ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกจับแมลงสีคล้ำ"
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Muscicapidae<br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Muscicapa sibirica '' (Gm...") |
|||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 22: | แถว 22: | ||
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | '''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' | ||
+ | [[File:youtube01.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=laCbZ6Wyttg//https:|link=//https://www.youtube.com/watch?v=laCbZ6Wyttg]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=laCbZ6Wyttg นกจับแมลงสีคล้ำ] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Dark-sided1.jpg]] [[ไฟล์:Dark-sided2.jpg]] [[ไฟล์:Dark-sided3.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:Dark-sided1.jpg]] [[ไฟล์:Dark-sided2.jpg]] [[ไฟล์:Dark-sided3.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 22:53, 7 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์:Muscicapidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Muscicapa sibirica (Gmelin) 1789.
ชื่อสามัญ:Dark-sided Flycatcher
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Siberian Flycatcher
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Muscicapa sibirica ชื่อ ชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย ทั่วโลกมี 4 ชนิดย่อย ประเทศไทย พบ 3 ชนิดย่อย คือ 1. Muscicapa sibirica sibirica Gmelin ที่มาของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชื่อชนิด 2. Muscicapa sibirica cacabata Penard ชื่อชนิดย่อยอาจมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ cac, -a, -h, -o แปลว่าเลว และ bat, -o, =us แปลว่าพุ่มไม้ ซึ่งมีความหมายว่า “ไม่ค่อยกระโดดหรือเกาะตามพุ่มไม้” พบครั้งแรกที่ประเทศเนปาล และ 3. Muscicapa sibirica rothschildi (Stuart Baker) ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงมาจากชื่อของบุคคล พบครั้งแรกที่ประเทศจีน
กระจายพันธุ์ : ในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เทือกเขาหิมาลัย จีนตอนใต้ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม เกาะ ไหหลำ ไต้หวัน หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และเกาะปาลาวัน
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็กมาก (13 ซม.) ปากสั้น เมื่อดูในธรรมชาติลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลเข้ม คอมีลายทางสีขาว ลายขีดขนาดกว้างสีขาวจากกลาง คอหอยไปยังอกและท้อง ขณะเกาะตามปกติปลายปีกเกือบจรดปลายหาง หน้าผากและลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ถึงเทาเข้ม มีลายสีเนื้อที่ปีกแต่ไม่เด่นชัด วงรอบเบ้าตาสีขาว ด้านข้างของคอหอย อก และท้องมีลายขีด ขนาดกว้างสีเทาแกมน้ำตาลแต่ไม่เด่นชัด ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีขาว ปีกยาว 70-83 มม. ในห้องปฏิบัติการ แตกต่างจากนกจับแมลงสีน้ำตาลโดยขนปลายปีกนับจากด้านในเส้นที่ 9 ยาวเท่ากับหรือยาวกว่า เส้นที่ 6 ตัวไม่เต็มวัยขอบขนปีกมีสีขาวแกมสีเนื้อ ลำตัวด้านล่างมีลายขีดเด่นชัดกว่า
อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา และป่ารุ่นตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในช่วงฤดูกาลอพยพอาจพบได้ในสวนผลไม้ และป่าชายเลน มักพบอยู่โดดเดี่ยว แต่ในบริเวณเดียว กันอาจพบนกที่หากินร่วมกัน 3-4 ตัว มักเกาะตาม ยอดไม้ กิ่งไม้แห้ง หรือที่โล่ง ตาคอยจ้องหาเหยื่อ ซึ่ง ได้แก่ แมลง โดยเฉพาะแมลงในอันดับแมลงวัน (Order Diptera) จากนั้นจะบินโฉบด้วยปากและมักกลับมา เกาะที่เดิม แล้วคอยจ้องหาเหยื่อต่อไป บางครั้งโฉม จับแมลงเหนือพื้นดินเล็กน้อย โดยเฉพาะหลังฝนตก ที่มีแมลงบางชนิด เช่น แมลงเม่า บินออกจากรูดิน
การผสมพันธุ์ : ไม่มีรายงานการทำรังวางใจ ประเทศไทย
สถานภาพ :เป็นนกอพยพผ่านและนกอพยพมา ช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย sibirica พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ บางแห่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ชนิดย่อย cacabata พบทางภาคใต้ บางแห่ง (จังหวัดระนอง) และชนิดย่อย rothschildi พบทางภาคเหนือด้านตะวันตกและภาคตะวันตก
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> นกจับแมลงสีคล้ำ <<<แหล่งที่มาของภาพ
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/darksidedflycatcher121nov16-660x445.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/album_data/948/38948/album/43818/images/394472.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/album_data/948/38948/album/43818/images/394476.jpg
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2019_04_22_09_10_09.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต