ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกคัคคูสีม่วง"

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Halcyonidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Chrysococcyx xanthorhy...")
 
(ล็อก "นกคัคคูสีม่วง" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู...)
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 01:08, 31 มกราคม 2563

Violet Cuckoo.jpg

วงศ์:Halcyonidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Chrysococcyx xanthorhynchus (Horsfield) 1821.
ชื่อสามัญ:Violet Cuckoo
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:-

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chrysococcyx xanthorhynchus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษา กรีกคือ xanth, -o หรือ xanthos แปลว่าสีเหลือง และ rhynch, -o, =us หรือ rhunkhos แปลว่าปาก ความหมายคือ “นกที่มีปากสีเหลือง” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย Howard and Moore (1980) จัดนกคัดคูสีม่วงไว้ในสกุล Chalcites แต่ Smythies (1986) ถือว่า Chalcites เป็นชื่อพ้อง ทั่วโลกมีนก คัดคูสีม่วง 4 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Chrysococcyx xanthorhynchus limborgi Tweeddale ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อของบุคคล พบครั้งแรกที่เทือกเขาตะนาวศรี ประเทศพม่า

กระจายพันธุ์ : ในอินเดีย จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และ ฟิลิปปินส์

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (19 ซม.) มี ลักษณะคล้ายกับนกเขียวก้านตองชนิดอื่น ๆ แต่บริเวณ ขนปีกและขอบของขนหางมีสีฟ้า ตัวผู้บริเวณคอหอย และใบหน้าเป็นสีดำมีแถบสีม่วงน้ำเงินบริเวณใกล้มุมปาก บริเวณหัวมีสีเหลืองหรือออกเหลืองรวมถึงโดยรอบคอหอย ลำตัวด้านบนสีเขียว ลำตัวด้านล่างสีเขียวแกมเหลือง ตัวเมียไม่มีสีดำบริเวณใบหน้าและคอหอย ลักษณะอื่นคล้ายกับตัวผู้เป็นนกขนาดเล็ก (16-17 ซม.) ตัวเต็มวัยมีแถบสีขาวที่ขนปีกด้านล่างแคบและสั้นกว่า ของนกคัดคูมรกต ตัวผู้หัว คอ ลำตัวด้านบน คอหอย และอกตอนบนสีม่วงแกมม่วงแดง บริเวณท้อง ขน “คลุมโคนขนหางด้านล่าง และขนคลุมขนปีกด้านล่าง เป็นลายสีขาวสลับม่วงอ่อน ปากสีเหลือง โคนปากสี แดง วงรอบเบ้าตาสีแดงแกมสีส้ม ตัวผู้ที่ยังไม่เต็มวัยบริเวณหน้าผาก หัวด้านข้าง และลำตัวด้านล่างทั้งหมด มีลายสีขาว ตัวเมียแตกต่างจากตัวเมียนกคัดคูมรกต ตรงที่บริเวณกระหม่อมและท้ายทอยเป็นสีน้ำตาลเข้ม บริเวณหน้าผากอาจมีจุดสีขาวแต่ไม่เด่นชัดนัก ลำตัว ด้านบนสีทองแดงแกมเขียว ลำตัวด้านล่างสีขาวมีลาย สีน้ำตาลเข้ม ขนหางคู่นอก ๆ ส่วนใหญ่มีสีน้ำตาลเหลือง เข้ม วงรอบเบ้าตาสีแดง ตัวไม่เต็มวัยลักษณะคล้าย ตัวเมีย แต่ลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลเหลืองหม่น ช่วง ไหล่มีลายสีเข้มและสีเขียวเป็นมัน ขนปีกด้านล่างไม่ มีแถบสีขาว โคนปากไม่มีสีแดง โคนขากรรไกรบนสี น้ำตาลเข้ม โคนขากรรไกรล่างสีออกเหลือง

อุปนิสัยและอาหาร :อาศัยอยู่ตามป่าเบญจพรรณ และป่าดงดิบ ปกติต่ำกว่าระดับ 600 เมตร แต่บางครั้งพบหากินที่ความสูง 1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเล มันเป็นนกที่ไม่ค่อยร้อง ในช่วงฤดูผสมพันธุ์จึงจะส่ง เสียงร้อง “กี-วิก กี-วิก” ขณะร้องมันมักเกาะตามกิ่ง ไม้แห้งหรือยอดไม้ ส่วนใหญ่มันจะร้องในช่วงเช้าและเย็นค่ำอาหาร ได้แก่ แมลงและตัวหนอนต่าง ๆ มันหาอาหารโดยกระโดดจิกกินตามกิ่งและยอด โฉบกลางอากาศใกล้กับที่เกาะ นอกจากนี้ยังมีผู้รายงานว่ามันกินผลไม้ที่มีเปลือกอ่อนบางชนิด

การผสมพันธุ์ : นกคัดคูสีม่วงวางไข่ในรังของนก โดยเฉพาะนกกินปลีและนกปลีกล้วยบางชนิด ซึ่งมีฤดู ผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ไข่ของนกคัดคูสีม่วงมีขนาดเฉลี่ย 12.5x17.2 มม. ซึ่งใหญ่กว่าไข่ของนกเจ้าของรัง แต่มีรูปร่างลักษณะ และสีใกล้เคียงกับไข่ของนกเจ้าของรัง เมื่อวางไข่แล้ว มันจะไม่สนใจไข่ของมันเองอีกเลย ปล่อยให้นกเจ้าของ รังฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน

สถานภาพ : นกคัดคูสีม่วงเป็นนกประจำถิ่น บาง ส่วนเป็นนกอพยพมาสมทบในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนักทั่วทุกภาค

กฎหมาย : นกคัดคูสีม่วงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือไม่ ยังมี ปัญหาในแง่กฎหมาย เพราะกฎหมายระบุเพียงนกคัดคูมรกตหรือคัดคูมรกตทุกชนิดในสกุล (Genus) ChrySococcyx เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งมีเพียงชนิดเดียว ไม่ได้ระบุชื่อนกคัดคูสีม่วงแต่อย่างใดแม้จะอยู่ในสกุล เดียวกัน กฎหมายน่าจะระบุว่านกคัดคูมรกตหรือคัดคู มรกต และนกทุกชนิดในสกุล (Genus) Chrysococcyx เพื่อให้ครอบคลุมนกทุกชนิดในสกุลนี้


Violet Cuckoo1.jpg Violet Cuckoo2.jpg Violet Cuckoo3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_1646.jpg
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/violet_cuckoo_copy2.jpg
https://live.staticflickr.com/3766/9238104822_f824cf8ee2_b.jpg
https://live.staticflickr.com/7487/15496559604_d4a679278c_b.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต