ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกบั้งรอกเขียวอกแดง"

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Cuculidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Phaenicophaeus curvi...")
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 22:33, 30 มกราคม 2563

Chestnut-breasted.jpg

วงศ์:Cuculidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Phaenicophaeus curvirostris (Shaw) 1810.
ชื่อสามัญ:Chestnut-breasted Malkoha
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Black-billed roller, Northern roller, Blue jay

นกตะขาบทุ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phaenicophaeus curvirostris ชื่อชนิดมาจากราก ศัพท์ภาษาละตินคือ cury, -i หรือ curvus แปลว่าโค้ง และ rostr, =um หรือ -rostris แปลว่าปาก ความหมายคือ “นกที่มีปากโค้ง” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย Howard and Moore (1980) จัดนกบั้งรอกเขียวอกแดงไว้ต่างสกุลจากนกบั้งรอกอื่น คือ Rhamphococcyx ชื่อสกุลมาจากรากศัพท์ภาษา กรีกคือ rhamph, id, =is, -o แปลว่าปากโค้ง และ coccy, -g, =x, -z หรือ kokkux แปลว่านกคัดคู ความหมายคือ “นกคัดคูที่มีปากโค้ง” ซึ่งคล้ายกับนก Toucan สกุล Ramphastos ทั่วโลกมีนกบั้งรอกเขียวอกแดง 6 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Phaenicophaeus curvirostris singularis (Parrot) ชื่อชนิดย่อยเป็นคำในภาษาละตินคือ singularis (singul, -ar) แปลว่า โดดเดียว แบบฉบับ หรือเครื่องหมาย ความหมายคือ “เป็นนกที่มักพบโดดเดี่ยว หรือมีสีสันเป็นแบบฉบับของตนเอง” พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศ อินโดนีเซีย

กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย มาเลเซีย หมู่เกาะซุนดา และเกาะปาลาวัน

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดกลาง (45-46 ซม.) เฉพาะหางยาวประมาณ 25 ซม. ปากสีเขียว หนัง รอบตาสีแดง ลำตัวด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลแดงเข้ม ปลายขนหางด้านบนสีน้ำตาลแดง ไม่เป็นสีขาวอย่างนกบั้งรอกอื่น

อุปนิสัยและอาหาร :อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้น และป่ารุ่นในระดับต่ำ หรือระดับความสูงไม่เกิน 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล อุปนิสัยโดยทั่วไปไม่แตกต่างจากนกบั้งรอกอื่น เช่น มักเกาะตามกิ่งไม้ที่มีใบแน่นทึบ กระโดดไปตามกิ่งไม้ บินในระยะสั้น ๆ เป็นต้น อาหาร ได้แก่ ตัวหนอนและแมลง มันหาอาหาร โดยจิกกินตามกิ่งไม้และยอดไม้

การผสมพันธุ์ : ชีววิทยาการสืบพันธุ์ไม่แตกต่างจากนกบั้งรอกอื่น

สถานภาพ :นกบังรอกเขียวอกแดงเป็นนก ประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลางทางภาคตะวันตกบางแห่งและภาคใต้

กฎหมาย :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Chestnut-breasted1.jpg Chestnut-breasted2.jpg Chestnut-breasted3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
http://www.savebird.com/Bird_Image/CUCULIFORMES/Malkoha_chestnut_breast.jpg
https://farm8.static.flickr.com/7066/14027029875_335bea054e.jpg
https://download.ams.birds.cornell.edu/api/v1/asset/100572231/1800
https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_989.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต