ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกหว้า"

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Phasianidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Argusianus argus '' (Lin...")
 
(ล็อก "นกหว้า" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระ...)
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 02:13, 31 มกราคม 2563

Great Argus.jpg

วงศ์:Phasianidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Argusianus argus (Linnaeus) 1766.
ชื่อสามัญ:Great Argus
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Great Argus Pheasant

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Argusianus argus ชื่อชนิดมีที่มาและความหมายเช่นเดียวกับชื่อสกุล พบ ครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี นกหว้า 2 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Argusianus argus argus (Linnaeus) ชื่อชนิดย่อย มีที่มาและความหมายเช่นเดียวกับชื่อสกุลและชื่อชนิด

กระจายพันธุ์ :ในพม่า ไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดใหญ่จนถึงขนาด ใหญ่มาก ความยาววัดจากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 76-200 ซม. (รวมหางของตัวผู้ซึ่งยาวกว่า 130 ชม.) ตัวผู้ขนกลางปีกมีขนาดใหญ่และยาวกว่า 100 ชม, หางยาวมากโดยเฉพาะขนหางคู่กลาง ลำตัวสีน้ำตาล บริเวณปีกมีลายดอกตวงสีเนื้อ ลำตัวด้านล่างสีออกน้ำตาลแดง ตัวเมียลำตัวด้านบนไม่มีลายตอกดวง ขนกลางปีกสั้นกว่า หางสั้น ทั้งสองเพศหัวและคอ เป็นผิวหนังสีฟ้า ไม่มีขน ท้ายทอยมีพุ่มหงอนขนสั้น ๆ สีดำ

อุปนิสัยและอาหาร:อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้นใน ระดับเชิงเขาจนกระทั่งความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยว ตัวผู้และตัวเมียร้องเสียง แตกต่างกัน ร้องทั้งกลางวันและกลางคืน ตัวผู้มีอุปนิสัยป้องกันอาณาเขต โดยเฉพาะบริเวณ “ลานนกหว้า" ซึ่งเป็นลานรูปวงกลม รัศมี 6-8 เมตร มันจะจิกเศษ ไม้ ใบหญ้า ฯลฯ ออกไปเพื่อให้ลานสะอาดตลอดเวลา จากอุปนิสัยดังกล่าวนี้ พรานพื้นเมืองจึงมีวิธีล่านกหว้า โดยใช้ผิวไม้ไผ่บาง ๆ กว้างประมาณ 1/2 นิ้ว และยาว 18-20 นิ้ว ฝานให้อมทั้งสองด้าน นำไปปักให้แน่น ตรงกลางลาน เมื่อนกหว้าเห็นสิ่งแปลกปลอมในลาน มันจะพยายามใช้ปากจิกและดึงออก เมื่อไม่สำเร็จมันจะใช้คอพันแล้วดึง ทำให้ไม้ไผ่บาดคอมันตาย นกหว้าตัวเมียไม่มีลานเหมือนกับตัวผู้ มันจะไป ที่ลานของตัวผู้เพื่อผสมพันธุ์ ก่อนผสมพันธุ์กัน ตัวผู้ จะเกี้ยวพาราสีด้วยการแพนปีกคล้ายกับนกยูงแพนหาง เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะแยกไปทำรังและเลี้ยงดูลูก อ่อนตามลำพัง ส่วนตัวผู้จะอยู่ที่ลานเพื่อผสมพันธุ์กับ ตัวเมียตัวอื่นต่อไป นกหว้าหากินตามพื้นดินในเวลากลางวัน และจะ จับคอนนอนตามกิ่งไม้ในเวลากลางคืน อาหารมีทั้งสัตว์ และพืช เช่น แมลง ตัวหนอน ไส้เดือน ปลวก สัตว์ ขนาดเล็ก เมล็ดพืช ผลไม้สุกที่หล่นจากต้น เป็นต้น ในช่วงกลางวันหลังจากที่อิ่มแล้ว นกหว้าจะลงไปกินน้ำในลำธารหรือแอ่งน้ำเสมอ บางครั้งอาจลงกินโป่งด้วย

การผสมพันธุ์ : กล่าวกันว่านกหว้าผสมพันธ์ตลอดทั้งปี ยกเว้นในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกหนักเท่านั้นอย่างไรก็ตามนกหว้าในกรงเลี้ยงมีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูฝน ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม ในธรรมชาติก็ไม่น่าจะแตกต่างจากในกรง เลี้ยงมากนัก นกหว้าทำรังตามพื้นป่าในที่โล่ง หรือตามซุ้มกอ พืชซึ่งมักปิดด้านบนไว้มิดชิด ทำให้มองเห็นได้ยาก ใน รังอาจมีหญ้าหรือใบไม้แห้งรองรัง รังมีไข่เพียง 1 ฟอง แต่บางรังก็มี 2 ฟอง ตัวเมียฟักไข่เพียงตัวเดียว หากออกไข่มากกว่า 1 ฟอง มันจะเริ่มฟักเมื่อออกไข่ฟองสุดท้ายแล้ว ใช้เวลาฟักไข่ 26-28 วัน ลูกนกแรกเกิดลืมตาได้ มีขนอุยปกคลุมทั่วตัว และสามารถเดินตามแม่ไปหาอาหารได้ทันทีที่ขนแห้ง ลูกนกต้องใช้เวลา 2-3 ปีจึงเป็นตัวเต็มวัย ตัวเมียจะโตเต็มวัยเร็วกว่าตัวผู้ นกหว้าในกรงเลี้ยงมีการออกไข่ทดแทนหากนำไข่ออกไปเช่นเดียวกับไก่ป่า ไก่ฟ้า และนกยูง

ไข่ :ไข่สีขาวหรือสีครีม อาจมีลาย แต้มสีน้ำตาลเล็กน้อย มีขนาดเฉลี่ย 47x66.0 มม.

สถานภาพ :นกหว้าเป็นนกประจำถิ่น ปัจจุบัน น ในธรรมชาติหายากและปริมาณน้อยมาก พบเฉพาะทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป

กฎหมาย :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง(1990) จัดเป็นสัตว์ที่มีแนวโน้มจะสูญพันธุ์


Great Argus1.jpg Great Argus2.jpg Great Argus3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/90/Great_Argus_female_RWD.jpg/220px-Great_Argus_female_RWD.jpg
http://www.xn--12c4dtc9cvah.com/images/column_1402564163/%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%B2.jpg
https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_882.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201301/29/49819843c.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต