ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกจับแมลงคอแดง"
ล (ล็อก "นกจับแมลงคอแดง" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผ...) |
|||
แถว 18: | แถว 18: | ||
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | '''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' | ||
+ | [[File:youtube01.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=ibX0nHDSx2g//https:|link=//https://www.youtube.com/watch?v=ibX0nHDSx2g]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=ibX0nHDSx2g นกจับแมลงคอแดง] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Red-throated1.jpg]] [[ไฟล์:Red-throated2.jpg]] [[ไฟล์:Red-throated3.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:Red-throated1.jpg]] [[ไฟล์:Red-throated2.jpg]] [[ไฟล์:Red-throated3.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 22:47, 7 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์:Muscicapidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Ficedula parva (Bechstein) 1792.
ชื่อสามัญ:Red-throated Flycatcher
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Red-breasted Flycatcher
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ficedula parvaชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ parv, -i หรือ parvus แปลว่าเล็ก ความหมายคือ "นกที่มีขนาเล็ก" ทั่วโลกมี 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Trica dula parva albicilla (Pallas) ชื่อชนิดย่อย รากศัพท์ภาษาละตินคือ alb, -i, -id หรือ albu ว่าสีขาว และ cill, =a, -o แปลว่าหาง ความหมายคือ “นกที่มีขนหางเป็นสีขาว” พบครั้งแรกที่ประเทศรัสเซีย
กระจายพันธุ์ :ในยุโรป เอเชียตอนเหนือ แอฟริกา ตอนเหนือ อินเดีย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะ ไหหลำ และเกาะบอร์เนียว
ลักษณะทั่วไป :เป็นนกขนาดเล็กมาก (13 ซม.) ตัวผู้ช่วงฤดูผสมพันธุ์คอหอยสีส้มถึงน้ำตาลแดง ตัด กับสีของอกและด้านข้างของหัวที่เป็นสีเทา ท้องสีขาว หางสีน้ำตาล โคนหางด้านนอกมีแถบสีขาว ตัวผู้ช่วง นอกฤดูผสมพันธุ์และตัวเมียคอหอยสีขาว ตัดกับสีของ อกและด้านข้างของหัวสีออกน้ำตาลถึงเทา
อุปนิสัยและอาหาร :อุปนิสัยและอาหาร อาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ชายป่า สวนผลไม้ และป่าละเมาะ ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่ง ความสูง 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดด เดี่ยว แต่อาจพบอยู่รวมกับนกจับแมลงและนกขนาด เล็กอื่น ๆ มักอาศัยและหากินตามกิ่งของไม้พุ่มหรือ ต้นไม้ระดับต่ำ โดยการโฉบจับแมลงกลางอากาศ จากกิ่งไม้หนึ่งไปยังอีกกิ่งไม้หนึ่ง บางครั้งโฉบลงมาบนพื้นดิน ขณะเกาะตามปกติมักกระดกหางขึ้นลง และแผ่ขนหางออก ทำให้เห็นหางเป็นสีดำและโคนเป็นสีขาวชัดเจน มักมีกิจกรรมในช่วงเช้าตรู่และเย็นค่ำมากกว่าช่วงอื่น ๆ โดยเฉพาะบางตัวโฉบจับแมลงในช่วงเกือบจะค่ำ ซึ่งอาหารในช่วงนี้ ได้แก่ ยุง
การผสมพันธุ์ :ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ใน ประเทศไทย
สถานภาพ :เป็นนกอพยพมาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อยและปริมาณมาก พบทั่วทุกภาคของประเทศ แต่หายากทางภาคใต้ตอนใต้สุด
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> นกจับแมลงคอแดง <<<แหล่งที่มาของภาพ
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2018_04_08_17_40_34.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/album_data/948/38948/album/45991/images/415391.jpg
https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_815.jpg
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/taiga_flycatchet_2-1.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต