ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกสีชมพูสวน"
ล (ล็อก "นกสีชมพูสวน" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ด...) |
|||
แถว 20: | แถว 20: | ||
'''กฎหมาย''' : ยังไม่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง เนื่องจากกฎหมายระบุการเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองว่า “นกกาฝากทุกชนิดในวงศ์ (Family) Dicaeidae” โดยไม่กล่าวถึงนกสีชมพูสวนแต่อย่างใดทั้งที่เป็นนกในสกุลเดียวกัน | '''กฎหมาย''' : ยังไม่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง เนื่องจากกฎหมายระบุการเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองว่า “นกกาฝากทุกชนิดในวงศ์ (Family) Dicaeidae” โดยไม่กล่าวถึงนกสีชมพูสวนแต่อย่างใดทั้งที่เป็นนกในสกุลเดียวกัน | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' | ||
+ | [[File:youtube01.png|left|https://https://www.youtube.com/watch?v=8uC9IVWwYXM//https://www.youtube.com/watch?v=8uC9IVWwYXM]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=8uC9IVWwYXM นกสีชมพูสวน] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Scarlet-backed1.jpg]] [[ไฟล์:Scarlet-backed2.jpg]] [[ไฟล์:Scarlet-backed3.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:Scarlet-backed1.jpg]] [[ไฟล์:Scarlet-backed2.jpg]] [[ไฟล์:Scarlet-backed3.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 16:13, 10 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์:Nectariniidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Dicaeum cruentatum (Linnaeus) 1758.
ชื่อสามัญ:Scarlet-backed flowerpecker
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:-
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dicaeum cruentatum ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ cruentatus (cruent และ –tus) แปลว่าสีแดงหรือสีเลือด ความหมายคือ “นกที่มีหลังสีแดง” พบครั้งแรกที่รัฐเบงกอลประเทศอินเดีย ทั่วโลกมี 8 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Dicaeum cruentatum siamense Boden kloss ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือ จังหวัดนครราชสีมา และ Dicaeum cruentatum ignitum (Begbie) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ ignites (ign, -e, -i) แปลว่าสีแดงเพลิง ความหมายคือ “นกที่มีหลังสีแดงเพลิง” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย
กระจายพันธุ์ : ตั้งแต่อินเดียตอนเหนือ จีนตอนใต้ เกาะไหหลำ จนถึงเกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็กมาก (9 ซม.) ตัวเต็มวัยทั้งสองเพศกลางลำตัวด้านล่างมีแถบสีขาวแกมสีเนื้อ ตัวผู้ลำตัวด้านบนสีแดง ปีก หาง หัวด้านข้าง และลำตัวเป็นสีดำ ตัวเมียแตกต่างจากนกกาฝากอื่น ๆ โดยตะโพกและขนคลุมโคนขนหางด้านบนสีแดง ตัวไม่เต็มวัยแทบไม่แตกต่างจากนกกาฝากสีเรียบยกเว้นมีแต้มสีส้มอ่อนบริเวณตะโพกและขนคลุมโคนขนหางด้านบนที่มีสีเขียวอ่อนถึงเขียว แต่มักมองไม่เห็นเมื่อดูในธรรมชาติ
อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ชายป่าดงดิบ ป่ารุ่น ทุ่งโล่ง และสวนผลไม้ ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่เป็นคู่ และอาจพบอยู่รวมกับนกชนิดอื่น ๆ เป็นนกที่ไม่ค่อยหยุดนิ่ง มักกระโดดจากกิ่งไม้หรือยอดไม้สลับบินไปยังต้นไม้อื่นเสมอ ขณะเกาะและกระโดดไปตามกิ่งไม้และยอดไม้มักร้องไปด้วย กินน้ำหวานดอกไม้เป็นอาหาร โดยเฉพาะดอกกาฝากซึ่งติดอยู่ตามต้นไม้และพุ่มไม้ และผลไม้ โดยเฉพาะผลตะขบบ้าน โดยใช้ปากจิกกินเนื้อในผลแก่ แต่ยังไม่สุกงอมโดยไม่ทำให้ผลหลุดจากขั้ว นอกจากนี้ยังจิกกินแมลงและตัวหนอนตามกิ่งไม้และยอดไม้ โดยเฉพาะแมลงที่มาตอมดอกไม้
การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนถึงฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม ทำรังเป็นรูปกระเปาะห้อยตามกิ่งไม้ มีทางเข้าออกทางด้านข้างด้วยการนำดอกหญ้า ใบไม้ ใบหญ้า เส้นใยมะพร้าว และใยแมงมุมมาสานกันหรือเชื่อมให้ติดกันด้วยใยแมงมุมทั้งสองเพศช่วยกันหาวัสดุและสร้างรัง โดยทั่วไปรังกว้างประมาณ 6-7 ซม. ยาว 8-10 ซม. ปากทางเข้าออกกว้าง 3.0-3.5 ซม. หรือกว้างพอที่ตัวนกเข้าออกได้เท่านั้น รังอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 3-6 เมตร ปกติจะสร้างรังตามกิ่งไม้ที่มีใบแน่นทึบ ซึ่งบางครั้งทำให้มองเห็นได้ยาก รังมีไข่ 3 ฟอง
ไข่ : สีขาวนวล ไม่มีจุดหรือลาย ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 12.0x16.1 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ ใช้เวลาฟักไข่ 12-13 วัน ลูกนกที่ออกจากไข่ใหม่ ๆ มีรูปร่างเทอะทะ ยังไม่ลืมตา ไม่มีขนคลุมลำตัว ขาและนิ้วยังไม่แข็งแรงพอจะยืนหรือเดินได้ ทั้งสองเพศจะช่วยกันกกลูกให้ความอบอุ่น และหาอาหารมาป้อน ในระยะแรกการป้อนอาหารจะบ่อยมาก ประมาณ 5-10 นาทีต่อครั้ง ขณะที่ตัวหนึ่งไปหาอาหารมาป้อนลูก อีกตัวหนึ่งจะอยู่ภายในรังหรือเกาะอยู่ภายนอกรังคอยระวังไม่ให้ศัตรูมาทำร้ายได้ แต่บางครั้งก็ออกไปหาอาหารพร้อมกัน อาหารที่นำมาป้อนลูกนกส่วนใหญ่ได้แก่ ตัวหนอนและแมลง บางครั้งเป็นผลไม้ขนาดเล็ก เมื่อป้อนเสร็จแล้วจะรอรับของเสียลักษณะเป็นก้อนกลมที่ลูกนกถ่ายออกมา โดยลูกนกจะหันก้นไปทางปากรังแล้วถ่ายออกมา แล้วพ่อแม่นกจะคาบออกไปทิ้งนอกรัง ลูกนกอายุประมาณ 20 วัน จะมีขนคลุมเต็มตัวและบินออกจากรังได้
สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมาก ชนิดย่อย siamense พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันตก ชนิดย่อย ignitum พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป
กฎหมาย : ยังไม่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง เนื่องจากกฎหมายระบุการเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองว่า “นกกาฝากทุกชนิดในวงศ์ (Family) Dicaeidae” โดยไม่กล่าวถึงนกสีชมพูสวนแต่อย่างใดทั้งที่เป็นนกในสกุลเดียวกัน
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> นกสีชมพูสวน <<<แหล่งที่มาของภาพ
http://adeq.or.th/wp-content/uploads/2016/09/%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99.jpg
https://archive-media.komchadluek.net/img/size1/2013/12/05/ackkg7cjaaca6ak95g57c.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/2/20/Dicaeum_cruentatum_-20080724.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/blog_data/238/8238/images/Birds_Watching/DSC_10086.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต