ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกหัวขวานป่าไผ่"

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Picidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Gecinulus viridis '' (...")
 
(ล็อก "นกหัวขวานป่าไผ่" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะ...)
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 02:18, 31 มกราคม 2563

Bamboo Woodpecker.jpg

วงศ์:Picidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Gecinulus viridis (Blyth) 1862.
ชื่อสามัญ:Bamboo Woodpecker
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Green Bamboo Woodpecker

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gecinulus viridis ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ virid, -esc หรือ viridis แปลว่าสีเขียว ความหมาย คือ “นกที่มีสีเขียว” พบครั้งแรกที่เมืองพะโค ประเทศพม่า ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมีนกหัวขวานป่าไผ่ 2 ชนิดย่อยคือ Gecinulus viridis viridis Blyth ชื่อ ชนิดย่อยมีที่มาและความหมายเช่นเดียวกับชื่อชนิด และ Gecinulus viridis robinsoni Boden Kloss to ชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อของบุคคล พบชนิดย่อยนี้ครั้ง แรกที่ประเทศมาเลเซีย ในอดีตนักปักษีวิทยาจัดนกหัวขวานหัวเหลือง และนกหัวขวานป่าไผ่เป็นชนิดเดียวกัน แต่ต่างชนิดย่อย โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gecinulus grantia ต่อมา ยกฐานะแต่ละชนิดย่อยเป็นชนิด

กระจายพันธุ์ :เป็นนกเฉพาะถิ่นที่พบในพม่า ไทย ลาว และมาเลเซีย

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (27-28 ซม.) ปากสีออกขาว หัวสีเหลืองแกมสีน้ำตาล ลำตัวด้านบนสีเขียวแกมเหลือง ตะโพกสีแดง ลำตัวด้าน ตาลแกมเขียว ตัวผู้ต่างจากตัวเมียตรงที่กระหม่อมและท้ายทอยของตัวผู้เป็นสีแดง

อุปนิสัยและอาหาร:อาศัยอยู่ตามป่าไผ่ ป่าดง และป่าเบญจพรรณ ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระ ความสูง 1,400 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอง โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ หากินตามลำต้นของต้นไม้หรือลำไผ่ขนาดใหญ่ บางครั้งหากินตามไม้ล้ม ไม่พบหากิน ตามพื้นดิน เป็นนกที่ส่งเสียงร้องเกือบตลอดเวลาเช่น เดียวกับนกหัวขวานหัวเหลือง อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ มด ตัวอ่อนของด้างที่ เจาะต้นไม้และลำไผ่ มันหาอาหารด้วยการใช้ลิ้นยาว ชอนไชไปตามโพรงหรือรูซึ่งเป็นที่อยู่ของเหยื่อ บาง ครั้งก็ใช้ปากจิกเปลือกไม้ให้หลุดออกเพื่อหาเหยื่อที่อยู่ ใต้เปลือกไม้

การผสมพันธุ์ : นกหัวขวานป่าไผ่ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทำรังโดยธพรงต้นไม้ โดยเฉพาะไม้ยืนต้นตายที่ค่อนข้างผุ มักเป็นโพรงที่มันขุดเจาะเอง มันอาจใช้โพรงเดิมทำรังในปีต่อไป แต่มักเจาะปากโพรงซึ่ง เป็นทางเข้าออกใหม่ ยังเป็นที่สงสัยว่านกที่ใช้โพรงเดิมทำรั้งนี้ จะเป็นคู่เดิมที่เคยใช้โพรงนี้มาก่อนหรือเป็นนกคู่ ใหม่ โพรงมักอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 1-6 เมตร บางคู่ทำรังในปล้องไผ่ โดยเจาะปากโพรงเหนือข้อไผ่ประมาณ 10-15 ซม. แล้ววางไข่ข้างใน รังมีไข่ 3 ฟอง ทั้งสองเพศ ช่วยกันขุดโพรง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาพัก ไข่ 14-15 วัน ลูกนกแรกเกิดไม่มีขนปกคลุมร่างกาย และยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องช่วยกันกก และป้อนอาหารจนลูกนกแข็งแรงและบินได้ดี ประมาณ 1 เดือนหลังออกจากไข่ ลูกนกจะทิ้งรังไปหากินตามลำพัง

ไข่ :ไข่สีขาว มีขนาดเฉลี่ย 19.0x25.1 มม.

สถานภาพ :นกหัวขวานป่าไผ่เป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก ชนิดย่อย viridis พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ตั้งแต่คอ คอดกระขึ้นมา ชนิดย่อย robinsoni พบทางภาคใต้ ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Bamboo Woodpecker1.jpg Bamboo Woodpecker2.jpg Bamboo Woodpecker3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://live.staticflickr.com/8562/16235282938_eccd9b92c6_b.jpg
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2015_05_12_21_55_07.jpg
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/bamboo_woodpecker_2.jpg
https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_825.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต