ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกินแมลงป่าฝน"
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Sylviinae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Malacocincla abbotti'' (Blyth...") |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 21:14, 30 มกราคม 2563
วงศ์:Sylviinae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Malacocincla abbotti (Blyth), 1845.
ชื่อสามัญ:Abbott's babbler
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:นกกินแมลงป่าฝน , Abbott's jungle babbler
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Malacocincla abbotti ชื่อชนิดมาจากชื่อของพันโท J.R. Abbott (ค.ศ.1811-1888) ผู้ช่วยผู้ปกครองอาณานิคมของอังกฤษประจำหม่า ระหว่างปี ค.ศ.1837-1845 พบครั้งแรกที่ประเทศพม่า ทั่วโลกมี 9 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 4 ชนิดย่อยคือ
- Malacocincla abbotti abbotti (Blyth) ที่มาของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด
- Malacocincla abbotti williamsoni Deignan ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อของ Kenneth Williamson นักปักษีวิทยาชาวอังกฤษ พบครั้งแรกที่จังหวัดนครราชสีมา
- Malacocincla abbotti obscurius (Deignan) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ obscurus แปลว่าสีเข้มหรือสีเทา ความหมายคือ "มีสีค่อนข้างทึมหรือสีเทา" พบครั้งแรกที่จังหวัดจันทบุรี
- Malacocincla abbotti olivaceum (Strickland) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ oliv, =a, -ace แปลว่าสีเขียว ความหมายคือ "สีออกเขียว" พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย
Lekagul and Round (1991) ใช้ชื่อนกชนิดนี้ว่า นกกินแมลงป่าฝน คำว่าป่าฝนอาจแปลมาจากคำว่า rain forest ซึ่งก็คือ ป่าดิบชื้นหรือป่าดงดิบชื้นนั่นเอง ในหนังสือเล่มนี้จึงใช้ชื่อนกตามสภาพถิ่นที่อยู่อาศัยที่เป็นภาษาไทยคือป่าดิบ แทนคำว่าป่าฝน
กระจายพันธุ์ : ตั้งแต่เนปาลจนถึงอัสสัม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (17 ซม.) สันขากรรไกรบนยาวกว่า 17 มม. ปีกปกติยาว 70 มม. หางยาวกว่า 49 มม. ปากใหญ่ กระห่อมและหลังสีน้ำตาลแกมเขียว หัวด้านข้างสีน้ำตาล หน้าผากมีลายขีดสีเหลือง แต่มองไม่เห็นเมื่อดูในธรรมชาติ คอหอยและท้องสีออกขาว อกสีน้ำตาลถึงเขียวแกมเหลือง สีข้างสีน้ำตาล แต่ชนิดย่อยที่พบทางตอนเหนือจะมีสีสดใสกว่า ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีน้ำตาลเหลือง นิ้วสีซีด ท้องและกลางอกสีออกเหลือง
อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น และบางครั้งพบในป่ารุ่น ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ หากินตามกิ่งของไม้พุ่ม ลูกไม้ หรือไม้พื้นล่างในระดับเกือบติดพื้นดิน อาหารได้แก่ แมลง ตัวหนอน และไข่ของแมลง
การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อต้นฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ทำรังเป็นรูปถ้วย เส้นผาสศูนย์กลาง 12-15 ซม. รังอยู่ตามง่ามหรือกิ่งของไม้พุ่ม ลูกไม้ หรือกอหญ้า สูงจากพื้นดินประมาณ 0.45-1.8 เมตร วัสดุที่ใช้ทำรังประกอบด้วยหญ้า ใบไม้แห้ง และมอส แล้งรองพื้นรังด้วยรากฟอย รังมีไข่ 3-5 ฟอง
ไข่ : สีชมพู มีลายขีด ลายจุด และลายดอกดวงสีแดงเข้ม ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 16.2x21.8 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ยังไม่ทราบระยะเวลาฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน นกกินแมลงป่าดิบมักถูกนกคัดคูสีม่วงแอบมาวางไข่ในรังให้เจ้าของรังฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อนแทน
สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย williamsoni พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (จังหวัดนครราชสีมา) ชนิดย่อย obscurius พบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ชนิดย่อย abbotti พบทางภาคตะวันตกและภาคใต้จนถึงจังหวัดสตูล และชนิดย่อย olivaceum พบทางภาคใต้ตอนใต้สุด
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
แหล่งที่มาของภาพ
https://www.google.com/search?biw=1536&bih=706&tbm=isch&sxsrf=ACYBGNSDrwnpGZfjXzSQIuy4KqK4yYCHPQ%3A1573048397944&sa=1&ei=TdDCXY-fOfTCz7sP_-mskAs&q=%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9D%E0%B8%99&oq=%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9D%E0%B8%99&gs_l=img.3..0.519015.531967..533113...3.0..0.1089.6298.9j1j1j6-1j4......0....1..gws-wiz-img.......35i39j0i24.D1Zh2iUK4HA&ved=0ahUKEwjP-eT33dXlAhV04XMBHf80C7IQ4dUDCAc&uact=5
https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_585.jpg
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2018_04_15_18_59_55.jpg
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2010_09_22_14_30_58.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต