ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกแซงแซวเล็กเหลือบ"

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Dicruridae<br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Dicrurus aeneus '' (Vieillot)...")
 
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
แถว 20: แถว 20:
 
 
 
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 +
 +
'''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม'''
 +
[[File:youtube01.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=hLnpD0fE3D0//https:|link=//https://www.youtube.com/watch?v=hLnpD0fE3D0]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=hLnpD0fE3D0 นกแซงแซวเล็กเหลือบ] <<< <br><br>
 
----
 
----
 
<center>[[ไฟล์:Bronzed1.jpg]] [[ไฟล์:Bronzed2.jpg]] [[ไฟล์:Bronzed3.jpg]]</center>
 
<center>[[ไฟล์:Bronzed1.jpg]] [[ไฟล์:Bronzed2.jpg]] [[ไฟล์:Bronzed3.jpg]]</center>

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 23:03, 7 กุมภาพันธ์ 2563

Bronzed.jpg

วงศ์:Dicruridae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Dicrurus aeneus (Vieillot) 1817.
ชื่อสามัญ:Bronzed Drongo
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:-

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dicrurus aeneus ชื่อชนิด มาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ aene หรือ anea แปล ว่าสีบรอนซ์หรือสีทองแดง ความหมายคือ “นกที่มีสีเหลือบ” พบครั้งแรกที่รัฐเบงกอล ประเทศอินเดีย ทั่ว โลกมี 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Dicrurus aeneus aeneus Vieillot ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชื่อชนิด

กระจายพันธุ์ : ในอินเดีย จีนตอนใต้ เอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ ไต้หวัน เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (23 ซม.) แตกต่างจากนกแซงแซวหางปลาตรงที่มีขนาดเล็กกว่า รูปร่างเพรียวกว่า ลำตัวมีสีดำเป็นมันจนเห็นเป็นเงา แวววาวสีเขียวหรือน้ำเงิน ขนปลายหางคู่นอกจะโค้ง ขึ้นเล็กน้อย

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา ป่าสนเขา และป่ารุ่น ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบอยู่โดดเดี่ยว เป็น คู่ หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ แต่อาจพบอยู่รวมกับพวกนกกิน แมลง อาศัยและหากินตามกิ่งไม้ในระดับสูง อาหาร ได้แก่ แมลง โดยโฉบจับกลางอากาศใกล้ที่เกาะ บาง ครั้งบินขึ้นตรง ๆ เหนือยอดไม้เพื่อโฉบแมลงโดยเฉพาะ ปลวกหรือแมลงเม่าที่บินออกจากรูช่วงที่ฝนตกหรือ หลังฝนตก บางครั้งก็โฉบจับใกล้พื้นดิน เป็นนกที่ก้าว ร้าวเช่นเดียวกับนกแซงแซวอื่น ๆ

การผสมพันธุ์ :ผสมพันธ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทำรังเป็นรูป ถ้วย เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกประมาณ 10 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 7 ซม. และลึก 4 ซม. วัสดุที่ใช้ทำรังประกอบด้วยเปลือกไม้ ต้นหญ้า ใบไม้ ส่วนของพืชที่เป็นเยื่อใย เชื่อมติดกันและติดกับกิ่งไม้ ด้วยใยแมงมุม รังอยู่ตามง่ามด้านบนหรือด้านข้างของ กิ่งไม้ในระดับที่สูงพอสมควร รังมีไข่ 3-4 ฟอง

ไข่ :สีสัน ของไข่ผันแปรมาก ส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาลแกมชมพู อ่อนมีลายจุดสีแดงและสีม่วงโดยรอบฟองโดยเฉพาะ ไข่ด้านป้าน ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 16.0x21.1 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาฟักไข่ 13-14 วัน ใช้เวลาเลี้ยงลูก 7-10 วัน

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบทั่วทุกภาค

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=hLnpD0fE3D0//https:
>>> นกแซงแซวเล็กเหลือบ <<<


Bronzed1.jpg Bronzed2.jpg Bronzed3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/7/7f/Bronzed_Drongo_I_IMG_1681.jpg
https://f.ptcdn.info/151/014/000/1388991804-IMG5437-o.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/album_data/948/38948/album/43818/images/399218.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/album_data/948/38948/album/43818/images/399219.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต