นกกระจิบคอดำ
วงศ์ : Cisticolidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orthotomus atrogularis(Temminck),1836 .
ชื่อสามัญ : Dark-necked Tailorbird
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Black-necked Tailorbird
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Orthotomus atrogularis ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ atr, -i หรือ ater แปลว่าสีดํา และ gularis (gul, =a) แปลว่าคอหอย ความหมายคือ “นกที่มีคอหอยสีดํา” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย ทั่วโลกมี 10 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Orthotomus atrogularis atrogularis Temminck ที่มาและความหมายของ ชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด และ Orthotomus atrogularis nitidus Hume ชื่อชนิดย่อยมาจากราก ศัพท์ภาษาละตินคือ nitid แปลว่าส่องแสงหรือสวยงาม ความหมายคือ “นกที่มีสีสดใสสวยงาม” พบครั้งแรกที่เมืองตะนาวศรี ทางตอนใต้ของประเทศพม่า
กระจายพันธุ์ : ตั้งแต่สิกขิมจนถึงจีนด้านตะวันตกเฉีบงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว และฟิลิปปินส์
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็กมาก (11 ซม.) แตกต่างจากนกกระจิบธรรมดาโดยขนคลุมโคนขนหาง ด้านล่างสีเหลือง บางครั้งลําตัวด้านบนสีเขียวแกมเหลืองเข้มกว่า ในห้องปฏิบัติการจะเห็นขอบปีกเป็นสีเหลือง ตัวเมียและตัวไม่เต็มวัยคล้ายกับนกกระจิบธรรมดา ส่วนตัวผู้บริเวณคอหอยตอนล่างและด้านข้างของคอมีสีออกดํา หัวตาและกระหม่อมสีน้ำตาลแดง ท้ายทอยสีน้ำตาลแดงหรือเขียวแกมเหลือง
อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง ป่าชายเลน ป่าละเมาะที่ค่อนข้างขึ้น ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,200 เมตรจาก ระดับน้ำทะเล ไม่ค่อยพบในป่าหรือบริเวณที่ค่อนข้าง แห้งแล้งซึ่งพบนกกระจิบธรรมดา มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ มักเกาะตามพุ่มไม้หรือพืชต่าง ๆ ทําให้ไม่ ค่อยเห็นตัว นอกจากได้ยินเสียงร้อง “กริ-ริ-ริ” ซึ่ง แตกต่างจากนกกระจิบธรรมดาชัดเจน อาหารได้แก่ แมลงและตัวหนอน อาจกินน้ำหวานดอกไม้บางชนิดด้วย
การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ลักษณะรังไม่แตกต่างจากรังนกกระจิบธรรมดา แต่มักใช้ใบไม้หรือใบพืชเพียงใบเดียวโอบเข้าหากัน แล้วใช้ใยแมงมุมเย็บ หรือเชื่อมขอบใบให้ติดกันเป็นรูปกระเปาะ จากนั้นรองพื้นรังด้วยดอกหญ้าหรือใบไม้แห้ง รังมีไข่ 3-5 ฟองโดยพบ 4 ฟองบ่อยที่สุด ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 11.4x15.4 มม. ชีววิทยาการสืบพันธุ์ด้านอื่นไม่ แตกต่างจากนกกระจิบธรรมดา เป็นนกอีกชนิดหนึ่งที่มักถูกนกอีวาบตั๊กแตน และนกคัดคูขนาดเล็กแอบมาวางไข่ให้ฟักไข่และเลี้ยง ดูลูกอ่อนแทน
สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมาก ชนิดย่อย nitidus พบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ชนิดย่อย atrogularis พบทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรึขันธ์ลงไป
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
แหล่งที่มาของภาพ
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201205/24/50639/images/455872.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201205/24/50639/images/455875.jpg
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/08/darknecked_tailorbird_copy2.jpg
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2016_05_15_13_33_15.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต