ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่"
ล (ล็อก "นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุ...) |
|||
แถว 20: | แถว 20: | ||
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | '''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' | ||
+ | [[File:youtube01.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=Eab7ipHir94//https:|link=//https://www.youtube.com/watch?v=Eab7ipHir94]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=Eab7ipHir94 นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Velvet-fronted2.jpg]] [[ไฟล์:Velvet-fronted3.jpg]] [[ไฟล์:Velvet-fronted4.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:Velvet-fronted2.jpg]] [[ไฟล์:Velvet-fronted3.jpg]] [[ไฟล์:Velvet-fronted4.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 23:13, 7 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์:Sittidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Sitta frontalis (Swainson) 1820.
ชื่อสามัญ:Velvet-fronted Nuthatch
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:-
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sitta frontalis ชื่อชนิด เป็นคำในภาษาละตินสมัยใหม่คือ frontalis แปลว่า หน้าผากหรือคิ้ว (รากศัพท์ภาษาลาติคือ front, -o หรือ frontis แปลว่าหน้าผาก และ -alis เป็นคำลงท้าย) ความหมายคือ “นกที่มีหน้าผากเด่น" พบครั้งแรกที่ ประเทศศรีลังกา ทั่วโลกมี 10 ชนิดย่อย ประเทศไทย พบ 2 ชนิดย่อย คือ Sitta frontalis frontalis Swainson ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่น เดียวกับชื่อชนิด และ Sittia frontalis saturatior Hartert ชื่อชนิดย่อยเป็นคำในภาษาละตินคือ saturata แปลว่าหลากสี ความหมายคือ “มีหลายสี” พบครั้งแรกที่รัฐปาหัง ประเทศมาเลเซีย
กระจายพันธุ์ : ในอินเดีย ศรีลังกา จีนตอนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และฟิลิปปินส์
ลักษณะทั่วไป :เป็นนกขนาดเล็กมาก (12 ซม.) ตัวผู้ปากสีแดงสด หน้าผากสีม่วงถึงดำ ลำตัวด้านบน สีน้ำเงินแกมม่วง คอหอยสีขาว ลำตัวด้านล่างสีเทา มี คิ้วเป็นแถบเล็ก ๆ สีดำ ตัวเมียคล้ายกับตัวผู้แต่ไม่มีคิ้ว ตัวไม่เต็มวัยคล้ายตัวโตเต็มวัยแต่ปากสีดำ ลำตัวด้าน ล่างออกสีน้ำตาลอ่อน
อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา และป่าสนเขาตั้งแต่พื้นราบจนกะทั่งความสูง 1,800 เมตรจากระดับ น้ำทะเล อุปนิสัยโดยทั่วไปไม่แตกต่างจากนกไต่ไม้ ท้องสีเม็ดมะขาม และบ่อยครั้งที่พบหากินร่วมกัน
การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดู ฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ทำรังตาม โพรงของกิ่งและลำต้นของต้นไม้ สูงจากพื้นดิน 1-12 เมตร มักเป็นโพรงตามธรรมชาติหรือโพรงเก่าของนก และสัตว์อื่น รองพื้นด้วยมอส ขนนก และขนของสัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนม ปากทางเข้าออกมักปิดด้วยโคลนหาก มีขนาดใหญ่เกินไป แต่มักเลือกโพรงที่มีปากโพรงพอดี รังมีไข่ 4-5 ฟอง
ไข่ : สีของไข่คล้ายกับสีของนกไต่ไม้ท้อง สีเม็ดมะขาม แต่มีขนาดเล็กกว่าโดยมีขนาดโดยเฉลี่ย 13.2X17.2 มม. ชีววิทยาการสืบพันธุ์อื่นไม่แตกต่าง จากนกไต่ไม้ท้องสีเม็ดมะขาม
สถานภาพ :เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมาก จัดเป็นนกไต่ไม้ที่พบบ่อยมากที่สุด ชนิดย่อย frontalis พบทั่วทุกภาคยกเว้นภาคใต้เหนือคอคอดกระ และชนิดย่อย saturatior พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอด กระลงไป
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ <<<แหล่งที่มาของภาพ
http://topicstock.pantip.com/blueplanet/topicstock/2011/01/E10109872/E10109872-2.jpg
https://download.ams.birds.cornell.edu/api/v1/asset/149981991/1800
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/album_data/948/38948/album/47787/images/431109.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/album_data/948/38948/album/47787/images/431114.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต