ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกหัวขวานแดงลาย"
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Picidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Picus mineaceus'' (Pen...") |
ล (ล็อก "นกหัวขวานแดงลาย" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะ...) |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 02:16, 31 มกราคม 2563
วงศ์:Picidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Picus mineaceus (Pennant), 1769.
ชื่อสามัญ:Banded woodpecker
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Banded red woodpecker
นกหัวขวานแดงลายมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Picus mineaceus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ mini,-a,=um แปลว่าตะกั่วแดง และ –aceus เป็นคำลงท้าย แปลว่าเป็นของ ความหมายคือ “นกที่มีสีแดง” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมีนกหัวขวานแดงลาย 5 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Picus mineaceus perlutus (Boden Kloss) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ perl,=a แปลว่าไข่มุก และ –tus เป็นคำลงท้ายในภาษาละติน ความหมายคือ “นกที่มีลายจุดสีขาวคล้ายไข่มุก” พบครั้งแรกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และ Picus mineaceus malaccensis Latham ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือรัฐมะละกา (Malacca) ประเทศมาเลเซีย
กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะซุนดาใหญ่
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (25 ซม.) ตัวผู้กระหม่อมและท้ายทอยมีพุ่มหงอนขนสีแดง ปลายพุ่มหงอนขนเป็นสีเหลือง บริเวณด้านข้างของหัวเป็นสีแดง หลังและช่วงไหล่เป็นลายสีเขียวแกมน้ำตาลสลับสีอ่อนกับสีเข้ม ปีกสีแดง อกและคอหอยสีน้ำตาล ลำตัวด้านล่างเป็นลายสีน้ำตาลแกมเขียว ตัวเมียบริเวณด้านข้างของหัวไม่มีสีแดง ตัวไม่เต็มวัยกระหม่อมมีสีแดง ไม่มีพุ่มหงอนขน ถ้ามีก็จะไม่มีสีเหลือง
อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบ ป่ารุ่น สวนป่า และสวนยางพารา ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั้งความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ หากินตามลำต้นและกิ่งไม้ใหญ่ ไม่ค่อยพบลงมาหากินตามพื้นดินอย่างนกหัวขวานเขียว อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ มด ปลวก ไข่และตัวหนอนของแมลง อุปนิสัยอื่นไม่แตกต่างจากนกหัวขวานในสกุลเดียวกัน
การผสมพันธุ์ : นกหัวขวานแดงลายผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทั้งสองเพศจะช่วยกันขุดโพรงทำรังตามต้นไม้เนื้ออ่อน รวมทั้งต้นยางพารา หรือตามไม้ยืนต้นตายที่ค่อนข้างผุ ไข่สีขาวและมีขนาดเล็กกว่าไข่ของนกหัวขวานเล็กหงอนเหลืองเล็กน้อย ชีววิทยาการสืบพันธุ์อื่นไม่แตกต่างจากนกหัวขวานเล็กหงอนเหลือง
สถานภาพ : นกหัวขวานแดงลายเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย perlutus พบตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จนถึงคอคอดกระ ชนิดย่อย malaccensis พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไปจนถึงใต้สุดของประเทศ
กฎหมาย : จัดนกหัวขวานแดงลายทุกชนิดย่อยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
แหล่งที่มาของภาพ
https://www.google.com/search?biw=1536&bih=706&tbm=isch&sxsrf=ACYBGNQjJPWyUY8vq3NrNULN4QBYEX-TMQ%3A1573229418847&sa=1&ei=apPFXcunM-7A3LUP5OGR0Ag&q=%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2&oq=%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2&gs_l=img.3..0j0i333.141714.151691..153163...0.0..0.98.1190.14......0....1..gws-wiz-img.......35i39j0i67.0JiCXsYNZH0&ved=0ahUKEwjLhKSlgNvlAhVuILcAHeRwBIoQ4dUDCAc&uact=5#imgrc=B-uO-OXnfLkRTM:
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/banded_yellownapemaledrinking53aipoh_perak_malaysia4th_june_2012.jpg
https://www.google.com/search?biw=1536&bih=706&tbm=isch&sxsrf=ACYBGNQjJPWyUY8vq3NrNULN4QBYEX-TMQ%3A1573229418847&sa=1&ei=apPFXcunM-7A3LUP5OGR0Ag&q=%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2&oq=%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2&gs_l=img.3..0j0i333.141714.151691..153163...0.0..0.98.1190.14......0....1..gws-wiz-img.......35i39j0i67.0JiCXsYNZH0&ved=0ahUKEwjLhKSlgNvlAhVuILcAHeRwBIoQ4dUDCAc&uact=5#imgrc=5N_2JtlJbVGn4M:
http://www.savebird.com/Bird_Image/PICIFORMES/WP_band.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต