ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ"
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Pycnonotidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Alophoixus pal...") |
|||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 19: | แถว 19: | ||
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | '''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' | ||
+ | [[File:youtube01.png|left|https://https://www.youtube.com/watch?v=K91gzyr0lHM//https://www.youtube.com/watch?v=K91gzyr0lHM]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=K91gzyr0lHM นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Puff-throated Bulbul1.jpg]] [[ไฟล์:Puff-throated Bulbul2.jpg]] [[ไฟล์:Puff-throated Bulbul3.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:Puff-throated Bulbul1.jpg]] [[ไฟล์:Puff-throated Bulbul2.jpg]] [[ไฟล์:Puff-throated Bulbul3.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 15:51, 10 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์:Pycnonotidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Alophoixus pallidus (Swinhoe) 1870.
ชื่อสามัญ:Puff-throated Bulbul
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Swinhoes White-throated Bulbul, Olivaceous Bearded Bulbul
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alophoixus pallidus ชนิดเป็นคำในภาษาละตินคือ pallidus (รากศัพท์ภาษา ละตินคือ pall, -ens, -esc, -id, -or) แปลว่าสีจาง ความหมายคือ “นกที่มีสีจาง (น้ำตาลอ่อน)" พบครั้งแรกที่ประเทศจีน ทั่วโลกมี 7 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Alophoixus pallidus Henrici Oustalet ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อบุคคล พบครั้งแรกที่มณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของประเทศจีน และ Alophoixus pallidus isani Deignano ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อสถานที่คือ ภาคอีสาน พบครั้งแรกที่จังหวัดเลย
กระจายพันธุ์ : ในจีนตอนใต้ ไหหลำ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
ลักษณะทั่วไป :เป็นนกขนาดเล็ก (24 ซม) แตกต่างจากนกปรอดโอ่งท้องสีน้ำตาลโดยลำตัวด้านบนสีออกเป็นสีไพลหรือเขียวแกมเหลืองมากกว่า อกมี ลายแต้มสีเหลือง ท้องสีเหลืองอ่อน แตกต่างจากนก ปรอดโอ่งแก้มเทาโดยพุ่มหงอนขนบริเวณหัวยาวกว่า
อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าดงดิบแล้งและ ป่าดงดิบเขา ตั้งแต่ระดับเชิงเขาจนกระทั่งความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่เป็นฝูง อาศัยและหากินตามพุ่มของไม้ต้นและไม้พุ่ม อุปนิสัย รวมทั้งอาหารไม่แตกต่างจากนกปรอดโอ่งหน้าผากเทา
การผสมพันธุ์ :ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดู ฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน รังเป็น ถ้วยหยาบ ๆ อยู่บนต้นไม้ขนาดเล็ก สูงจากพื้น ประมาณ 4-5 เมตร ยังไม่ทราบชีววิทยาการ ด้านอื่น คาดว่าไม่น่าจะแตกต่างจากนกปรอดโอ่งหน้าผากเทา
สถานภาพ:เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย henrici พบทางภาคเหนือด้านตะวันตก ชนิดย่อย isani พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ <<<แหล่งที่มาของภาพ
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/puffthroated_bulbul218nov17.jpg
https://live.staticflickr.com/4008/4520542760_b7fb0dcbce_z.jpg
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2015_03_08_19_53_57.jpg
https://live.staticflickr.com/7001/6665033711_f01f19ca7c_b.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต