ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกปรอดทอง"
ล (ล็อก "นกปรอดทอง" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแ...) |
|||
แถว 20: | แถว 20: | ||
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | '''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' | ||
+ | [[File:youtube01.png|left|https://https://www.youtube.com/watch?v=5CaULCUP568//https://www.youtube.com/watch?v=5CaULCUP568]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=5CaULCUP568 นกปรอดทอง] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Black-headed1.jpg]] [[ไฟล์:Black-headed2.jpg]] [[ไฟล์:Black-headed3.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:Black-headed1.jpg]] [[ไฟล์:Black-headed2.jpg]] [[ไฟล์:Black-headed3.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 15:21, 10 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์:Pycnonotidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Pycnonotus atriceps (Temminck) 1822.
ชื่อสามัญ:Black-headed Bulbul
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:-
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus atriceps ชื่อ ชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ atr, -i หรือ ater แปลว่าสีดํา และ =ceps แปลว่าหัว ความหมายคือ “นกที่มีหัวสีดำ” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี 5 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิด ย่อย คือ Pycnonotus atriceps atriceps (Temminck) ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด
กระจายพันธุ์ : ในอินเดีย บังกลาเทศ เอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และ เกาะปาลาวัน
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (18 ซม.) หัวและคอหอยสีดำ หัวไม่มีหงอนขน ตาสีฟ้า ลำตัว ด้านบนสีเขียวแกมทอง ปลายหางสีเหลือง ก่อนถึง ปลายหางมีแถบสีดำ ลำตัวด้านล่างสีเหลือง แต่บาง ตัวซึ่งค่อนข้างหายากมีลำตัวด้านล่างสีเทา
อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง ชายป่า และป่ารุ่น ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง ๑,๖๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล พบอยู่เป็นคู่และเป็นฝูง อาศัยและหากินบนต้นไม้ใหญ่ ไม้พุ่ม และไม้พื้นล่าง พบเป็นประจำที่บินไปตามต้นไม้ หรือกระโดดไปตามกิ่งไม้ อาหารได้แก่ ผลไม้เปลือกอ่อน เช่น ไทร หว้า ตะขบ ผลไม้เถาบางชนิด เป็นต้น มันจะใช้ปากเด็ดผลไม้ออกจากขั้วแล้วกลืนกินทั้งผล นอกจากนี้ยังจิกกินแมลงและตัวหนอนตามกิ่งและยอดไม้ บ่อยครั้งที่โฉบจับแมลงกลางอากาศ แต่ในระยะที่ไม่ไกลจากที่เกาะมากนัก
การผสมพันธุ์ :ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม รังเป็นรูป ถ้วย ประกอบด้วยกิ่งไม้ ใบไม้ ต้นหญ้า และใบหญ้า รองรังด้วยใบไม้และใบหญ้าอีกชั้นหนึ่ง รังอยู่ตามง่าม ไม้ในระดับไม่สูงนัก ประมาณ 1.2-3.0 เมตร รังมีไข่ 2 หรือ 3 ฟอง
ไข่ : ไข่สีชมพูอ่อน มีลายแต้มสีม่วงและลายขีดสีน้ำตาลแกมแดงรอบไข่ด้านป้าน ขนาดของไข่ โดยเฉลี่ย 15.4x21.1 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทํารัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 14 วัน ลูกนกเมื่อออกจากไข่ใหม่ ๆ ยังไม่มีขนคลุม ร่างกาย ยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ อายุ 14-15 วัน จะเริ่มบินได้และทิ้งรั้งไป
สถานภาพ :เป็นนกประจําถิ่น พบบ่อยและ ปริมาณปานกลางทั่วทุกภาค
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> นกปรอดทอง <<<แหล่งที่มาของภาพ
https://lh3.googleusercontent.com/-TxOotLAxWtc/TYtXcVS2FxI/AAAAAAAAAAU/ee4F7ugkU-4/s1600/IMG_0999.JPG
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2016_02_03_04_41_13.jpg
http://zoothailand.org/zoo_office/fileupload/encyclopedia_file/485.jpg
https://tourwatthai.com/wp-content/uploads/2018/07/นกปรอดทอง.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต