ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกะรางหัวหงอก"
ล (ล็อก "นกกะรางหัวหงอก" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผ...) |
|||
แถว 17: | แถว 17: | ||
'''กฎหมาย''' :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | '''กฎหมาย''' :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' | ||
+ | [[File:youtube01.png|left|https://https://www.youtube.com/watch?v=Sxr7pM8hqL0//https://www.youtube.com/watch?v=Sxr7pM8hqL0]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=Sxr7pM8hqL0 นกกะรางหัวหงอก] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:White-crested1.jpg]] [[ไฟล์:White-crested2.jpg]] [[ไฟล์:White-crested3.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:White-crested1.jpg]] [[ไฟล์:White-crested2.jpg]] [[ไฟล์:White-crested3.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 16:23, 10 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์:Sturnidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Garrulax leucolophus
ชื่อสามัญ:White-crested Laughingthrush
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:-
กระจายพันธุ์ :ในทวีปเอเชียตอนใต้ตั้งแต่ตะวันตกของเทือกเขาหิมาลัยจนถึงจีนด้านตะวันออก พบในเมียนมาร์ ไทยและอินโดจีน
ลักษณะทั่วไป : มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางราว 30 เซนติเมตร ตัวค่อนข้างโต มีลักษณะเด่นอยู่ที่มีขนบนหัวสีขาวฟูคล้ายผมหงอกคอและท้องตอนบนเป็นสีขาว มีปากสีดำและมีแถบสีดำลากจากโคนปากพาดผ่านตาถึงข้างแก้ม ปากตรง และ ตอนปลายปากบน เป็นของุ้ม คลุมปลายปากล่างไว้ โดยปากจะสั้นกว่าหัว ที่มุมปากมีขนเส้นแข็งๆ สั้นๆด้วย ท้ายทอยสีเทา หลัง ไหล่ ตะโพกสีแดงอมน้ำตาล ขนหางสีน้ำตาลคล้าย ๆ ลำตัวด้านล่างเลยจากท้องตอนบนเป็นสีน้ำตาลแดงอ่อนๆ นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกันปีกของนกกะรางจะสั้น มนกลม และอยู่แนบชิดลำตัวมาก จึงใช้บินได้ในระยะใกล้ๆ เท่านั้น จะบินอพยพ ไปไหนมาไหนไกลๆไม่ได้เลย ขนปลายปีกมี 10 เส้น หางคู่นอกค่อนข้างยาว และ ยาวกว่าปีก ขนหางมี 12 เส้น ซึ่งแต่ละคู่จะยาวลดหลั่นกันลงไป ขนหางคู่บนยาวที่สุด ขา ของนก กะราง ค่อนข้าง ใหญ่ และ แข็งแรง ปกคุลมด้วยเกล็ดขนาดใหญ่ ที่เรียงซ้อนทับกัน นิ้วเท้าแข็งแรง ยื่นไปข้างหน้า 3 นิ้วและ ยื่นไปข้างหลัง 1 นิ้ว ใช้ กระโดดไปไหนมาไหน ได้คล่องแคล่ว รวดเร็วมากจนเราส่องกล้องตามดูมันแทบไม่ทันนกตัวผู้ และ นกตัวเมีย มีสีสันเหมือนกันนกที่ยังไม่เต็มวัย สีสันคล้ายนกที่เต็มวัยแล้ว แต่ หงอนจะยังสั้น ท้ายทอยสีออกเทาปนน้ำตาล ลำตัวด้านบน สีค่อนข้างสดใสกว่า นกที่เต็มวัย โดยเฉพาะที่ขนปีกจะมีแต้มสีเข้ม เห็นชัดกว่านกที่เต็มวัย
อุปนิสัยและอาหาร:จะชอบหากินอยู่ในบริเวณที่มีพุ่มไม้หนาแน่นและมีเถาวัลย์รกรุงรัง บริเวณพื้นป่า มักมีใบไม้แห้งและกิ่งไม้แห้งทับถมกันหนาแน่นซึ่งเป็นที่อาศัยของแมลง และหนอน โดยใช้นิ้วเท้าคุ้ยเขี่ยดิน ใบไม้ และอื่นๆ
การผสมพันธุ์ :ทำรังวางไข่ช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม โดยจะเลือกทำรังบนต้นไม้ขนาดเล็กที่มีเรือนยอดเป็นทรงพุ่มเพราะมักทำรังในพุ่มนั้นเอง หรืออาจทำรังในกอไผ่ รังเป็นรูปถ้วยติดบนกิ่งหรือง่ามไม้ โดยใช้วัสดุที่มีในพื้นที่
สถานภาพ :นกประจำถิ่น
กฎหมาย :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> นกกะรางหัวหงอก <<<แหล่งที่มาของภาพ
https://2.bp.blogspot.com/-FxwJNBqCgzk/WNuP_vT74-I/AAAAAAAABNo/CJ_T-1HmYkwh_RfZGH3SYP381v7sZxZMwCLcB/s1600/DSC_0551.jpg
http://1.bp.blogspot.com/-ci70FOAWbZw/UiVIcFp9SLI/AAAAAAAAAFs/aGckNmGDmhk/s1600/230710-white-crested-01.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201307/27/52858/images/474369.jpg
https://www.chiangmainews.co.th/page/wp-content/uploads/Untitled-1-515.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
http://www.dnp.go.th/fca16/file/mrod7n5x74k0arc.pdf