ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกจับแมลงอกส้มท้องขาว"

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(ล็อก "นกจับแมลงอกส้มท้องขาว" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญา...)
 
แถว 20: แถว 20:
 
 
 
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 +
 +
'''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม'''
 +
[[File:youtube01.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=Ft2s6qfPW3g//https:|link=//https://www.youtube.com/watch?v=Ft2s6qfPW3g]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=Ft2s6qfPW3g นกจับแมลงอกส้มท้องขาว] <<< <br><br>
 
----
 
----
 
<center>[[ไฟล์:Tickell's1.jpg]] [[ไฟล์:Tickell's2.jpg]] [[ไฟล์:Tickell's3.jpg]]</center>
 
<center>[[ไฟล์:Tickell's1.jpg]] [[ไฟล์:Tickell's2.jpg]] [[ไฟล์:Tickell's3.jpg]]</center>

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 22:57, 7 กุมภาพันธ์ 2563

Tickell's.jpg

วงศ์:Muscicapidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Cyornis tickelliae (Blyth), 1843.
ชื่อสามัญ:Tickell's Blue Flycatcher
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Red-breasted Blue Flycatcher, Tickell's Niltava

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyornis tickelliae ชื่อ ชนิดดัดแปลงมาจากชื่อของ Mrs. Tickell ภรรยาของ พันเอก Samuel Richard Tickell (ค.ศ. 1811-1875) นักการทหารชาวอังกฤษประจำอินเดียและพม่า นักปักษีวิทยา และนักเขียน พบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย ทั่วโลกมี 4 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อย คือ Cvormis tickeliae indochina Chasen and Boden Kloss ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อสถานที่ คือ อินโดจีน พบครั้งแรกที่ประเทศเวียดนาม และ Cyornis tickelliae sumatrensis (Bowdler Sharpe)ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย

กระจายพันธุ์ : ในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเกาะสุมาตรา

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็กมาก (15 ซม.) ตัวผู้แทบไม่แตกต่างจากนกจับแมลงคอน้ำตาลแดงตัวผู้ แต่บางครั้งลำตัวด้านบนสีจางแต่สดใสกว่า มีรอยตัด ชัดเจนระหว่างอกสีส้มถึงน้ำตาลแดงกับท้องที่เป็นสีขาว สีข้างและขนคลุมขนปีกด้านล่างสีออกขาว มีลายแต้ม สีส้มถึงน้ำตาลแดงเล็กน้อย ตัวเมียชนิดย่อย surmatrensis ลักษณะคล้ายกับตัวผู้ แต่ลำตัวด้านบนสีจางกว่าและเป็นสีน้ำเงินน้อยกว่า ชนิดย่อยอื่นลักษณะคล้าย กับตัวเมียของนกจับแมลงคอน้ำตาลแดง แต่ลำตัวต้านบนมีลายแต้มสีเทาแกมน้ำเงิน อกและคอหอยสีน้ำตาล แดงแกมสีเนื้อตัดกับสีของท้องที่มีสีขาวชัดเจน บางครั้งมีสีน้ำเงินที่หาง หรือลายพาดสีน้ำเงินที่ลำตัวด้านบน ปีกยาว 63-77 มม.

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง ป่าไผ่ และป่ารุ่น ตั้งแต่พื้น ราบจนกระทั่งความสูง 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ และอาจพบอยู่รวมกับ นกชนิดเดียวกันหรือนกขนาดเล็กอื่น ๆ ในแหล่งหา กินเดียวกัน หากินในระดับที่ไม่สูงจากพื้นดินมากนัก อาหาร ได้แก่ แมลง โดยการโฉบจับด้วยปากกลางอากาศ ใกล้ที่เกาะ อาจลงมาไล่จิกแมลงบนพื้นดินด้วย

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนและต้น ฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน รังเป็น รูปถ้วย ส่วนใหญ่ทำด้วยมอส บางครั้งผสมด้วยหญ้า แห้งและใบไม้แห้ง รองพื้นรังด้วยรากฝอยละเอียด รังอยู่ในสถานที่เช่นเดียวกับนกจับแมลงอื่น ๆ เช่น ตลิ่ง ซอกหิน โพรงไม้ ตอไม้ เป็นต้น รังมีไข่ 3-5 ฟอง โดยพบ 3-4 ฟองบ่อยที่สุด ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 14.2x18.4 มม.

ไข่ :สีของไข่ไม่แตกต่างจากไข่ของนก จับแมลงคอน้ำตาลแดง ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง พักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ยังไม่ทราบรายละเอียดอื่น

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย indochina พบทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ชนิดย่อย sumatrensis พบเฉพาะทางภาคใต้

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=Ft2s6qfPW3g//https:
>>> นกจับแมลงอกส้มท้องขาว <<<


Tickell's1.jpg Tickell's2.jpg Tickell's3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
http://www.thaidphoto.com/forums/attachment.php?attachmentid=1697942491&stc=1&d=1302652169
https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/flycatcher%20tickell%27s%2020140114%20samui.jpg
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2018_05_29_20_36_53.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/album_data/948/38948/album/42305/images/381432.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต