ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกบั้งรอกแดง"

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Cuculidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Phaenicophaeus chloro...")
 
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
แถว 18: แถว 18:
 
 
 
'''กฎหมาย''' :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 
'''กฎหมาย''' :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 +
 +
'''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม'''
 +
[[File:youtube01.png|left|https://https://www.youtube.com/watch?v=ykh6NYtGIvo//https://www.youtube.com/watch?v=ykh6NYtGIvo]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=ykh6NYtGIvo นกบั้งรอกแดง] <<< <br><br>
 
----
 
----
 
<center>[[ไฟล์:Raffles' Malkoha1.jpg]] [[ไฟล์:Raffles' Malkoha2.jpg]] [[ไฟล์:Raffles' Malkoha3.jpg]]</center>
 
<center>[[ไฟล์:Raffles' Malkoha1.jpg]] [[ไฟล์:Raffles' Malkoha2.jpg]] [[ไฟล์:Raffles' Malkoha3.jpg]]</center>

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 15:08, 10 กุมภาพันธ์ 2563

Raffles' Malkoha.jpg

วงศ์:Cuculidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Phaenicophaeus chlorophaeus (Raffles) 1822.
ชื่อสามัญ:Raffles' Malkoha
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:-

นกตะขาบทุ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phaenicophaeus chlorophaeus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษา กรีกคือ chlor, -o หรือ khloros แปลว่าสีเขียว และ phaea แปลว่าตา อาจหมายถึง “มีแผ่นหนังรอบตาสีเขียว” พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมีนกบั้งรอกแดง 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Phaenicophaeus chlorophaeus chlorophaeus (Raffles) ชื่อชนิดย่อยมีที่มาและความหมายเช่นเดียวกับชื่อชนิดHoward and Moore (1980) จัดนกบั้งรอกแดงไว้ในสกุล Rhinortha ซึ่งแตกต่างจากนกบั้งรอกอื่น ชื่อสกุลมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ rhin, -o หรือ rhis แปลว่าจมูก และ orth, -o หรือ orthos แปลว่า ตรง ความหมายคือ “นกที่มีปากตรง”

กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (32-33 ซม.) เฉพาะหางยาว 18-19 ซม. จัดเป็นนกบั้งรอกที่เล็กที่สุดในประเทศไทย ปากสีเขียวอ่อน หนังรอบตาสีเขียวจาง ตัวผู้ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแดง หางสีออกดำ ปลายขนหางสีขาว ขนหางด้านล่างมีแถบสีขาวเล็ก ๆ 4 แถบ คอหอย อก และท้องสีน้ำตาลเหลืองแกมสีเนื้อ ตัวเมียลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแดง หัว คอ คอหอย และ อกสีเทา ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลเหลืองแกมสีเนื้อ หางสีน้ำตาลแดง ปลายขนหางสีขาว ขนหางด้านล่างมีแถบสีขาวเล็ก ๆ 4 แถบ

อุปนิสัยและอาหาร:อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้น และป่าระดับต่ำที่มีระดับความสูงไม่เกิน 900 เมตร จากระดับน้ำทะเล พบอยู่โดดเดี่ยว หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ 4-5 ตัว นกบั้งรอกแดงมีอุปนิสัยคล้ายกับนกบั้งรอก อื่นคือมักกระโดดไปตามกิ่งไม้ โดยเฉพาะไม้พุ่มหรือไม้ พื้นล่างที่มีใบแน่นทึบ แต่จะแตกต่างตรงที่มันชอบบิน จากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งมากกว่านกบั้งรอกอื่น อาหาร ได้แก่ ตัวหนอนและแมลง เช่น จักจั่น ด้วงปีกแข็ง ตักแตนกิ่งไม้ เป็นต้น มันหาอาหารโดย จิกกินตามกิ่งและยอดไม้ การผสมพันธุ์ : นกบั้งรอกแดงผสมพันธุ์ในช่วง ฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ลักษณะรังและชีววิทยาการสืบพันธุ์อื่นเหมือนกับนก บั้งรอกเล็กท้องเทา นกบั้งรอกเล็กท้องแดง และนก บังรอกใหญ่ จะต่างกันตรงที่นกบังรอกแดงมีไข่เล็กกว่า เพราะนกบั้งรอกแดงมีขนาดเล็กกว่านกบั้งรอกอื่น

สถานภาพ :นกบั้งรอกแดงเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบเฉพาะทางภาคใต้ เท่านั้น

กฎหมาย :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://https://www.youtube.com/watch?v=ykh6NYtGIvo//https://www.youtube.com/watch?v=ykh6NYtGIvo
>>> นกบั้งรอกแดง <<<


Raffles' Malkoha1.jpg Raffles' Malkoha2.jpg Raffles' Malkoha3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201504/30/53715/images/481818.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201504/30/53715/images/481824.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201507/01/14419a905.jpg
https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_826.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต