ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกปลีกล้วยเล็ก"
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Nectariniidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Arachnothera...") |
|||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 24: | แถว 24: | ||
'''กฎหมาย''' : ยังไม่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง | '''กฎหมาย''' : ยังไม่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' | ||
+ | [[File:youtube01.png|left|https://https://www.youtube.com/watch?v=1QM9ehYgEto//https://www.youtube.com/watch?v=1QM9ehYgEto]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=1QM9ehYgEto นกปลีกล้วยเล็ก] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Little spiderhunter2.jpg]] [[ไฟล์:Little spiderhunter3.jpg]] [[ไฟล์:Little spiderhunter4.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:Little spiderhunter2.jpg]] [[ไฟล์:Little spiderhunter3.jpg]] [[ไฟล์:Little spiderhunter4.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 15:55, 10 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์:Nectariniidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Arachnothera longirostra (Latham) 1790.
ชื่อสามัญ:Little spiderhunter
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:-
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arachnothera Longirostra ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ long, -I หรือ longus แปลว่ายาว และ rostr, =um แปลว่าปาก ความหมายคือ “นกที่มีปากยาว” พบครั้งแรกที่ประเทศปากีสถาน ทั่วโลกมี 12 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 4 ชนิดย่อยคือ
- Arachnothera Longirostra longirostra (Latham) ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด
- Arachnothera Longirostra sordida La Touche ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ sord, -id หรือ sordidus แปลว่าเปรอะเปื้อนหรือสกปรก ความหมายคือ “นกที่มีสีทึม” พบครั้งแรกที่ประเทศจีน
- Arachnothera Longirostra pallidus Delacour ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ pall, -ens, -esc, -id, -or หรือ pallidus แปลว่าจาง ความหมายคือ “นกที่มีสีจาง” พบครั้งแรกที่ประเทศลาว และ
- Arachnothera Longirostra cinireicollis (Vieillot) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ cini, =s หรือ ciner, -ar, -e, -I หรือ cinereus แปลว่าสีเทา และ coll, -I หรือ collis แปลว่าคอ ความหมายคือ “นกที่มีคอสีเทา” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย
กระจายพันธุ์ : ในปากีสถาน อินเดีย จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และฟิลิปปินส์
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (16 ซม.) ตัวเต็มวัยมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับนกปลีกล้วยอื่น ๆ หัวสีเทา คิ้วและรอบตาสีขาว คอหอยสีขาวแกมเทา อกสีเขียวอ่อนแกมเหลือง ท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเหลือง ปลายหางด้านล่างสีขาวแกมเทา ลำตัวด้านบนสีเขียวอ่อนถึงสีเขียว
อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง ชายป่า และป่ารุ่น ปกติในระดับต่ำว่า 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล อาจพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ พบเป็นประจำตามป่ากล้วย โดยเกาะตามปลีกล้วยและใช้ปากดูดกินน้ำหวานจากกลีบหนึ่งไปยังอีกกลีบหนึ่ง ซึ่งบางครั้งมุดเข้าไปอยู่ระหว่างกาบของปลีกล้วยทั้งตัวจนมองไม่เห็นตัว นอกจากนี้ยังกินน้ำหวานดอกไม้อื่น ๆ โดยเฉพาะดอกทองหลางป่าและดอกงิ้วและยังกินแมลงตามกิ่งไม้หรือที่มาตอมดอกไม้ แมงมุมที่ชักใยตามต้นไม้และตามกอกล้วยก็เป็นอาหารที่กินบ่อยมาก
การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ส่วนใหญ่ทำรังใต้ใบกล้วย รังเป็นรูปกึ่งทรงกระบอกยาวไปตามลักษณะของใบกล้วย มีความยาวประมาณ 20 ซม. และกว้างประมาณ 5-10 ซม. ทางเข้าออกอยู่บริเวณปลายด้านบน รังประกอบด้วยใบหญ้าและใบไม้แห้ง แล้วเย็บติดกับใบกล้วยหรือเชื่อมกันด้วยใยแมงมุม รังมีไข่ 2 ฟอง
ไข่ : สีขาวแกมชมพู มีลายทางสีแดงเข้มถึงน้ำตาลเป็นวงรอบไข่ด้านป้าน และลายขีดเล็ก ๆ สี เดียวกันกระจายทั่วฟอง ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 13.1x18.4 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ยังไม่ทราบระยะเวลาการฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน
สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย longirostra พบทางภาคเหนือด้านตะวันตกและภาคตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดเชียงใหม่ลงมาจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชนิดย่อย sordida พบทางภาคเหนือด้านตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ชนิดย่อย pallida พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงใต้ และชนิดย่อย cinereicollis พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป
กฎหมาย : ยังไม่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> นกปลีกล้วยเล็ก <<<แหล่งที่มาของภาพ
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201605/27/54025/images/484943.jpg
http://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_1130.jpg
http://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_1129.jpg
https://live.staticflickr.com/3218/3931212539_5e0a4c0b0c_z.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต