ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกแซงแซวหางปลา"
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''' : Dicrurinae<br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Dicrurus macrocercus...") |
|||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 1: | แถว 1: | ||
[[ไฟล์:Black drongo1.jpg|right]] | [[ไฟล์:Black drongo1.jpg|right]] | ||
− | '''วงศ์''' : Dicrurinae<br> | + | '''วงศ์''':Dicrurinae<br> |
− | '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Dicrurus macrocercus'' (Vieillot) 1817.<br> | + | '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Dicrurus macrocercus'' (Vieillot) 1817.<br> |
− | '''ชื่อสามัญ''' : Black drongo<br> | + | '''ชื่อสามัญ''':Black drongo<br> |
− | '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : -<br><br> | + | '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''':-<br><br> |
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Dicrurus macrocercus'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ macr,-o หรือ makros แปลว่าใหญ่หรือยาว และ cerc,-o,=us แปลว่าหาง ความหมายคือ “นกที่มีหางขนาดใหญ่หรือมีหางยาว” พบครั้งแรกทางตอนใต้ของประเทศอินเดียทั่วโลกมี 7 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อย คือ | มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Dicrurus macrocercus'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ macr,-o หรือ makros แปลว่าใหญ่หรือยาว และ cerc,-o,=us แปลว่าหาง ความหมายคือ “นกที่มีหางขนาดใหญ่หรือมีหางยาว” พบครั้งแรกทางตอนใต้ของประเทศอินเดียทั่วโลกมี 7 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อย คือ | ||
แถว 23: | แถว 23: | ||
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | '''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' | ||
+ | [[File:youtube01.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=CqZ-s2CUJg4//https:|link=//https://www.youtube.com/watch?v=CqZ-s2CUJg4]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=CqZ-s2CUJg4 นกแซงแซวหางปลา] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Black drongo2.jpg]] [[ไฟล์:Black drongo3.jpg]] [[ไฟล์:Black drongo4.jpg]] </center> | <center>[[ไฟล์:Black drongo2.jpg]] [[ไฟล์:Black drongo3.jpg]] [[ไฟล์:Black drongo4.jpg]] </center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 23:04, 7 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์:Dicrurinae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Dicrurus macrocercus (Vieillot) 1817.
ชื่อสามัญ:Black drongo
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:-
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dicrurus macrocercus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ macr,-o หรือ makros แปลว่าใหญ่หรือยาว และ cerc,-o,=us แปลว่าหาง ความหมายคือ “นกที่มีหางขนาดใหญ่หรือมีหางยาว” พบครั้งแรกทางตอนใต้ของประเทศอินเดียทั่วโลกมี 7 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อย คือ
- Dicrurus macrocercus albirictus (Hodgson) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษละตินคือ alb,-I,-id หรือ albus แปลว่าสีขาว และ rict หรือ rictus แปลว่ามุมปาก ความหมายคือ “บริเวณมุมปากเป็นสีขาว” พบครั้งแรกที่ประเทศเนปาล
- Dicrurus macrocercus cathoecus Swinhoe ยังไม่ทราบที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยอาจมาจากคำว่า Catholic ซึ่งแปลว่าผู้นับถือศาสนาคริสต์ พบครั้งแรกทางตอนใต้ของประเทศจีน
- Dicrurus macrocercus thai Kloss ซึ่งชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ คือ ประเทศไทย พบครั้งแรกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
กระจายพันธุ์ : ในอิหร่าน ปากีสถาน อินเดีย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ ไต้หวัน และเกาะชวา
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (28 ซม.) หางยาว 125-184 มม. ตัวเต็มวัยสีเป็นสีดำแต่อาจไม่เป็นมันเท่ากับนกแซงแซวอื่น ๆ หางเว้าลึก ปลายขนหางคู่นอกสุดโค้งขั้นเล็กน้อย ตัวไม่เต็มวัยมักมีลายเกล็ดสีขาวบริเวณขนปีกด้านล่าง อกตอนล่าง ท้อง และขนคลุมโคนขนหางด้านล่าง
อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามทุ่งโล่ง ทุ่งนาและบริเวณที่ใกล้แหล่งน้ำ ปกติในระดับพื้นราบ แต่อาจพบได้ในความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเลพบอยู่โดดเดี่ยว เป็นคู่หรือเป็นฝูง มักเกาะตามกิ่งไม้แห้ง หลัก ตอไม้ สายไฟฟ้า เสารั้ว และบางครั้งลงมายืนบนพื้นดิน อาหาร ได้แก่ แมลง มีพฤติกรรมการหาอาหารหลายแบบ เช่น เกาะตามสิ่งต่าง ๆ ตาคอยจ้องหาเหยื่อรอบตัว เมื่อพบจะบินโฉบจับด้วยปาก แล้วกลับมาเกาะที่เดิมเพื่อกลืนกินอาหาร แล้วจ้องหาเหยื่อต่อไปอีก หรืออาจบินลงมาบนพื้นดินแล้วใช้ปากจิกมดปลวก หรือแมลงตามโพรงดิน หรืออาจเกาะหรือกระโดดบนหลังวัวควาย หรือเกาะกับสิ่งต่างๆ ใกล้ๆ บริเวณที่วัวควายเดินผ่าน เพื่อจับแมลงที่กระโดดหนีเมื่อวัวควายเหยียบย่ำพื้นหญ้า หรือบินฉวัดเฉวียนกลางอากาศไล่โฉบจับแมลงเหนือบริเวณที่กำลังเกิดไฟไหม้ เป็นนกที่ก้าวร้าว และมีพฤติกรรมการป้องกันอาณาเขตอย่างแข็งขัน โดยเฉพาะบริเวณรัง มันจะบินโฉบเข้าโจมตีนกและสัตว์อื่นที่เข้าไปใกล้รังของมัน ทั้งนกขนาดใหญ่ เช่น อีกา เหยี่ยว หรือแม้แต่สุนัขก็จะถูกนกทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันโจมตีเพื่อป้องกันไข่และลูกอ่อน
การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม รังเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ ประกอบด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ ต้นหญ้า ใบไม้ และเยื่อใยต่าง ๆ เชื่อมเข้าด้วยกันด้วยใยแมงมุม ทำรังตามต้นไม้ โดยวางรังตามง่ามซึ่งอาจจะอยู่เกือบปลายสุดของกิ่ง บางครั้งในต้นไม้ต้นเดียวกันอาจมีรังของนกชนิดอื่นอยู่ด้วย เช่น นกขมิ้น นกเขา นกปรอด เป็นต้น ซึ่งนกเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมัน และมันก็ไม่ก้าวร้าวกับนกเหล่านี้ รังมีไข่ 3-4 ฟอง
ไข่ : ไข่แต่ละฟองอาจแตกต่างกัน ส่วนใหญ่มีสีขาวหรือสีครีมแกมชมพู มีลายจุด ลายดอกดวงสีดำ และน้ำตาลแกมแดง ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 19.8x27.1 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทำรังฟักไข่ และเลี้ยงลูก 7-10 วัน บ่อยครั้งที่นกคัดคู รวมทั้งนกดุเหว่า จะใช้รังของนกแซงแซวหางปลาเป็นที่วางไข่ และปล่อยให้นกเจ้าขางรังฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อนให้
สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น นกอพยพผ่านและนกอพยพมาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อยและปริมาณมาก ชนิดย่อย albirictus เป็นนกอพยพ พบทางภาคเหนือ ชนิดย่อย cathoecus เป็นทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ พบทั่วไปยกเว้นภาคใต้ ชนิดย่อย thai เป็นนกประจำถิ่น พบทางภาคตะวันตก ภาคกลางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ตอนบน
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> นกแซงแซวหางปลา <<<แหล่งที่มาของภาพ
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/a0/Black_Drongo_%28Dicrurus_macrocercus%29_IMG_7702_%281%29..JPG
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2016_04_06_16_36_51.jpg
https://i.ytimg.com/vi/CqZ-s2CUJg4/maxresdefault.jpg
http://www.thongthailand.com/private_folder/bird/birdd/bird2-4/sangsaew33.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต