ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกปรอดเล็กท้องเทา"
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Pycnonotidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Pycnonotus erythropthalm...") |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 22:45, 30 มกราคม 2563
วงศ์:Pycnonotidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Pycnonotus erythropthalmos (Hume) 1878.
ชื่อสามัญ:Spectacled Bulbul
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Lesser Brown Bulbul
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus erythropthalmos (หรือ erythrophthalmus) ชื่อชนิดมาจาก รากศัพท์ภาษากรีกคือ erythr, -๐ หรือ eruthros แปล ว่าสีแดง และ ophthalmos แปลว่าตา ความหมายคือ “ตามีสีแดงเด่นชัด” พบครั้งแรกที่เมืองตะนาวศรี ทาง ตอนใต้ของพม่า ทั่วโลกมี 2 ชนิดย่อย ประเทศไทย พบ 1 ชนิดย่อย คือ Pycnonotus erythropthalmos erythropthalmos (Hume) ที่มาและความหมายของ ชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด
กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (16 ซม.) ลักษณะคล้ายนกปรอดเล็กตาแดงมาก แตกต่างกันที่มี หนังสีเหลืองหรือสีส้มเป็นวงแคบ ๆ รอบเบ้าตา ทำให้ เห็นตาเด่นชัดคล้ายโปนออกมา ปากสีดำค่อนข้างเล็ก กว่านกปรอดอื่น อกและคอหอยสีเทา ท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีครีมหรือเหลืองแกมน้ำตาล ตัวไม่เต็มวัยตามีสีน้ำตาล หนังรอบตาสีคล้ำ ปากสีน้ำตาล
อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าดงดิบชื้น ชายป่า และป่ารุ่น ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 800 เมตร จากระดับน้ำทะเล อุปนิสัยไม่แตกต่างจากนกปรอดอื่น
การผสมพันธุ์ :ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน รังเป็นรูปถ้วย วาง ไข่ครั้งละ ๒ ฟอง
ไข่ : ไข่สีขาว มีลายจุดสีม่วงแกมน้ำตาล และลายจุดสีเทา โดยเฉพาะไข่ด้านป้าน ยังไม่ทราบ ชีววิทยาการสืบพันธุ์ด้านอื่น
สถานภาพ :เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบเฉพาะทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระ ลงไป
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
แหล่งที่มาของภาพ
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/dsc_0073b.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201612/09/54183/images/486122.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201612/09/54183/images/486118.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201612/09/54183/images/486123.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต