ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง"
ล (ล็อก "นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุ...) |
|||
แถว 20: | แถว 20: | ||
'''กฎหมาย''' :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองทุกชนิดย่อย | '''กฎหมาย''' :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองทุกชนิดย่อย | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' | ||
+ | [[File:youtube01.png|left|https://https://www.youtube.com/watch?v=i19yYulnhh4//https://www.youtube.com/watch?v=i19yYulnhh4]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=i19yYulnhh4 นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Greater Flameback1.jpg]] [[ไฟล์:Greater Flameback2.jpg]] [[ไฟล์:Greater Flameback3.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:Greater Flameback1.jpg]] [[ไฟล์:Greater Flameback2.jpg]] [[ไฟล์:Greater Flameback3.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 16:21, 10 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์:Picidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Chrysocolaptes lucidus (Scopoli) 1796.
ชื่อสามัญ:Greater Flameback
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Greater Goldenback, Greater Goldenbacked Woodpecker, Large Golden-backedWoodpecker, Crimson-backed Woodpecker, Crimson-backed Four-toed Woodpecker
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chrysocolaptes lucidus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ ภาษาละตินคือ luci, -d. หรือ lucidus แปลว่าสว่าง ความหมายคือ “นกที่มีสีสันสดใส” พบครั้งแรกที่ประ เทศฟิลิปปินส์ นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทองมีชื่อพ้องว่า Chrysocolaptes guttacristatus (Tickel) ชื่อชนิด ชื่อนี้มาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ gutt, =a หรือ guttulus แปลว่าหยดหรือจุด crist, =a แปลว่าหงอน และ -tus เป็นคำลงท้าย ความหมายคือ “นกที่มีพุ่มหงอน ขนเป็นลายจุด” พบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย อย่างไรก็ตามตำราส่วนใหญ่ถือว่า C. Putt.acnstatus เป็นชนิด ย่อยหนึ่งเท่านั้น ทั่วโลกมีนกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง 14 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Chrysocolaptes lucidus guttacristatus (Tickell) dovun ย่อยมีที่มาและความหมายเช่นเดียวกับชนิดที่เป็นชื่อพ้อง uns Chrysocolaptes lucidus indomalayicus Hesse ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ คือ Indo-Malay ซึ่งได้แก่ดินแดนแถบอินโดจีนและเกาะต่าง ๆ ในกลุ่มเกาะมลายู (Malay Archipelago) พบชนิด ย่อยนี้ครั้งแรกที่จังหวัดภูเก็ต
กระจายพันธุ์ :ในอินเดีย จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่ เกาะซุนตาใหญ่ และฟิลิปปินส์
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก-กลาง (32-33 ซม.) แต่จัดเป็นนกหัวขวานที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ลักษณะทั่วไปและสีลำตัวคล้ายคลึงกับนกหัวขวานสามนิ้วหลังทองมาก เมื่อดูในธรรมชาติจึงจำแนกค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตามทั้งสองชนิดมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทองมีขนาดใหญ่กว่านกหัวขวาน สามนิ้วหลังทองเล็กน้อย ปากใหญ่และหนากว่า มี 4 นิ้ว มีเส้นสีดำสองเส้นลากจากมุมปากไปข้างคอ ล้อม รอบแถบสีขาวตรงบริเวณใต้ตา กระหม่อมและพุ่ม หงอนขนของตัวผู้มีสีแดง ส่วนตัวเมียเป็นสีดำมีลายจุดสีขาวกระจาย
อุปนิสัยและอาหาร:อาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา ป่าชายเลน และป่ารุ่น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่เป็นคู่ หรือเป็น ครอบครัว มักส่งเสียงร้องตลอดเวลา โดยเฉพาะใน ช่วงที่บินระหว่างต้นไม้ มันบินได้ค่อนข้างเร็วและตรง มักเกาะต้นไม้ตามลำต้นในระดับต่ำก่อน แล้วค่อยกระโดดเกาะวนไปรอบ ๆ ต้นขึ้นไปยังระดับที่สูงกว่าจนถึงกิ่ง ใหญ่ เวลามีสิ่งรบกวน มันจะเกาะหลบบังตัวไว้หลัง ต้น ทำให้สังเกตเห็นได้ยาก นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทองมีพฤติกรรมใช้ปากเคาะต้นไม้ให้เกิดเสียงกังวาน ได้ยิน แม้จะอยู่ในระยะไกล ในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะได้ยิน เสียงเคาะบ่อยมาก เข้าใจว่าเป็นการประกาศอาณาเขต และดึงดูดเพศตรงข้ามอาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ แมลงและตัวหนอน มัน ไม่ค่อยหากินตามพื้นดิน ส่วนใหญ่หากินด้วยการเกาะ กับลำต้นหรือกิ่งไม้ ใช้ปากแคะหาเหยื่อใต้เปลือกไม้ เมื่อพบก็ใช้ลิ้นยาวตวัดเหยื่อเข้าปาก หรืออาจใช้ลิ้น ชอนไชหาเหยื่อตามโพรงหรือของต้นไม้ นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่านกหัวขวานสี่นิ้วหลังทองบินโฉบจับกิน แมลงเหนือยอดไม้และแมลงที่ตอมดอกไม้คล้ายนก แซงแซว และบินอยู่กับที่จ้องเหยื่อแล้วโฉบลงจับ คล้ายนกกระเต็น นอกจากแมลงและตัวหนอนแล้ว ยังพบนกหัวขวานสี่นิ้วหลังทองกินน้ำหวานดอกไม้ โดยเฉพาะดอกทองหลางป่า ดอกกาฝาก และดอกงิ้วป่า
การผสมพันธุ์ :นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทองผสมพันธุ์ ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน ทั้งสองเพศช่วยกันขุดเจาะโพรงต้นไม้ที่มีเนื้อไม้อ่อนหรือแข็งปานกลาง ปากโพรงมักเป็นรูปรีหรือรูปไข่มากกว่ารูปวงกลม โพรงอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 2-5 เมตร มันมักใช้โพรงเดิมเป็นประจำทุกปี โดยการตกแต่งโพรงใหม่ รังมีไข่ 4-5ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 16-17 วัน ทั้งสองเพศช่วยกันพักไข่ โดยอาจเข้าพักพร้อมกันหรือผลัดกันฟัก และช่วยกัน เลี้ยงดูลูกอ่อน ลูกนกแรกเกิดยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เมื่อมีอายุ 24-26 วัน ลูกนกจะมีขนปกคลุมเต็มตัว และเริ่มหัดบิน แต่ยังคงอาศัยอยู่กับครอบครัวและใช้ โพรงต่อไปอีกประมาณ 30-35 วัน แล้วจึงแยกไปหา กินตามลำพัง
ไข่ :ไข่สีขาว มีขนาดเฉลี่ย 22.1X30.0 มม.
สถานภาพ :สถานภาพ นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทองเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย guttacristatus พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระขึ้นมา ชนิดย่อย indomalayicus พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป
กฎหมาย :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองทุกชนิดย่อย
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง <<<แหล่งที่มาของภาพ
https://download.ams.birds.cornell.edu/api/v1/asset/146605101/1800
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2011_11_08_13_23_28.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201205/24/50639/images/455951.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201205/24/50639/images/455946.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต