ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกจับแมลงจุกดำ"

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(ล็อก "นกจับแมลงจุกดำ" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผ...)
 
แถว 24: แถว 24:
 
 
 
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 +
 +
'''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม'''
 +
[[File:youtube01.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=tqkMScqwxqk//https:|link=//https://www.youtube.com/watch?v=tqkMScqwxqk]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=tqkMScqwxqk นกจับแมลงจุกดำ] <<< <br><br>
 
----
 
----
 
<center>[[ไฟล์:Black-naped1.jpg]] [[ไฟล์:Black-naped2.jpg]] [[ไฟล์:Black-naped3.jpg]]</center>
 
<center>[[ไฟล์:Black-naped1.jpg]] [[ไฟล์:Black-naped2.jpg]] [[ไฟล์:Black-naped3.jpg]]</center>

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 22:49, 7 กุมภาพันธ์ 2563

Black-naped.jpg

วงศ์:Monarchidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Hypothymis azurea (Boddaert) 1783.
ชื่อสามัญ:Black-naped Monarch
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Black-naped Monarch-Flycatcher, Black-naped Blue Monarch

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypothymis azurea ชื่อ ชนิดเป็นคำในภาษาละตินสมัยกลางคือ azureus แปลว่าสีฟ้าสด ความหมายคือ “นกที่มีสีฟ้าสด” พบครั้ง แรกที่ประเทศฟิลิปปินส์ ทั่วโลกมี 19 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อย คือ 1.Hypoythymis azurea montana Riley ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ montanus (mont, -an, -i) แปลว่าภูเขา ความหมายคือ “นกที่ พบบริเวณที่สูง” พบครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่ 2. Hypothymis azurea galerita (Deignan) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ galer แปล ว่ากระหม่อม และ -ta เป็นคำลงท้าย ความหมายคือ “บริเวณกระหม่อมมีลักษณะเด่น” พบครั้งแรกที่ จังหวัดตราด และ 3. Hypothymis azurea prophata Oberholser ไม่ทราบที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อย พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย

กระจายพันธุ์ : ในอินเดีย จีนตอนใต้ เอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ ไต้หวัน หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะซุนดา และฟิลิปปินส์

ลักษณะทั่วไป :เป็นนกขนาดเล็ก (17 ซม.) หางยาวเรียว รูปร่างโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับพวกนก อีแพรด ตัวผู้ลำตัวส่วนใหญ่เป็นสีน้ำเงิน มีจุดกลมสี ดำบริเวณใกล้ท้ายทอย อกมีลายพาดแคบ ๆ สีดำ ท้อง และขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีขาว ตัวเมียลักษณะ คล้ายตัวผู้ แต่ไม่มีจุดสีดำบริเวณใกล้ท้อยทอยและสีดำ ที่เป็นลายพาดที่คอ อกสีออกเทา ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล แกมเทา

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ และป่ารุ่น ตั้งแต่พื้นราบจน กระทั่งความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ช่วง ฤดูอพยพอาจพบได้ในสวนผลไม้และป่าชายเลน มัก พบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ และอาจพบอยู่รวมกับนก ขนาดเล็กอีกหลายชนิด อาศัยและหากินตามกิ่งไม้ใน ระดับสูงเมื่อเทียบกับนกจับแมลงอื่น ๆ แต่อาจพบได้ ตามพุ่มไม้และไม้พื้นล่าง เป็นนกที่ไม่ค่อยหยุดนิ่งกับที่มักเคลื่อนไหวไปตามกิ่งไม้ด้วยการกระโดดหรือบิน ขณะเกาะตามปกติจะยกหางขึ้นเล็กน้อย และแผ่ขนหางออกบางส่วนคล้ายพวกนกอีแพรด อาหาร ได้แก่ แมลง โดยการโฉบจับกลางอากาศใกล้ที่เกาะ หรือจิกกินตามกิ่งและลำต้นของต้นไม้ บางครั้งลงมาจิกกินบนพื้นดิน

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม รังเป็น รูปถ้วยหรือรูปกรวยหงาย บางรังบริเวณก้นรังแหลมคล้ายหางยื่นยาว ประกอบด้วยหญ้า เปลือกไม้ วัสดุ เส้นใย มอส อัดและเชื่อมกันด้วยใยแมงมุม และอาจมีพวกมอสมาเสริมขอบนอกของรังทำให้รังหนาขึ้น รองพื้นด้วยใบหญ้าละเอียด รังอยู่ตามกิ่งของไม้ต้นหรือไม้พุ่ม โดยเชื่อมรังติดกับกิ่งไม้ด้วยวิธีเดียวกับการสร้างรังความกว้างปากรังด้านนอก 77.62 มม. ปากรังด้านใน 58.32 มม. และความลึกของรังภายใน 39.24 มม. ปกติรังอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 3-4 เมตร แต่อาจพบ ได้ในความสูงเพียง 60 ซม. หรือสูงเกินกว่า 9 เมตร ซม. รังมีไข่ 3-4 ฟอง

ไข่ : ไข่มีรูปร่างกลมรีสีขาวแกมสีครีม มีลายดอกดวง และลายจุดสีน้ำตาล โดยเฉพาะไข่ป้าน ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 13.3x17.6 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ โดยใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 12 วัน และช่วยกันเลี้ยงดูลูกอ่อน ลูกนกจับแมลงจุกดำเป็นลูกอ่อนเดินไม่ได้ จะอยู่ในรังประมาณ 7-10 วัน (ศศิธร, 2539) จากนั้นจะทิ้งรังไป มีลายดอกควง และลายจุดน้ำตาล โดยเฉพาะไข่ป่าน ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 13.3X17.5 มม สองเพศช่วยกันทํารัง ฟักไข่ โดยใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 12 วัน และช่วยกันเลี้ยงดูลูกอ่อน ลูกนกจับแมลงจุกดําเป็นลูกอ่อนเดินไม่ได้ จะอยู่ในรังประมาณ 2-10 วัน (ศศิธร, 2539) จากนั้นจะทิ้งรังไป

สถานภาพ :เป็นทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ มาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อยและปริมาณมาก ชนิดย่อย montana พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนเหนือ ชนิดย่อย galerita พบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบน และชนิดย่อย prophata พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=tqkMScqwxqk//https:
>>> นกจับแมลงจุกดำ <<<


Black-naped1.jpg Black-naped2.jpg Black-naped3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/blacknapedmonarch_dollylaishram.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/album_data/948/38948/album/40072/images/377687.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/album_data/948/38948/album/40072/images/377690.jpg
https://live.staticflickr.com/856/42699291205_1a62b0e677_b.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต