ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกโพระดกคางแดง"

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(ล็อก "นกโพระดกคางแดง" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผ...)
 
แถว 18: แถว 18:
 
 
 
'''กฎหมาย''' :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 
'''กฎหมาย''' :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 +
 +
'''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม'''
 +
[[File:youtube01.png|left|https://https://www.youtube.com/watch?v=r4oMpIqC3sE//https://www.youtube.com/watch?v=r4oMpIqC3sE]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=r4oMpIqC3sE นกโพระดกคางแดง] <<< <br><br>
 
----
 
----
 
<center>[[ไฟล์:Red-throated Barbet1.jpg]] [[ไฟล์:Red-throated Barbet2.jpg]] [[ไฟล์:Red-throated Barbet3.jpg]]</center>
 
<center>[[ไฟล์:Red-throated Barbet1.jpg]] [[ไฟล์:Red-throated Barbet2.jpg]] [[ไฟล์:Red-throated Barbet3.jpg]]</center>

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 16:06, 10 กุมภาพันธ์ 2563

Red-throated Barbet.jpg

วงศ์:Megalaimidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Megalaima mystacophanos (Temminck) 1824.
ชื่อสามัญ:Red-throated Barbet
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Gaudy Barbet

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Megalaima mystacophanos ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษา กรีกคือ chlor, -o หรือ khloros แปลว่าสีเขียว และ phaea แปลว่าตา อาจหมายถึง “มีแผ่นหนังรอบตาสีเขียว” พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมีนกบั้งรอกแดง 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Phaenicophaeus chlorophaeus chlorophaeus (Raffles) ชื่อชนิดย่อยมีที่มาและความหมายเช่นเดียวกับชื่อชนิดHoward and Moore (1980) จัดนกบั้งรอกแดงไว้ในสกุล Rhinortha ซึ่งแตกต่างจากนกบั้งรอกอื่น ชื่อสกุลมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ rhin, -o หรือ rhis แปลว่าจมูก และ orth, -o หรือ orthos แปลว่า ตรง ความหมายคือ “นกที่มีปากตรง”

กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (20-22 ซม.)ตัวผู้และตัวเมียสีสันแตกต่างกันเล็กน้อย ตัวผู้หน้าผากสีเหลือง กระหม่อมสีแดง มีคิ้วสีดำ บริเวณหัวตาสีแดง คอหอยสีแดง คอหอยตอนล่างสีฟ้าและมีสีแดงแต้มตรงมุมขอบของบริเวณสีฟ้า ตัวเมียหน้าผากสีเขียวกระหม่อมตอนท้ายเป็นลายสีแดง ไม่มีคิ้วสีดำ บริเวณกลางกระหม่อม แก้ม และคอหอยตอนล่างมีสีฟ้าจาง ทั้งสองเพศบริเวณแก้มไม่มีสีเหลืองอย่างนกโพระดก เคราเหลือง และนกโพระดกหลากสี

อุปนิสัยและอาหาร:อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ระดับต่ําจนกระทั่งความสูง 750 เมตรจากระดับน้ำทะเล อุปนิสัยไม่แตกต่างจากนกโพระดกชนิดอื่น นกโพระดกคางแดงร้อง “ตุ๊ก” แล้วตามด้วย “ตูตูตู” หรืออาจร้อง “ตุ๊ก-ตู-ตู-ตุ๊ก” แล้วตามด้วย “ตู-ตู-ตู”

การผสมพันธุ์ : นกโพระดกคางแดงผสมพันธุ์ ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือน พฤษภาคม ทำรังตามโพรงต้นไม้ ชีววิทยาการสืบพันธุ์ ไม่แตกต่างจากนกในสกุลเดียวกัน

สถานภาพ :นกโพระดกคางแดงเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ทางภาคใต้และภาคตะวันตกบางแห่ง

กฎหมาย :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://https://www.youtube.com/watch?v=r4oMpIqC3sE//https://www.youtube.com/watch?v=r4oMpIqC3sE
>>> นกโพระดกคางแดง <<<


Red-throated Barbet1.jpg Red-throated Barbet2.jpg Red-throated Barbet3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201404/27/53393/images/478162.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201404/27/53393/images/478154.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201404/27/53393/images/478152.jpg
http://www.savebird.com/Bird_Image/PICIFORMES/Barbet_Red_throat_M.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต