ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกตะขาบดง"

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Family Coraciidae<br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Eurystomus oriental...")
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 22:25, 30 มกราคม 2563

Dollarbird1.jpg

วงศ์:Family Coraciidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Eurystomus orientalis (Linnaeus),1766.
ชื่อสามัญ:Dollarbird
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Broad-billed Roller, Red-billed Roller

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eurystomus orientalis ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ orient, -al หรือ orientis หรือ oriens แปลว่าฉาย แสงหรือทิศตะวันออก ความหมายคือ “นกที่พบในซีกโลกตะวันออก” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมีนกตะขาบดง 12 ชนิดย่อย ประเทศ ไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Eurystomus orientalis deignani Ripley ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อของ บุคคล คือ H.G, Deignan นักปักษีวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งเข้ามาศึกษานกในประเทศไทยและเขียนตําราเกี่ยวกับนกในประเทศไทยไว้หลายเล่ม พบชนิดย่อยนี้ครั้ง แรกที่จังหวัดน่าน ทางภาคเหนือของประเทศไทย และ Eurystomus orientalis cyanicollis Vieillot ชื่อชนิดย่อยมาจาก cyan, -e, -i, -o หรือ kuanos เป็น รากศัพท์ภาษากรีก แปลว่าสีน้ำเงินเข้ม (รากศัพท์ ภาษาละตินคือ cyanous ก็มีความหมายเหมือนกัน) และ coll, -i หรือ collis เป็นรากศัพท์ภาษาละติน แปลว่าคอ ความหมายคือ “นกที่มีคอสีน้ำเงินเข้ม” พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรกที่รัฐเบงกอล ประเทศอินเดีย

กระจายพันธุ์ :ตั้งแต่เนปาล อินเดียตะวันออกจีน ญี่ปุ่น เกาะไหหลำ ไต้หวัน เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะซุนดา ฟิลิปปินส์ จนถึงออสเตรเลีย

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (29-30 ซม.) ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีสันเหมือนกัน ปากกว้าง ปากและขาเป็นสีแดงแกมสีส้ม ลำตัวเป็นสีน้ำตาล แกมเขียวเข้มผสมกับสีม่วงแกมดำ บริเวณหัวมีสีเข้ม กว่าบริเวณอื่น ขณะบินจะเห็นบริเวณโคนขนปลาย ปีกมีวงสีน้ำเงินจาง ๆ บางตัวออกเป็นสีเงิน ลักษณะ คล้ายเงินเหรียญ จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญว่า Dolarbird ตัวไม่เต็มวัยปากเป็นสีดำ

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ในป่าและตามชายป่า ทั้งป่าผลัดใบ เช่น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าไม่ ผลัดใบ เช่น ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา ป่าดงดิบชื้น และป่าชายเลน ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ บางครั้งพบเป็นฝูงเล็ก ๆ นกตะขาบดงมักเกาะนิ่งเป็นเวลานานตามยอดไม้โดยเฉพาะต้นไม้ที่ยืนต้นตาย มันมีกิจกรรมส่วนใหญ่ในช่วงเช้าและบ่าย บินได้ดี และบินได้สูงพอสมควร บางครั้งใช้วิธีกระพือปีกสลับร่อนกลางอากาศช่วงสั้น ๆ อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ แมลง เช่น ด้วง ตั๊กแตน จักจั่น จิ้งหรีด ปลวกที่บินได้ เป็นต้น และสัตว์เลื้อยคลาน เช่น กิ้งก่า มันหาอาหารโดยเกาะตามกิ่งไม้แห้ง คอยจ้องหาเหยื่อ เมื่อพบแมลงบินผ่านมาก็บินออกไปโฉบจับด้วยปาก แล้วกลับมาเกาะที่เดิมหรือบริเวณใกล้เคียง บางครั้งมันก็โฉบจับเหยื่อตามพื้นดินหรือกิ่งไม้เช่นเดียวกับนกตะขาบทุ่ง แล้วอาจกลืนกินเหยื่อบนพื้นดิน หรือคาบไปกินบนกิ่งไม้

การผสมพันธุ์ :นกตะขาบดงผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทำรังตามโพรงต้นไม้ที่เกิดตามธรรมชาติ โพรงที่สัตว์ทำทิ้งไว้ หรือโพรงเก่าของนกอื่น เช่น นกหัวขวาน นกโพระดก เป็นต้น มันมักใช้โพรงเดิมทำรังเป็นประจำทุกปี หากโพรงดังกล่าวไม่ถูกทำลาย หรือไม่สามารถไล่สัตว์อื่นที่มาแย่งใช้ก่อนได้ ปกติไม่มีวัสดุรองรัง ตังผู้เกี้ยวพาราสีตัวเมียด้วยวิธีที่คล้ายคลึงกับนกตะขาบทุ่ง รังมีไข่ 3-4 ฟอง ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ ใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 17-18 วัน ลูกนกแรกเกิดยังไม่ลืมตาและไม่มีขนปกคลุมลำตัวพ่อแม่ต้องช่วยกันกกและหาอาหารมาป้อน ประมาณ 3-4 สัปดาห์ลูกนกก็แข็งแรงและบินได้ จากนั้นพวกมันจะทิ้งรังไปหากินตามลำพัง

ไข่ :ไข่ของนกตะขาบดงมีรูปร่างค่อนข้างกลม สีขาว มีขนาดเฉลี่ย 28.1x36.0 มม.

สถานภาพ : นกตะขาบดงเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย deignani พบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชนิด ย่อย cyanicollis พบทางภาคตะวันตก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้

กฎหมาย : จัดนกตะขาบดงทุกชนิดย่อยเป็นสัตว์ ป่าคุ้มครอง


Dollarbird2.jpg Dollarbird3.jpg Dollarbird4.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201511/14/53900/images/483351.jpg
https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_1240.jpg
https://live.staticflickr.com/7681/17232167752_aba98e52ab_b.jpg
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/dollarbird1cipoh_perak_malaysia27th_august_2018.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต