '...") |
|||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 18: | แถว 18: | ||
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | '''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' | ||
+ | [[File:youtube01.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=1hGsY4Z6s-M//https:|link=//https://www.youtube.com/watch?v=1hGsY4Z6s-M]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=1hGsY4Z6s-M นกจับแมลงตะโพกเหลือง] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Yellow-rumped1.jpg]] [[ไฟล์:Yellow-rumped2.jpg]] [[ไฟล์:Yellow-rumped3.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:Yellow-rumped1.jpg]] [[ไฟล์:Yellow-rumped2.jpg]] [[ไฟล์:Yellow-rumped3.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 22:51, 7 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์:Muscicapidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Ficedula zanthopygia (Hay) 1845.
ชื่อสามัญ:Yellow-rumped Flycatcher
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Tricolor Flycatcher
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ficedula zanthopygia ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ zantho หรือ xanth, -o หรือ Xanthos แปลว่าสีเหลือง และ pyg, =a, -o แปลว่าตะโพก (คำในภาษาละตินสมัยใหม่คือ "pygius ที่แปลว่าตะโพก) ความหมายคือ “นกที่มีตะโพกเป็นสีเหลือง” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย ไม่มีการแบ่งเป็นชนิดย่อย
กระจายพันธุ์ : ในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ จีน ตอนใต้ ไทย ลาว เวียดนาม เกาะไหหลำ มาเลเซีย เกาะ สุมาตรา และเกาะชวา
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็กมาก (13 ซม.) ตัวผู้ลำตัวด้านบนสีดำ คิ้วและลายพาดที่ปีกสีขาว ตะโพกสีเหลืองแกมเขียวเช่นเดียวลำตัวด้านล่างโดยขน คลุมโคนขนหางด้านล่างสีขาว คอหอยและอกอาจมีสี ส้มแซมในบางฤดู ตัวที่เกือบเป็นตัวเต็มวัยลักษณะ คล้ายตัวเมีย แต่มีลายขีดสีขาวบริเวณขนกลางปีก ขน คลุมโคนขนหางด้านล่างสีดำ ตัวเมียตะโพกสีเหลือง ตัดกับสีลำตัวด้านบนที่เป็นสีน้ำตาลแกมเขียว
อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ สวนผลไม้ และป่าชายเลน ตั้งแต่พื้นราบ จนกระทั่งความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล มัก พบอยู่โดดเดี่ยว แต่อาจพบอยู่รวมกับนกจับแมลงและ นกขนาดเล็กอื่น ๆ กินแมลงเป็นอาหาร ด้วยการโฉบ จับกลางอากาศระหว่างกิ่งไม้ บางครั้งลงมาโฉบจับใกล้ กับพื้นดินหรือบนพื้นดิน
การผสมพันธุ์ : ไม่มีรายงานการทำรังวางใจ ประเทศไทย
สถานภาพ :เป็นนกอพยพผ่าน พบบ่อยและปริมาณปานกลางในช่วงต้นและปลายฤดูกาลอพยพ หายากที่เป็นนกอพยพมาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบเกือบ ทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> นกจับแมลงตะโพกเหลือง <<<แหล่งที่มาของภาพ
https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_1303.jpg
https://farm6.static.flickr.com/5773/21912288732_b053594ba0.jpg
https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_1256.jpg
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2016_05_02_22_27_09.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต